7 ต.ค. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
สรุป Mindset การทำงาน ของ “ต้อง-กวีวุฒิ” CEO ป้ายแดง แห่ง AISCB
ใครที่ชอบฟังพอดแคสต์แนวพัฒนาทักษะการทำงาน
น่าจะต้องรู้จัก คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
เจ้าของพอดแคสต์ และเพจ “แปดบรรทัดครึ่ง”
2
หรือใครที่เป็นนิสิตจุฬาฯ ก็อาจจะรู้จักคุณต้อง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สอนวิชานวัตกรรม Design Thinking for Business Innovation
ที่สำคัญคือ ในตอนนี้ คุณต้อง กวีวุฒิ ได้ก้าวมาเป็น CEO ของ AISCB บริษัทให้บริการการเงินดิจิทัล ที่เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่าง AIS และ SCB
แล้ว Mindset ในการทำงานที่น่าสนใจ ของ CEO ป้ายแดงคนนี้ เป็นอย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
- ในมุมการทำงานขององค์กร
องค์กรยุคนี้ นอกจากต้องปรับตัวได้ดี ต้องปรับตัวได้เร็วด้วย
บริษัทที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ที่เราเห็นกัน คือบริษัทที่เจอปัญหา แล้วรีบเรียนรู้ รีบหาทางแก้ไข รีบหาทางปรับตัว
และยิ่งสมัยนี้ ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว “ความเร็วในการตัดสินใจ” และทดลองสิ่งใหม่ ๆ ก็ยิ่งสำคัญมากขึ้น
6
ตัวอย่างของบริษัทเก่าแก่ ที่เราเห็นเขาปรับตัวได้ดีในยุคนี้
ก็อย่างเช่น The Walt Disney ที่มีอายุเกือบ 100 ปี
ซึ่งเราเห็นเขาปรับตัวเอาเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอด
จนเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงวิดีโอ Disney+ ที่เสริมจุดแข็งในเรื่องคอนเทนต์ และสตอรีของตัวการ์ตูน หรือภาพยนตร์ ที่ Disney มีความโดดเด่นอยู่แล้ว
ส่วนบริษัทที่ล้มเหลว คือบริษัทที่ปรับตัวไม่ได้ ปรับตัวไม่เร็วพอ แล้วมีคนใหม่ เข้ามาทดแทน
- ในมุมการทำงานของตัวบุคคล
“กล้าถาม กล้าคิด กล้าลงมือทำ” 3 ความกล้านี้ คือหัวใจสำคัญ ของการสร้างนวัตกรรมและความสำเร็จ
“กล้าถาม” ในภาษานวัตกรรม จะสะท้อนผ่านคำว่า “Empathy”
คือต้องขี้สงสัยและเอาใจใส่ ในเรื่องที่สนใจอยู่เสมอ ซึ่ง Mindset แบบนี้ จะช่วยกระตุ้นความอยาก ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา
“กล้าคิด” คือ พยายามคิดให้นอกกรอบ มองหาสิ่งใหม่ ๆ
ไอเดียที่เราเห็นวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น เก้าอี้ที่เรานั่ง คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ พอดแคสต์ที่เราฟัง มันเกิดจากการที่มีคนคิดนอกกรอบมาแล้วทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น เรื่องการคิดนอกกรอบ และการจินตนาการถึงสิ่งใหม่ ๆ ให้มีความเป็นไปได้ เป็นทักษะสำคัญ ที่จะช่วยสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้
“กล้าลงมือทำ กล้าทดลอง” อันนี้คือความกล้า ที่สำคัญที่สุด
ถ้าในมุมของการสร้างนวัตกรรม สินค้า หรือบริการใหม่ ๆ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่ความคิดหรือไอเดียแรกของเรา ผู้ใช้งานอาจจะไม่ได้ชื่นชอบในทันที
3
เพราะฉะนั้น ต้องลงมือทำ เก็บฟีดแบ็ก แล้วปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ทดลองไปเรื่อย ๆ และสำคัญที่สุดคือ ต้องมองความล้มเหลวจากการลงมือทำ ให้เป็นเรื่องปกติ และเอามาเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาต่อให้ได้
1
แน่นอนว่าเรื่องนี้ เวลาพูดมันพูดง่าย แต่การจะมี Mindset แบบนี้ได้จริง มันต้องอาศัยการฝึกฝน และทำซ้ำเรื่อย ๆ ให้เป็นนิสัย
1
สุดท้ายแล้ว คุณต้อง กวีวุฒิ เปรียบเทียบการ “กล้าถาม กล้าคิด กล้าลงมือทำ” กับนิสัยวัยเด็กของเราได้อย่างน่าสนใจ
วัยเด็ก.. เราขี้สงสัย เราชอบถามอะไรที่เราอยากจะรู้ โดยไม่แคร์ว่าจะเป็นคำถามที่ไร้เดียงสาแค่ไหน
วัยเด็ก.. เรากล้าคิด กล้าเพ้อฝันถึงอะไรที่อาจจะดูไร้สาระ หรือเป็นไปได้ยาก
วัยเด็ก.. เราสนุกที่ได้ลงมือทำอะไรใหม่ ๆ ได้ประกอบของเล่นใหม่ ๆ หรือสร้างอะไรใหม่ ๆ
1
จริง ๆ แล้ว Mindset และทักษะความกล้าเหล่านี้
เราเคยมีมาหมดแล้วในตอนที่เราเด็ก ๆ
ก็อยู่ที่ว่าในวันนี้ เราจะเอาสิ่งที่เลือนหายไปเหล่านั้น
กลับมาประยุกต์ใช้กับโลกปัจจุบัน ได้ดีแค่ไหน..
1
References
-สัมภาษณ์พิเศษ คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร โดยเพจลงทุนแมน
3
โฆษณา