6 ต.ค. 2021 เวลา 07:29 • ความคิดเห็น
ส่วนตัวคิดว่า ต้องตีประเด็นคำว่า "ความเหลื่อมล้ำการศึกษา" ว่ามันคือ "โอกาสในการเข้าถึงหรือได้รับการศึกษาที่ไม่เท่ากัน" ซึ่งจะมีองค์ประกอบและปัจจัยที่ต่างจาก "ความเหลื่อมล้ำของรายได้"
พรบ.การศึกษาภาคบังคับ 2545 ระบุชัดว่า เยาวชนที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงย่างเข้าปีที่ 16 ต้องเข้ารับการศึกษา จะสังเกตว่ากม.ใช้อายุเป็นตัวกำหนดบังคับให้ต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียน โดยมีโรงเรียนของรัฐ และของเอกชนที่ได้รับการรับรองกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ การเรียนในระดับที่สูงขึ้นไปนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่ใช้กลไกทางสังคม และเศรษฐกิจ ในการกำหนดทางเลือกสำหรับเยาวชนและผู้ปกครอง กลไกทางสังคมคือความพยายามของคนเราที่ต้องการให้สังคมยอมรับ ไม่ใช่ด้วยฐานะและชาติกำเนิด แต่ด้วยความรู้ ความสามารถและสติปัญญา ขณะที่กลไกทางเศรษฐกิจคือความพยายามของคนเราที่อยากเข้าถึงโอกาสในการทำงานที่มีความมั่นคง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี
หากเป็นสมัยก่อนที่ความเจริญด้านเทคโนโลยียังไม่มากพอ ความเหลื่อมล้ำอาจจะมีมาก แต่ส่วนตัวคิดว่าสมัยนี้ ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาเริ่มจะลดน้อยลง อยากจบมหาวิทยาลัยไหนก็ได้จากทั่วโลก ขอแค่คุณตั้งใจจริง และฝึกผนตัวเองอยู่เสมอ เรียนจบคอร์ส ถ้าอยากได้ใบปริญญา ก็แค่โอนชำระเงิน "ม.ฮาวาร์ด" ก็จะส่งใบปริญญาให้คุณสามารถดาวน์โหลดเอาไปใช้งานได้ทันที
ส่วนความเหลื่อมล้ำที่ยังหลงเหลือ มันคือการฝังรากลึกของแบรนด์ยี่ห้อโรงเรียน ไปจนถึงมหาวิทยาลัย
ถ้าหากว่าการศึกษาบ้านเราจะมีระบบการหมุนเวียนอาจารย์เก่งๆ ที่เป็นตัวอ้างอิงคุณภาพความเก่ง ระหว่างโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในเมือง และชนบทคงจะดีไม่น้อย รากที่ฝังจนลึกอาจจะคลายลงก็ได้นะคะ...
โฆษณา