13 ต.ค. 2021 เวลา 08:21 • ธุรกิจ
เป็นธรรมกับประชาชนทั่วไป..
การคุ้มครองเงินฝากเท่ากับรัฐเป็นผู้ค้ำประกันธนาคารที่รับเงินฝากนั้นไว้ แม้กลไกจะมีการบังคับให้ธนาคารส่งเงินเข้าสบทบกองทุนเพื่อค้ำประกันเงินฝากพวกนี้อยู่ แต่การที่ค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนมีผลเท่ากับรัฐบาลพร้อมที่จะรับภาระในกรณีธนาคารซึ่งเป็นกิจการเอกชนล้มละลายไม่สามารถใช้คืนเงินฝากได้
ลองคิดดู ถ้าธนาคารบริหารงานแบบมั่ว ๆ หรือมีการฉ้อฉล จนเจ๊งขึ้นมา รัฐยังเข้ามาอุ้มโดยการชำระหนี้ให้(เงินที่คนเอาไปฝาก) คิดต่อไปอีกนิด เงินรัฐบาลเอามาจากไหน ..มันก็คือเงินกองกลางของประชาชนทุกคน ได้มาจากการเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ฯลฯ
เมื่อเป็นเงินของทุกคนมันสมควรไหมที่จะเอาไปค้ำประกันกิจการส่วนตัว(เอกชน) ที่อาจยักยอกฉ้อฉล ถ่ายเทเงินออกไป หรือบริหารแบบชุ่ย ๆ จนขาดทุนล้มละลาย
ปัจจุบันธนาคารมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ๆ ค้าขายทำธุรกิจแบบข้ามชาติ ถ้าล้มมูลค่าเสียหายมันมหาศาลดึงเศรษฐกิจทั้งประเทศให้พังตามไปด้วย
การค้ำประกันเงินฝากแบบไม่จำกัดจึงเป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง และไม่เป็นธรรมกับประชาชนทั่วไปทุกคน ทั้งยังไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติในบริบทโลกยุคปัจจุบัน
อย่าลืมธนาคารไทยมีประวัติการขาดทุนยับเยินมาหลายครั้ง หลายธนาคาร ที่ยักยอกฉ้อฉลเอาเงินออกไปแล้วให้รัฐใช้หนี้เงินฝากให้ก็เคยมี..ย้อนกลับไปหาดูเรื่องราวพวกนี้ได้
นโยบายการจำกัดการค้ำประกันเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาทต่อบัญชีจึงถือเป็นเรื่องที่ดีต่อประชาชนทั่วไป คนฝากเงินต้องเลือกธนาคารให้ดีและรับความเสี่ยงเอง ส่วนธนาคารก็ต้องสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่นกับลูกค้าด้วยตนเอง
โฆษณา