15 ต.ค. 2021 เวลา 00:30 • สุขภาพ
ฉีด Sinovac สองเข็ม จะได้ระดับภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่า กลุ่มที่ฉีด AstraZeneca สองเข็ม เมื่อกระตุ้นด้วย Pfizer
3
จากที่ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา วัคซีนหลักที่ใช้ฉีดป้องกันโควิดคือวัคซีนเชื้อตายของ Sinovac (SV) และวัคซีนไวรัสเป็นตัวนำของ AstraZeneca (AZ)
จึงทำให้มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ได้รับการฉีดวัคซีนสองเข็ม แยกเป็นสองลักษณะคือ
1) SV-SV
2) AZ-AZ
ต่อมาภายหลัง จึงเริ่มมีวัคซีนเชื้อตายของ Sinopharm (SP) และวัคซีน mRNA ของ Pfizer (PZ) เข้ามาเพิ่มเติม
เมื่อเวลาผ่านไป จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีน SV-SV จะมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับป้องกันไวรัสเดลต้าได้นานประมาณ 3 เดือน แล้วระดับภูมิคุ้มกันจะเริ่มตกลง
1
ส่วนกลุ่มที่ฉีด AZ-AZ จะมีภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มที่ฉีด SV-SV
1
โดยเมื่อเปรียบเทียบหลังฉีดวัคซีน 2-3 เดือน
กลุ่มที่ฉีด SV-SV มีระดับภูมิคุ้มกันที่ 33-38 หน่วย (BAU/mL)
กลุ่มที่ฉีด AZ-AZ มีระดับภูมิคุ้มกันที่ 90-116 หน่วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสาม จึงได้มีการใช้วัคซีน Sinopharm AstraZeneca และ Pfizer
1
น่าสนใจว่าผลจะเป็นอย่างไร
1) กลุ่มที่ฉีด SV-SV
1.1) SP จะกระตุ้นได้น้อยสุด
จาก 34 ->155 หน่วย
1
1.2) AZ จะกระตุ้นได้ดี
จาก 38 ->1358 หน่วย
1
1.3) PZ จะกระตุ้นได้ดีมาก
จาก 38 -> 3981-5152 หน่วย
2) กลุ่มที่ฉีด AZ-AZ
2.1) SP จะกระตุ้นได้น้อยสุด
จาก 116 ->129 หน่วย
1
2.2) AZ จะกระตุ้นได้น้อยเช่นกัน
จาก 102 -> 246 หน่วย
2
2.3) PZ จะกระตุ้นได้ดีมาก
จาก 90 -> 1962-2377 หน่วย
กล่าวโดยสรุป
1) ฉีดวัคซีนสองเข็มแรกเป็น Sinovac (SV-SV) จะได้ภูมิคุ้มกันน้อยกว่าฉีด AstraZeneca
2) ฉีด Sinovac สองเข็ม เมื่อกระตุ้นด้วย Sinopharm จะได้ระดับภูมิคุ้มกันขึ้นน้อยสุด ตามด้วย AstraZeneca และ Pfizer
1
3) ฉีด AstraZeneca สองเข็ม (AZ-AZ) เมื่อกระตุ้นด้วย Sinopharm จะได้ระดับภูมิคุ้มกันน้อยสุด พอๆกับ AstraZeneca โดยกระตุ้นด้วย Pfizer จะดีที่สุด
4) ผู้ที่ฉีด Sinovac สองเข็ม จะเป็นฐานที่เหมาะสม สำหรับการฉีดกระตุ้น มากกว่าผู้ที่ฉีด AstraZeneca สองเข็ม เพราะสามารถกระตุ้นได้ทั้ง AstraZeneca หรือ Pfizer และภูมิคุ้มกันขึ้นได้สูงด้วย
ในขณะที่กลุ่มที่ฉีด AstraZeneca สองเข็ม กระตุ้นด้วย AstraZeneca ได้ไม่ค่อยดี ต้องกระตุ้นด้วย Pfizer เท่านั้น
4
Reference
1
ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา