11 ต.ค. 2021 เวลา 06:34 • สุขภาพ
ตาแดงจากภูมิแพ้​ VS ตาแดงจากโควิด
บทความจาก American Academy of Ophthalmology ชื่อ
Is It COVID-19 or Allergies? แนะนำข้อสังเกตุง่ายๆ เอาไว้ว่า
1. หากคุณมีอาการตาแดง (มักเป็นสองข้าง)
มีน้ำตา และคัน (อาการคันเด่น)
นี่คืออาการของตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้
2. หากคุณมีอาการตาแดง (ข้างเดียวหรือสองข้าง)
ไม่มีน้ำตาหรือมีเล็กน้อย
มีขี้ตา
ไม่คันเลย
แต่มีไข้ และ/หรืออาการจากระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
นี่อาจจะเป็นอาการของตาแดงจากการติดโควิด-19
🤩เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ คือ โรคเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ ที่พบในสิ่งแวดล้อมภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ไรฝุ่น เชื้อรา ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ มลภาวะในอากาศ มาสัมผัสกับเยื่อบุตาแล้วกระตุ้นทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
😳จะเริ่มด้วยมีอาการคันตา ตาแดง มีขี้ตาใส น้ำตาไหล ตาสู้แสงไม่ได้ เปลือกตาบวม เคืองตา เหมือนมีฝุ่นผงเข้าตามักจะมีการอักเสบของเปลือกตา ในรายที่อาการรุนแรงอาจทำให้ตามัวลงจนถึงตาบอดได้ โดยอาการต่างๆเหล่านี้ อาการคันตาจะเป็นอาการเด่นที่บ่งบอกว่าน่าจะมีผลมาจากภูมิแพ้ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการทั้งสองตา นอกจากนี้อาจพบอาการร่วมกับโรคภูมิแพ้ที่อื่นๆ เช่น โรคจมูกอักเสบ หรือผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
🌼การรักษามีทั้งยาหยอดตาและยากิน​ ซึ่งจะเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการและความรุนแรงของโรค
หลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพราะการขยี้ตาจะทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้น และยิ่งทำให้เกิดอาการคันมากขึ้นเช่นกัน​
🌼🌼🏵️🏵️
1️⃣ยาหยอดตาประเภทแอนตี้ฮิสตามีน จะได้ผลดีในผู้ที่เป็นภูมิแพ้น้อยๆ และไม่รุนแรง โดยหยอดวันละ 3 - 4 ครั้ง​
2️⃣ยาที่ลดการหดตัวของหลอดเลือด​ มักมีส่วนผสมของตัวยาแนฟาโซลีน (naphazoline) และเตตราไฮโดรโซลีน (tetrahydrozoline) ซึ่งแม้จะทำให้หลอดเลือดคลายตัวในเวลาอันรวดเร็ว แต่หากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ การไหลเวียนเลือดขาดการควบคุมทำให้ตาแดงกว่าเดิมในที่สุด
📣-​ ให้ใช้ในระยะเวลาจำกัดไม่ควรเกิน 3 วันเพราะอาจเกิดrebound congestion
เรียกว่า​ conjunctivitis medicamentosa
-อาจทำให้ม่านตาขยาย และกระตุ้นการเกิดต้อหินเฉียบพลัน
3️⃣ยาหยอดตาประเภทป้องกันปฏิกิริยาภูมิแพ้ ซึ่งมีตัวยาที่ชื่อ "ไดโซเดียมโครโมไกลเคต" และ "โลด็อกซาไมด์" เป็นส่วนประกอบ ตัวยาทั้งสองนี้จะออกฤทธิ์ควบคุม Mast Cell ที่อยู่ในเลือดไม่ให้แตกตัว เพื่อไม่ให้เกิดอาการคัน โดยให้หยอดยาประเภทนี้ วันละ 3-4 ครั้ง ในผู้ป่วยเด็กอาจหยอดได้เพียงวันละ 3 ครั้ง คือ ก่อนไปโรงเรียน เมื่อกลับจากโรงเรียนถึงบ้าน และก่อนนอน
หากผู้ป่วยได้รับสิ่งที่แพ้ในปริมาณไม่มากนัก ยาหยอดประเภทนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ ในทางกลับกันหากได้รับสิ่งที่แพ้เข้าตาในปริมาณมาก ยาจะป้องกันได้ไม่หมด ผู้ป่วยจะมีอาการคันกำเริบขึ้นอีก ในกรณีนี้แพทย์จะสั่งยาประเภทสเตียรอยด์ให้หยอดตาเสริมเพื่อบรรเทาอาการคัน
ข้อดีของยาประเภทนี้ คือ สามารถใช้ได้ในระยะยาว โดยไม่มีผลข้างเคียงและไม่มีอันตรายต่อดวงตา (แต่ยามีส่วนประกอบของสารกันเสีย​ benzalkonium chloride)​
4️⃣ยาหยอดตาประเภทสเตียรอยด์ เป็นยาหยอดตาที่ได้ผลการรักษาดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ เนื่องจาก ใช้แล้วตาจะหายจากการคันและแดงเร็วขึ้น แต่มีข้อเสียคือถ้าใช้บ่อยๆ ติดต่อกันในระยะยาว อาจทำให้เกิดความดันในลูกตาสูงจนกลายเป็นต้อหินซึ่งจะทำให้ตาบอดได้ ดังนั้น การใช้ยาประเภทนี้ควรใช้เป็นครั้งคราว และใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เมื่ออาการทุเลาลงต้องรีบลดความถี่ในการหยอดยาลง จนกระทั่งหยุดใช้ยาเมื่อไม่มีอาการแล้ว
👨‍🔬ยาหยอดตาที่ใช้รักษาอาการตาแดงจากภูมิแพ้​
▶️ยาหยอดตากลุ่ม​ mast cell stabilizer ​
Cromolyn sodium (VIVIDRIN)
Lodoxamide (ALOMIDE )
Pemirolast (PEMIROX )​
Ketotifen (ZADITEN )​
Olopatadine (PATADAY)​
ใช้เพื่อป้องกันโรคตาแดงจากภูมิแพ้มากกว่าใช้รักษา​
เนื่องจากออกฤทธิ์​ช้าประมาณ​ 2 อาทิตย์​ แต่ก็ต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
⏩ยาหยอดตาที่มีฤทธิ์​ antihistamine/mast cell stabilizer dual action
Ketotifen (ZADITEN)​
Olopatadine (PATADAY)​
Azelastine (DYMISTA)
Epinastine (RELESTAT)
ลดได้ทั้งตาแดง​ คันตา​ และมี​ antihistamine​ ที่ออกฤทธิ์​เร็ว​
ช่วยเพิ่ม​ความร่วมมือในการใช้ยาของคนไข้ (compliance) เพราะเห็นผลเร็ว
⏭️​ยา antihistamine รุ่นเก่า​ รักษาอาการคันตา
ANTAZOLINE
⏯️ยากลุ่ม​ topical decongestant
OXYMETAZOLINE
ลดการคั่งของสารหลั่งต่างๆ​ และยังหดหลอดเลือด​ ลดอาการตาแดง​
แต่ต้องใช้ในระยะสั้นๆ​ ไม่เกิน​ 3-5วัน​ เพื่อป้องกัน​การกลับเป็นซ้ำอย่างเฉียบพลัน (conjunctivitis medicamentosa)
ในกรณีที่​คุมอาการไม่ได้​ และมีอาการรุนแรง​มาก​
อาจใช้ยาสเตียรอยด์​ในระยะสั้นๆประมาณ​2สัปดาห์​
.
.
💢
อ่านเพิ่มเติม
eye ear oncho herb biopharm | PDF - Scribd
.
Japanese guidelines for allergic conjunctival diseases 2020
.
.
POSTED 2021.10.11
UPDATED 2022.09.14
โฆษณา