8 ต.ค. 2021 เวลา 13:33 • ปรัชญา
ภาพลวงตา....
ภาพที่หลอกตาให้มองเห็นและรับรู้ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง ส่วนใหญ่สายตาจะรับรู้ผิดพลาดเกี่ยวกับรูปทรง ขนาด และสี ในบางครั้งตาของคนเราก็ไม่ได้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่จริงเสมอไปและสามารถถูกหลอกได้ง่าย ตาและสมองของคนเราจะทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิดมาก โดยตาทำหน้าที่รับภาพเข้ามา ส่วนสมองทำหน้าที่ประมวลผลและวิเคราะห์ว่าภาพที่รับเข้ามาเป็นภาพอะไร มีสีอะไร เป็นภาพเคลื่อนไหวหรือภาพนิ่ง เมื่อแสงจากวัตถุกระทบกับเลนส์ตาจะเกิดการหักเหและเกิดเป็นภาพจริงบริเวณจอตา(retina) และจอตาก็จะดูดซับและแปลงภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งต่อไปยังสมอง
เชื่อหรือไม่ว่าภาพนี้ไม่มีจุดดำเลยแม้แต่น้อย                           ภาพลวงตาตาราง (Grid illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ลูดิมาร์ เฮอร์มันน์ ในปี พ.ศ. 2413 มีลักษณะเป็นตารางที่มีพื้นสีดำและเส้นขอบสีขาว เมื่อมองภาพนี้จะเห็นจุดสีเทาบริเวณจุดตัดของเส้นขอบ แต่จุดดังกล่าวจะหายไปเมื่อมองไปที่จุดนั้น
ห้องเอมส์ (Ames room) เป็นห้องที่สร้างขึ้นสำหรับสร้างภาพลวงตา คิดคันโดย อเด็มเบิร์ต เอมส์ ในปี พ.ศ. 2489 ห้องเอมส์เมื่อมองจากด้านหน้าจะดูเหมือนเป็นห้องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่ที่จริงแล้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และด้านที่ลึกกว่าจะสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่า
เชื่อหรือไม่ว่า พื้นอักษร A และพื้นอักษร B มีสีเดียวกัน                   ภาพลวงตาสีเดียวกัน (Same color illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย เอ็ดเวิร์ด เอช อเดลสัน ในปี พ.ศ. 2538 มีลักษณะเป็นตารางหมากรุก ช่อง A จะดูเหมือนว่ามีสีเข้มกว่าช่อง B แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่อง A และช่อง B มีสีเดียวกัน
เส้นทั้ง 3 เส้นนี้ยาวเท่ากัน ภาพนี้เป็นภาพของ มุลเลอร์-ไลเออร์ (Muller – Lyer illusion) เราจะรับรู้ว่าเส้นตรงด้านล่าง ยาวกว่า 2 เส้นข้างบน เพราะผลจากการต่อเติมลูกศรเข้าไป จริง ๆ แล้วเส้นตรง 3 เส้นนี้ยาวเท่ากัน
ภาพลวงตาแซนเดอร์ (Sander illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ฟรีดริช แซนเดอร์ นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2469 เป็นภาพสี่เหลี่ยมด้านขนานสองรูป ที่เส้นทแยงมุมดูเหมือนว่ายาวไม่เท่ากัน แต่ความจริงแล้วทั้งสองเส้นมีความยาวเท่ากัน
ภาพลวงตาแจสตรอล (Jastrow illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย โจเซฟ แจสตรอล นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ. 2432 เป็นภาพชิ้นส่วนสองชิ้นที่มีขนาดเท่ากัน แต่ชิ้นล่างจะดูมีขนาดใหญ่กว่าชิ้นบน
ภาพลวงตาผนังร้านกาแฟ (Café wall illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ริชาร์ด เกรกอรี เป็นภาพของตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เส้นของในแนวนอนทุกเส้นขนานกัน แต่จากสีในภาพ ทำให้ดูเหมือนเส้นตรงแต่ละเส้นเอนไปมา แต่พอเขยิบเส้นนิดเดียวก็ตรง
ความคาดหวัง....
ลองดูภาพ คุณเห็นภาพเป็ดไหม ? ลองดูอีกที เห็นภาพกระต่ายไหม ?
เห็นไหมว่าถ้าคุณคาดหวังอย่างไรคุณก็จะตีความหมาย หรือรับรู้ได้ตามนั้น ดังนั้นจะเห็นว่าความคาดหวังมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ผู้ที่มองเห็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งแรก ยากที่คุณจะเห็นสิ่งใหม่ (ถ้าไม่มีคนบอก) เช่น ถ้าคุณเห็นเป็ดเป็นครั้งแรกก็ยากที่จะมองให้เป็นกระต่าย
ไม่แปลกใจเลย ถ้าความเชื่อแรกที่ปลูกฝังมาแต่เล็กมันจะเอาออกยากเสมอ เพราะสมองตีความไปเรียบร้อยแล้ว การที่จะเชื่อสิ่งใหม่ๆ ต้องอาศัยพลังอะไรหลายๆ อย่าง ถ้าสิ่งใหม่ไม่สามารถหักล้างได้สมบูรณ์แบบในตัวมันเอง อย่างเชื่อว่าโลกแบน ถ้าไม่มีการลงทุนเดินทางรอบโลกก็ไม่สามารถทำให้เชื่อได้ อย่างเช่นเรื่องผีมีจริง กลุ่มที่ตีความว่าผีมีจริง ถ้าไม่พิสูจน์ว่าสิ่งที่เค้าคิดเป็นผีไม่ใช่ผี ก็ไม่มีทางย้ายความคิดเค้าได้ หรือกลุ่มที่ตีความว่าผียังไงก็ไม่มี ถ้าไม่พิสูจน์ยกผีมาให้เค้าเห็น เค้าก็ไม่เชื่อว่าผีนั่นมี....
สุดท้าย คนไทยอย่างเราๆ หลายๆ คนยังมีความหวังในความเชื่อในทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือนก็เช่นกัน
แถม ภาพตัดกระดาษที่ไม่ว่าคุณจะมองยังไงมันจะหันมองตามคุณ
อ้างอิง
ภาพลวงตา กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การรับรู้
ทำไมเราต้องเห็นภาพลวงตา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฆษณา