6 ต.ค. 2021 เวลา 11:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เปเปอร์ที่อยากตีพิมพ์ แต่ก็ไม่อยากตีพิมพ์
บทความมรณกรรมในวารสาร Nature (https://www.nature.com/nature/articles?type=obituary)
นี่คือวารสารวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่เพลง Getsunova
แถมเป็นบทความในเครือ Nature วารสารชื่อดังเสียด้วย
ใครๆในวงการงานวิจัยก็อยากตีพิมพ์ลงวารสารเครือนี้
เพราะเป็นวารสารมาตรฐานสูง งานที่จะเผยแพร่นอกจากจะต้องคุณภาพสูง
ต้องใหม่ แถมด้วยความว๊าวแบบสะเทือนวงการ
ปกติการตีพิมพ์ผลงานวิจัยจะรีบกันมาก
เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะวงการวิจัยเหมืองานวิ่งแข่ง
อาจจะมีคนกำลังคิดเหมือนเราอยู่ทั่วทุกมุมโลก
ไอเดียดีดี แต่คนอื่นทำไปแล้วคงจะน่าเสียดายแย่
แต่บทความประเภทหนึ่งในเครือ Nature
ที่ใครๆก็คงอยากลง แต่ไม่อยากรีบลง
อารมณ์แบบรอเป็นร้อยปี ถ้าไหวก็รอได้จ้า
เพราะมันคือ “มรณกรรม (Obituary)”
จากชื่อบทความวิจัยที่ยาวปาไป 2-3 บรรทัด
กลับสั้นลงเหลือแค่ ชื่อ นามสกุล และช่วงปีที่มีชีวิต
นักวิทยาศาสตร์ที่ได้มีบทความนี้เป็นของตัวเอง
ก็คือคนที่ลาโลกไปแล้วและมีผลงานโดดเด่นในฟิลของตัวเอง
มีทั้งคนที่ได้รางวัลโนเบล
ส่วนคนที่เขียนบทความนี้ จากที่ค้นประวัติแอดคาดว่า
จะเป็นลูกศิษย์มือฉมังของบุคคลท่านนั้นๆ
เจ้าตัวไม่ได้เขียน ส่วนคนเขียนก็ไม่ป๊อบเท่าชื่อบทความ
นี่เลยเป็นบทความที่นักวิจัยอยากตีพิมพ์
แต่ไม่อยากรีบนะจ๊ะ ><
🤪 #เภสัชชะเกรียน เอางานวิจัยมะเร็งมาเล่าแบบกวนๆ สาระยากๆไม่ค่อยจะมี จะมีก็แต่ความแฟนตาซีและย่อยง่าย เพราะ #วิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
🤗 ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆนักวิจัยผ่านมาเห็น จะแนะนำหรือติชม นศ ป เอก ตัวน้อยน้อยยยยคนนี้ก็ยินดีและดีใจมากๆเลยค่ะ 😁🤓😁
#NoCancer #NoCancerTH
#เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ FB page -> @NO cancer: เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ Blockdit -> No Cancer: เรื่องเล่าจากห้องวิจัยมะเร็ง (https://www.blockdit.com/no_cancer)
โฆษณา