3 ต.ค. 2021 เวลา 08:59 • ท่องเที่ยว
Turkey (05) .. Blue Mosque สุเหร่าสีน้ำเงิน
สุเหร่าสีน้ำเงิน Blue Mosque หรือ “มัสยิดสุลต่านอะห์เมต” (Sultan Armet Mosque) … เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตอีกแห่งหนึ่งของนครอิสตันบูล ตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของจตุรัสซูลตานาห์เมต หันหน้าเข้าหามหาวิหารเซนต์โซเฟีย ซึ่งแม้ทั้งสองมหาวิหารจะเป็นสิ่งก่อสร้างต่างยุคสมัยหลายร้อยปี .. แต่ก็ยิ่งใหญ่ อลังการและน่าทึ่ง เหมือนเป็นเงาซึ่งกันและกัน
สุเหร่าสีน้ำเงิน .. สร้างขึ้นในสมัยสุลต่านอาเหม็ดที่ 1 (Sultan Amet I) โดยมี Mehmet เป็นสภาปนีกออกแบบสร้างสรรค์ สถาปนิกผู้นี้มีความสามารถมากพอที่จะสร้างงานสถาปัตยกรรมใหม่ที่โลกจะไม่ลืม ให้ยิ่งใหญ่เหนทอกว่ามหาวิหารเซนต์โซฟีย
... ความจริง สุลต่านแห่งออคโตมันหลายพระองค์ มีพระประสงค์จะสร้างมหาวิหาร ให้ยิ่งใหญ่เหนือกว่ามหาวิหารเซนต์โซเฟียมาโดยตลอดอยู่แล้ว
สุเหร่าแห่งนี้สร้างขึ้นบนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นวังของจักรพรรดิแห่งไบเซนไทน์ โดยสุลต่าน อทร์เหม็ดที่ 1 ในปี คศ. 1609-1616 โดยมีสถาปนิกขื่อ เมห์เมต อา ศิษย์ของซีนาน เป็นผู้อำนวยการสร้าง .. เขาหมายมั่นจะพิสูจน์ว่าเขาเหนือกว่าผู้สร้างอะยาโซเฟีย และมัสยิดแห่งนี้คือความยิ่งใหญ่ของอิสลาม
.. ใช้เวลาสร้างรวม 7 ปี ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง
ความเด่นเป็นพิเศษของสุเหล่าแห่งนี้ อยู่ที่ การให้โทนสีของกระเบื้องที่มีลวดลายออกมาเป็นสีน้ำเงินทั้งหฟลัง และชื่อ “สุเหร่าสีน้ำเงิน” ..ก็ได้มาจากกระเบื้องเคลือบอิซนิก (Iznik) เพ้นท์สีฟ้าสไตล์อนาโตเลีย อันเลื่องชื่อของออตโตมัน ที่ใช้ปูตลอดแนวผนังด้านในกว่า 20000 แผ่น ปูเป็นลวดลายดอกทิวลิป และเถาไม้เลื้อยอ่อนช้อย โดยที่สถาปนิกรังสรรค์ลายดอกทิวลืปไว้มากกว่า 50 แบบที่ไม่ซ้ำกัน
***กระเบื้องเคลือบอิซนิก (Iznik) .. Iznik เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกของดินแดนอนาโตเลีย ซึ่งผลิตถ้วยชามเซรามิคอันสวยงามจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ เริ่มต้นในตอนปลายศตวรรษที่ 15 จนถึงศตวรรษที่ 17 แล้วเกิดหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ .. จุดเริ่มต้นการผลิตมาจากองค์สุลต่าน พร้อมทั้งผู้มั่งคั่งแห่งอาณาจักรออตโตมันและชนชาวเปอร์เซีย ที่มีความนิยมชมชอบเครื่องลายครามที่มาจากจีน แต่ราคาสูง จึงได้มีคสามพยายามสร้างผลงานในลักษณะที่คล้ายกัน และเมืองอิซนิก ก็ทำงานนี้ออกมาได้ดี
.. กระเบื้องชั้นล่างจะเป็นแบบดั้งเดิม ขณะที่กระเบื้องชั้นบนถูกออกแบบให้ดูสวยงามขึ้น เป็นลวดลายดอกไม้ ผลไม้ และต้นไซเปรส โดยมีช่างกระเบื้องชื่อดัง คือ คาช้าป ฮาซี (Kasap Haci) และ บาริส เอฟฟินดิ (Baris Efindi) จากเมืองอวาโนส ควบคุมงานผลิต
มัสยิดสีน้ำเงิน .. มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง 51 เมตร ยาว 53 เมตร มีหอสวดมนตร์ หรือหอมิเนอเรต ปลายยอดแหลมสง่าถึง 6 หอ มองเห็นได้จากระยะไกล หลังดาโดมตั้งตระหง่านสูงถึง 43 เมตร
การไปเยี่ยมชม .. ผู้ไปเยือนจะต้องแต่งกายสุภาพ มิดชิด ถอดรองเท้าก่อนเดินเข้าไปด้านใน
น้ำพุแห่งการชำระล้าง ... อยู่ที่บริเวณลานโล่งด้านขวามือ
ภายในมัสยิดมีความโอ่อ่า ไม่ต่างจากมหาวิหารเซนต์โซเฟีย .. มีความน่าทึ่งอยู่ที่ผนังกระเบื้องสีน้ำเงิน โค้งประตูหน้าต่างกระจกสีน้ำเงิน 260 บานวางได้จังหวะสม่ำเสมอ
ด้านในของมัสยิด .. อลังการด้วยโดมกลางที่สูงถึง 4 เมตร ล้อมรอบด้วยโดมเล็กอีกนับสิบที่มีหลังคาสีฟ้าอ่อน โคมไฟขนาดใหญ่ที่ช่วยขับแสงให้มลังเมลือง ยิ่งทำให้บรรยากาศเปี่ยมไปด้วยมนตร์ขลัง เป็นมรดกของอาณาจักรออตโตมันที่ยืนยงข้ามกาลเวลามาอย่างยาวนาน
ผลงานน่ามหัศจรรย์ซึ่งเมื่อแรกสร้างเกิดจากแรงขับเคลื่อนที่ต้องการช่วงชิงเอาชนะอย่างเต็มที่ อยากจะสถาปนาความยิ่งใหญ่ไปตลอดกาล .. แต่เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของความมาะนะพยายาม ที่ปักธงยืนยันถึงความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนา
เราผ่านเข้ามาจากความเชื่อที่ต่างออกไป .. แต่ก็เหมือนกับใครอีกหลายคนที่สัมผัสพลังแห่งศรัทธาได้จากทุกมุม และจากสายตาและท่าทีของผู้คนที่แหงนหน้ามองเพื่อสัมผัสกับความงามวิจิตร แล้วสะท้อนกลับมาเป็นความอิ่มเอิบ ปลาบปลื้ม แรงดึงดูดแห่งความรักที่ส่งเป็นคลื่นอมตะสถิตไว้อยู่ชั่วนิรินดร์ไม่เสื่อมคลาย
 
ภายในโดมนอกจากจะโอ่โถงอลังการแล้ว ยังมีเสาขนาดใหญ่ที่ได้รับการเรียกขานว่า“เท้าช้าง” 4 เสา (เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร) ตั้งโดดเด่นเป็นโครงสร้างสำคัญของโดมแห่งนี้
ตัวอักษรอารบิก และลวดลายแบบเปอร์เซียที่สลักเป็นลวดลายภายในโดมมีความละเอียด สวยงาม .. เป็นมรดกปูชนียสถานของมนุษยชาติ ที่สรรค์สร้างออกมาได้อย่างวิจิตร .. เป็นหมุดหมายของความงามของโลกมุสลิมที่ได้หยั่งลึกลงบนแผ่นดินออคโตมันอย่างแน่นแฟ้น เป็นบันทึกอมตะใต้เงาของมหาวิหารโอฬารที่ล้ำค่า
ภายในบริเวณสุเหร่า ยังประกอบไปด้วยพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ศาสนา โรงพยสบาลที่พักแรมของขบวนคาราวาน และโรงครัว .. ที่นี่จึงเป็นศูนย์กลางชีวิตและสังคมที่สมบูรณืแบบของอิสลาม
มัสยิดแห่งนี้ ยังมีผู้คนมาประกอบศาสนกิจอย่างไม่ขาดสาย เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวที่แวะมาเยือน
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา