11 ต.ค. 2021 เวลา 00:30 • การตลาด
อยากรู้ไหมว่าทำไม "ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir )" และวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด จึงมีความต้องการสูงมาก ขนาดที่ต้องแย่งกันซื้อทั่วโลก
3
ที่มา  PPTVHD36
ขอบอกก่อนนะครับว่าไม่ได้เป็นการนำข้อมูลเชิงวิชาการ หรือข้อมูลของตัวยาและวัคซีนมาเป็นปัจจัยในการนำเสนอในครั้งนี้เป็นหลัก แต่เป็นการนำเสนอในแง่มุมที่ไม่อยากให้คนไทย ต้องตกเป็นเหยื่อของประเทศผู้ผลิตยาและวัคซีนออกมาขาย ถึงแม้ว่าอาจจะดูขัดกับความรู้สึกของบางท่านบ้างก็ตาม แต่ลองอ่านแล้วพิจารณาตามก็จะเห็นความจริงเชิงประจักรของเรื่องนี้
เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายกับการตลาดต่างกันอย่างไรแบบง่ายๆกันดู การขายคือการทำให้ผู้คนหรือลูกค้าตัดสินใจซื้อ ส่วนการตลาดคือการทำให้ผู้คนเกิดความต้องการที่จะซื้อ ดังนั้นภาพรวมที่ใหญ่กว่าก็คือการตลาด เนื่องจากเป็นการกำหนดให้สินค้าชนิดนั้นๆจะขายได้หรือไม่ได้นั่นเอง
และการทำการตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถทำรายได้มาก คือการแก้ปัญหา (Pain Point) ของผู้คนจำนวนมาก ที่แม้แต่ลูกค้าก็อาจจะยังไม่รู้ว่าตนเองมีปัญหา ตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้โลกเราก็ไม่รู้ว่าต้องการโทรศัพท์แบบไม่มีปุ่มมาก่อน จนกระทั่งสตีฟ จ๊อปส์ นำเสนอนวัตรกรรมนี้
ที่มา จับกระแสธุรกิจ Business Watch, TNN Report
ล่าสุดที่ในโลกเราต่างรู้สึกมีความหวังขึ้นมากับการมาของยาตัวใหม่ที่ชื่อว่า “โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir )" ทำเอาหุ้นของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนตกกันถ้วนหน้ากันเลยทีเดียว แต่ยังไงมูลค่าทางการตลาดของวัคซีนก็ยังทำกำไรในสัดส่วนที่มหาศาลให้กับประเทศผู้ผลิตอยู่ดี
เรามาดูกันว่าทุกครั้งที่มีการออกข่าวยาตัวใหม่หรือการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ เพื่อจัดการกับเชื้อโควิดโดยเฉพาะสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ ทำไมได้รับการตอบรับกันแบบถล่มทะลาย หลายประเทศต่างต้องเข้าคิวกันซื้อเลยทีเดียว รวมถึงคนทั่วโลกยังตั้งตารอว่าเมื่อไรจะได้ใช้ยาตัวนี้
1
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และการทำแบบนี้ก็ไม่ใช่เพียงบริษัทผู้ผลิตยาและวัคซีนทำกันเอง แต่เป็นการดำเนินการแบบครบวงจร มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่รวมถึงสื่อต่างๆที่จะนำเสนอข้อมูลให้ผู้คนคล้อยตามได้
ที่มา จับกระแสธุรกิจ Business Watch, TNN Report
การทำการตลาดแบบนี้คือ “การทำตลาดบนความกลัว” นั่นเอง ทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศกลัวว่าหากไม่ได้ใช้ยาหรือวัคซีนแล้วจะก่อมให้เกิดการติดเชื้อโควิดมากขึ้น ซึ่งการทำตลาดในรูปแบบนี้ไม่ใช่ว่าข้อมูลที่นำเสนอจะไม่เป็นจริง เป็นเพียงแต่จะเน้นทำให้เกิดความกลัวเกิดขึ้นมามากเป็นพิเศษ
นอกจากจใช้เรื่องความกลัวมาทำตลาดแล้ว เขายังมีวิธีให้คนที่เสพข่าวจากเขาเป็นผู้นำข้อมูลตามที่เขาต้องการสื่อไปบอกผู้อื่นด้วย ที่เรียกกันว่าปากต่อปากหรือ Word of Mouth ซึ่งจะกลายมาเป็นการนำเสนอแบบไวรัล (Viral Marketing)
Credit  The Business Mine
เรื่องแบบนี้ “ยุคใหม่ฯ” เคยได้ข้อมูลจากการเปิดร้านขายสินค้าของหรูในประเทศฝรั่งเศส ที่เมื่อเข้าไปแล้วจะทำให้เราเกิดความอยากได้ ทั้งบรรยากาศ เสียงเพลงที่ได้ยิน การตกแต่งร้าน วิธีการนำเสนอของพนักงาน หรือแม้แต่กระทั่งชาหรือกาแฟที่นำมาเสริฟให้ชิมฟรีๆ ล้วนแล้วแต่มีการศึกษามาแล้วว่าการทำแบบนี้จะทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อมากขึ้น การทำตลาดให้เกิดความกลัวก็เช่นเดียวกัน
อย่าแปลกใจเลยเมื่อเราพบว่าทั้งยาและวัคซีนที่ผลิตออกมาจำหน่าย จะมีวิธีการเสนอข่าวที่ทำให้ผู้คนกลัว นอกจากจะทำการตลาดบนความกลัวในการติดเชื้อแล้ว ยังทำให้เกิดความกลัวในรูปแบบที่เรียกว่า FOMO (Fear Of Missing Out) ที่เป็นความกลัวว่าจะพลาดโอกาสบางสิ่งบางอย่างไป
ทั้งที่ประเทศไทยมีข้อมูลจากการนำฟ้าทะลายโจรไปรักษาในเรือนจำเป็นยาหลัก พบว่านักโทษที่มีการติดเชื้อโควิดและแสดงอาการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง วันที่ 28 กันยายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 69,230 คน มีผู้เสียชีวิต 151 ราย คิดเป็นสัดส่วน 0.21%
เมื่อมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของการใช้วัคซีนทุกชนิดที่มีในโลก พบว่าไม่มียี่ห้อใดเลยที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแต่ลดความรุนแรงได้เท่านั้นเอง อัตราการเสียชีวิตหลังจากการให้วัคซีนก็ยังสูงกว่าการใช้ฟ้าทะลายโจร
1
ที่มา Live NBT2HD
นอกจากนี้ข้อมูลจากการทดลองยา ยาโมลนูพิราเวียร์ พบว่าสามารถลดความเสียงการนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ประมาณ 50% ในประเทศไทยมีอัตราผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดประมาณ 1% หากใช้ยาตัวนี้ก็จะทำให้ลดโอกาสเสียชีวิตเหลือเพียง 0.5% แต่ก็ยังมีความเสี่ยงมากกว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรประมาณ 2.5 เท่า
แต่ทำไมฟ้าทะลายโจรไม่ได้รับการนำเสนอตามความเป็นจริง นั่นก็เพราะว่ายาโมลนูพิราเวียร์และวัคซีน เขาทำตลาดโดยการนำเสนอข้อมูลให้ผู้ที่เสพข่าวเกิดความกลัว ผู้คนจึงรู้สึกว่าต้องมีต้องใช้ให้ได้ แต่กับฟ้าทะลายโจร ไม่ได้มีการทำตลาดอะไรเลย นอกจากคนที่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพจะออกนำมาเสนอ จากผลการใช้จริง
ที่มา  สยามรัฐ
แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะดีกว่าอย่างไรก็ตาม ยังไงก็ไม่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ไทยอยู่ดี ไม่ใช่เพราะแพทย์ไทยมีอคติหรือลำเอียง แต่เพราะการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทย์ ทำให้เอนเอียงไปทางยาที่มามาจากตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกา เพราะเขาเป็นผู้สร่างหลักสูตรแพทย์แผนใหม่
หากคนไทยใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาการติดเชื้อโควิดในช่วงแรก ซึ่งยาโมลนูพิราเวียร์ก็ใช้กับผู้ติดเชื้อช่วงแรกเช่นกัน เราจะใช้เงินประมาณ 100 บาท แต่หากเราใช้ยาโมลนูพิราเวียร์มารักษา เราต้องใช้เงินถึง 23,500 บาท หรือใช้เงินมากกว่า 235 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฟ้าทะลายโจร
ที่มา จับกระแสธุรกิจ Business Watch, TNN Report
หากเราไม่นำข้อมูลที่ได้มาศึกษาเปรียบเทียบอย่างไม่มีอคติ ยังไงเราก็ตกเป็นเหยื่อการตลาดบนความกลัวของผู้ผลิตยาและวัคซีนอยู่วันยังค่ำ
อ้างอิง
จับกระแสธุรกิจ Business Watch, TNN Report
รายการเรื่องเล่าเช้านี้
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
ท่านที่สนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ตู้กาแฟหยอดเหรียญ ที่สามารถขายแฟรนไชส์และมีรายได้จากการขยาย
สามารถสร้างรายได้ทั้งรายวันและรายสัปดาห์และรายเดือนได้
ติดต่อได้ที่
โฆษณา