5 ต.ค. 2021 เวลา 15:25
ว่าด้วยเรื่องพี่วินมอไซ
พี่วิน,มอไซรับจ้าง,วินมอไซ ฯลฯ คำเรียกขานของผู้มีอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ซึ่งก็สุดแล้วแต่จะเรียกกัน บางวินใหญ่โตมีสมาชิกเหยียบร้อย ทำให้ดูน่าเกรงขาม เดินผ่านก็ต้องเกรงใจใช้บริการกันไป ถ้าไม่อยากใช้ก็คงต้องหาทางหลบเลี่ยง ต้นกำเนิดของวิน ไม่ทราบแน่ชัด จำได้แค่ว่าสมัยก่อน ก่อนที่มีการจัดระเบียบ ใครเป็นเจ้าของวินก็คือผู้มีอิทธิพลในแถบนั้น ๆ ต้องจ่าค่าน้ำร้อน น้ำชากันมากมาย ทำให้ค่าเสื้อวินแพงมหาโหด แต่รายได้ก็มหาศาลเช่นเดียวกัน
เข้าเนื้อเข้าหนังกันดีกว่า ขอพูดถึงเรื่องค่าโดยสาร ผมเป็นคนนึงที่ใช้บริการวินมาโดยตลอด จะบอกว่าผูกพันก็ใช่เรื่อง เพียงแต่สะดวก สบาย และคิดกลาย ๆ เสมอว่า ช่วยเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งก็แค่นั่งเข้าซอยวันละ 10 บาท อันนี้ถือเป็นปกติ นั่งตั้งแต่ 5 บาท เขยิบเป็น 8 บาท มาถึงตอนนี้ 10 บาท อันนี้วินปากซอย ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา
มีอีกหนึ่งวิน ที่ใช้บริการยามกลับดึก หรือเร่งด่วนต้องรีบกลับบ้าน วินนี้ต้องลง BTS สถานีสุรศักดิ์ ประเด็นอยู่ที่ราคาค่าโดยสาร ร้อยละ 80 ราคาที่ใช้บริการอยู่ที่ 50 บาท แต่มีหลายครั้งที่ราคาขยับไปเป็น 60 บาทแบบไม่ทันตั้งตัว วันไหนเหนื่อย ๆ เบลอ ๆ ก็ไม่ได้คิดอะไร แต่เริ่มสงสัย พยายามคุยกับพี่วินที่มาส่งว่าเท่าไหร่ ก็มีตอบกลับมาว่าพี่เคยมาเท่าไหร่ ตอบไปว่า 50 บาท พร้อมกับจ่ายไป 50 บาท แต่อ้าวมีตอบกลับมาว่า 60 ครับ (แล้วจะถามทำไมว่าเคยมาเท่าไหร่)
ทำไม ทำไม ระยะทางเท่ากัน วินเดียวกัน แต่มาตรฐานไม่เท่ากัน ไม่ใช่ว่า 60 บาทจะต่อว่าต่อขานอะไร ฉะนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควรจัดระเบียบกันอีกครั้ง ควรกำหนดมาตรฐานราคาให้ชัดเจนกว่าเดิม นำผู้ขับขี่เข้าระบบ มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น แม้กระทั่งติด GPS ที่ตัวรถสำหรับติดตาม อย่าบอกนะครับว่าเพิ่มต้นทุน ถ้าคุณลดงดเลิกเหล้าบุหรี่การพนัน ก็ประหยัดได้อีกเยอะครับ
ผมว่าคนที่อยากมีอาชีพ ยังมีอีกเยอะ ถ้ามีปัญหามาก ๆ หน่วยงานรัฐ ก็จัดตั้งหน่วยงานเหมือน ขสมก. ขึ้นมาทำเองซะเลย กำไรเห็น ๆ
โฆษณา