Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ห
หลอมจิตวิญญานคมปัญญา
•
ติดตาม
5 ต.ค. 2021 เวลา 03:21 • ปรัชญา
#ศาสนาพุทธเริ่มต้นด้วยปัญญาที่เชื่อมจากจิตวิญญาน
พุทธองค์เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็คิดว่าแม้ความจริง(truth)ที่ท่านตรัสรู้นั้นประหนึ่งเข้าใจยาก
แต่มนุษย์นั้นจิตวิญญาน (mind) ต้องเชื่อมโยงปัญญา (สติปัญญา/คนกลุ่มโลกิยสุข และปัญญาญาน/คนกลุ่มมุ่งโลกุตตระสุขคือไม่เกิดไม่ดับ)
ก็สามารถจัดระบบปฏิบัติการถ่ายทอดได้แพร่กระจายกว้างและเร็วได้
ท่านจึงเดินเท้าเปล่า 3เดือน
ไปหาเบญจวัคคีลูกศิษย์ที่ติดสอยห้อยตามมาตั้งแต่ท่านไปฝึกฝนสมาธิ/ฌาน8 แบบฮินดูและเน้นการทรมานตน
แต่5ท่านหนีเมื่อพระองค์ "ฉันข้าวปายาส"(เพื่อให้สมองอิ่มสติปัญญาเกิด)
เมื่อพบกันท่านให้เข้าสมาธิ แล้วเทศนาให้ทั่ง5ฟัง
อริยสัจจ4ที่เป็นความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ จะทำให้ "มนุษย์เท่าเทียมกันในการกำหนดชะตาชีวิตตนเองโดยไม่ต้องหวังพึ่งพระเจ้าเทพเทวา
เพราะอริยสัจจ4 เน้นว่ามนุษย์จะมีเป้าหมายชีวิต(นิโรจ)ที่เป็นไปได้แค่ไหนก็ได้ แต่ต้องมี "สติปัญญา"ตอบโจทย์ด้วย "เหตุปัจจัยหลัก"(สมุทัย) ของปัญหา(ทุกข)ได้ครบถ้วนด้วยทางสายกลาง(มรรค8 ที่ย่อเหลือไตรสิกขาคือศีล(แค่ศีล5ที่ไม่เบียดเบียนกัน)สมาธิ และปัญญา
ท่านเทศตามด้วย "ความจริงตามธรรมชาติอีก2ข้อที่ท่านตรัสรู้ คือไตรลักษณ์ และปฏิจสมุทบาท
คือคนเมื่อเกิดมาแล้วก็ดับไป(อนิจจตา)
เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อต้องการแล้วไม่ได้ก็เกิดทุกข(ทุกขัง)
แต่ถ้าสามารถใช้ปัญญาตอบโจทย์บรรลุได้ ก็จะรับรู้ "ปิติสุข"รสชาดเป็นอย่างไร
สิ่งที่เห็นเป็นรูปร่างกายมนุษย์เป็นของไม่จีรังยั่งยืน การไม่ติดยึดตัวตน(อนัตตา) ด้วยการปล่อยวาง ลงซะบ้าง(ความสุขก็จะเกิด)เพราะในจักรวาลและกาแล๊กซี(ฟ้า)ก็มีการเปลี่ยนแปรผันตลอดคาดไม่ได้
ส่วนปฏิจสมุทบาทก็เป็นเรื่องของ
1.มนุษย์มีการเวียนว่ายตายเกิดตามวิบากกรรม(ตอนเกิดมาใหม่ๆเท่านั้น/มีสัดส่วน1/3 เช่นมามืด หรือมาสว่าง)
แต่เกิดมาแล้วกรรมใหม่(ไม่เกี่ยวกรรมเก่าแล้วจะมีสัดส่วนเปลี่ยนชีวิติก2ใน3) ว่าจะไปมืดหรือไปสว่าง
2.การจะหลุดจากวัฏฏสังสารของชีวิตเป็น "ไม่เกิดไม่ดับ" ก็ต้องด้วยเส้นทาง เลิกกิเลศ(โลภโกรธหลง) และเลิกตัญหา(ความทยานอยาก)
***โดย ศ.ดร.ดิเรก ฤกษ์หร่าย , 5ตค.2564 www.blockdit/direkrerkrai
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย