14 ต.ค. 2021 เวลา 18:20 • สุขภาพ
## เพราะทุกสิ่งบนโลกนี้ มีสองด้านเสมอ โควิดเองก็เช่นกัน
มาดูกันว่า…โควิดเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไปมากแค่ไหน ##
8
นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้น วิกฤตการณ์นี้ได้สร้างความปั่นป่วนแก่สังคมโลกในหลายแง่มุม คล้ายไฟลามทุ่ง ที่เมื่อไฟถูกจุดติดแล้ว ก็ยากต่อการหยุดยั้ง แต่หากมองให้ดีๆ แล้ว ใช่ว่าการมาครั้งนี้ของโควิด-19 จะมีแต่เรื่องเลวร้าย ในบางครั้งค่ำคืนที่มืดมิดที่สุด ก็ทำให้เราเห็นดวงดาวเด่นชัดที่สุด เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ของภาคการศึกษาตอนนี้ค่ะ
1
เราต่างรู้กันดีว่า “โควิด-19” มีผลกระทบทางการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะการรวมตัวกันในโรงเรียน หรือสถานศึกษา จะเป็นแหล่งระบาดของไวรัสได้เป็นอย่างดี และอาจเกิด “คลัสเตอร์ใหม่” ขึ้นมาได้อีก
2
ในช่วงที่มีการระบาดขึ้นนั้น นักเรียนนักศึกษาทั่วโลก มากกว่า 1,500 ล้านคน ต้องหยุดการเรียนการสอนในโรงเรียนลง และมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็นการสอนแบบทางไกล โดยการเรียนที่บ้าน เน้นใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เด็กๆ รวมทั้งผู้ปกครองหลายคนต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก กับระบบการเรียนการสอนครั้งนี้
3
แต่เพราะโควิด-19 สร้างได้ทั้ง “วิกฤตและโอกาส” การมาของโควิด-19 จึงทำให้เราได้รู้ว่า “ภาคการศึกษา” มีจุดไหนบ้างที่ต้องแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยจุดเริ่มต้นที่ควรแก้ไขถูกเทน้ำหนักไปให้กับรากฐานที่ถูกมองข้ามเสมอมา ซึ่งก็คือ “พื้นที่ในการศึกษา” พูดง่ายๆ ก็คือ #ห้องเรียน ของเรา นั่นเองค่ะ
2
“รอร์ (Roar) สตูดิโอ” บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน ณ เมืองดูไบ คาดว่า โควิดจะส่งผลต่อการออกแบบโรงเรียนและสถานศึกษามากขึ้น นอกจากนั้นยังส่งผลต่อพวกโครงการที่ดูดีแค่ภายนอก แต่ภายในกลับไร้ซึ่งประโยชน์ต่อการพัฒนา เพื่อการเรียนรู้ถึงแก่นแท้ของภาคการศึกษาด้วยค่ะ
จึงมีการออก “สมุดปกขาว” ซึ่งมีเนื้อหาตอบคำถามที่สำคัญ ว่า
“เมื่อโควิดเข้ามา…จะปรับเปลี่ยนการออกแบบพื้นที่ เพื่อการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างไร ทั้งในส่วนของการแก้ปัญหาระยะสั้นและยาว ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด”
 
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
 
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
3
📌 สวัสดี…รอร์ (Roar) สตูดิโอ
“รอร์ (Roar) สตูดิโอ” เป็นบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ คุณปัลลาวี ดีน (Pallavi Dean) กรรมการผู้ตัดสินรางวัล Dezeen* ปี 2563 ร่วมมือกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 10 ด้าน เช่น นักออกแบบ ครู แพทย์ นักจิตวิทยา นักวิชาการและนักวิจัยด้านต่างๆ ค่ะ
(*Dezeen Awards: เป็นโครงการมอบรางวัลด้านสถาปัตยกรรม การตกแต่งภายใน และการออกแบบ จัดโดย Dezeen นิตยสารการออกแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกค่ะ)
ส่วน “เอกสารปกขาว” เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินเรื่องสำคัญหลายๆ อย่างที่นักเรียน และคุณครูอาจได้เจอตอนเปิดเรียน หลังประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ค่ะ
เนื้อหาในเอกสารปกขาว ได้มาจากการร่วมมือ ช่วยกันกลั่นกรองมุมมอง สรุป และประยุกต์แนวคิด จาก 7 ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ “การออกแบบโรงเรียน ที่ทำให้เกิดการป้องกัน และปลอดภัยจากโควิดได้เร็วที่สุด เพื่อให้เด็กๆ ได้กลับมาเรียนดังเดิม” ค่ะ
1
ขณะที่ นักเรียนนักศึกษาทั้งหลายต่างต้องพากันปรับตัว ไปเรียนออนไลน์ และคาดว่าจะมีการผสมวิธีเรียนแบบออนไลน์ (Online) กับออนไซต์ (On site) กันไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์การแพร่ระบาด
ขณะที่ ใครหลายคนยังกังวลว่า ภายใน ปี 2564 โรงเรียนและสถานศึกษาจะกลับมาให้ใช้พื้นที่และจุนักเรียนได้เหมือนเก่าได้อย่างไร
ขณะที่ ทุกคนเป็นกังวลถึงผลกระทบ ถึงการมีอยู่ของโควิด
คณะทำงานจาก “รอร์ (Roar) สตูดิโอ” กลับมองว่า นี่คือ ‘โอกาส’ ในการยกเครื่องการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ในวงการศึกษากันใหม่ ถือได้ว่าเป็นของขวัญ หรือมรดกตกทอดที่โควิดได้ฝากไว้ให้เลยทีเดียวก็ว่าได้ และจะทำให้พวกโครงการออกแบบที่เน้นแต่ความสวยงามของพื้นที่ภายนอกอย่างเดียวหมดไป แล้วหันมาสนใจ และเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยและการใช้งานภายในเป็นสำคัญแทนค่ะ
เรามาดูกันค่ะ ว่า พวกเขามีวิธีการแก้ไขทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ด้วยการออกแบบภายในได้อย่างไร?
📌 เริ่มด้วยการปรับตัว…ระยะสั้น
‘เป้าหมาย’ ของเอกสารปกขาว ถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหม่สำหรับนักออกแบบค่ะ ให้มีการเร่งพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนและสถานศึกษา ในการจัดสรรและปรับประยุกต์พื้นที่ของห้องเรียนเดิมๆ ที่มีอยู่ ให้รองรับนักเรียนจำนวนน้อยลง แล้วจะทำอย่างไรต่อ เพื่อให้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอต่อเด็กทุกคน อีกทั้งยังต้องคิดหาทางปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกตั้งเพื่อเป็นห้องเรียนตั้งแต่แรก เช่น โรงยิมและโรงอาหาร สามารถเอามาเป็นพื้นที่เรียนได้ด้วย
หรือ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีก นั่นก็คือ การคิดหาทางสร้างห้องเรียนแบบประกอบสําเร็จ ที่สร้างได้ในเวลาไม่กี่เดือนด้วยต้นทุนค่อนข้างต่ำและราคาถูกกว่าแบบเดิมมากโข
หากคุณนึกภาพไม่ออก มีใครจำโรงพยาบาลหั่วเสินซาน โรงพยาบาลแห่งใหม่ของเมืองอู่ฮั่น ที่ถูกสร้างเสร็จภายใน 7 วันได้ไหมคะ? ห้องเรียนสำเร็จรูปที่กำลังจะเกิดขึ้นก็จะมีแนวคิดคล้ายๆ กับการสร้างโรงพยาบาล นั่นเองค่ะ
เพราะระยะเวลาที่มีให้ใช้นั้นแสนสั้น จึงอาจมีการบวกเพิ่ม การออกแบบมาตรการป้องกันโควิดที่เด็กๆ เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น มาอยู่ทั้งในรูปของภาพการ์ตูนน่ารักๆ สีสันสดใส และเสียง ซึ่งอาจเป็นการพูดเตือนเป็นระยะๆ รวมถึงการใช้คำและข้อความที่เหมาะกับเด็กๆ บนพื้น หรือผนังอาคารเรียนเพื่อเตือนให้เด็กๆ มีความระมัดระวังตัวเองมากขึ้นในทุกๆ พื้นที่ด้วยค่ะ
เช่น
เด็กๆ จ๋า เราทุกคนต้องใส่หน้ากากกันละอองไวรัสให้กระชับกับใบหน้ากันนะจ๊ะ
ถ้าใครยังใส่ไม่กระชับก็ขยับให้กระชับนะคนเก่ง
หนูๆ คะ ช่วงโควิดนี้ ช่วยกันรักษาระยะห่างก่อนนะคะ
เรารักเพื่อนๆ รักชีวิตของเรา เราก็ต้องอยู่ห่างๆ กันไว้ก่อนนะลูก
ล้างไม้ล้างมือเสมอนะลูก ถ้ามือยังไม่สะอาด ล้างมือให้สะอาดกันก่อนนะจ๊ะ
อย่าเอามือไม่สะอาด ไปจับหน้าจับตา แคะจมูก หรือเอาอะไรใส่ปากเด็ดขาดนะคนดี
📌 ระยะสั้นทำได้แล้ว…มาดูระยะยาวกันบ้าง
ประเด็นสำคัญของการแก้ไขปัญหาระยะยาว ด้วยการออกแบบภายใน คือ ต้องมีการ “กำหนดผลลัพธ์” ของการออกแบบการศึกษาเอาไว้ตั้งแต่แรกค่ะ นักออกแบบจะต้องมองไปที่ผลที่ได้จากการเรียนรู้ของนักเรียนที่ต้องการไปให้ถึงเป็นหลัก แล้วจึงออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทก์ต่อผลลัพธ์ที่ต้องการ
1
อย่างที่กล่าวไว้ด้านบนนะคะ เพราะในระยะยาว หรืออนาคตอันใกล้นี้ การออกแบบภายในพื้นที่การศึกษา จะต้องคิดถึงเรื่องประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรกๆ เราจึงมีตัวอย่างของการออกแบบมาให้ทุกคนพอคาดเดา ถึงความเป็นไปได้ต่อจากนี้กันค่ะ ว่าจะมีการสร้างเจ๋งๆ หรืออุปกรณ์ล้ำๆ เกิดขึ้นมากมายแค่ไหน
เช่น ผนังพับได้สารพัดประโยชน์ที่พร้อมให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ตามต้องการ เฟอร์นิเจอร์ที่เคลื่อนย้ายได้ (การเคลื่อนย้ายได้ของเฟอร์นิเจอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นการออกแบบให้ช่วยเตือนเด็กๆ และพาเด็กๆ ให้มีการเว้นระยะห่างมากขึ้นค่ะ)
การสร้างห้องน้ำแบบไร้การสัมผัส ห้องเรียนหรือห้องต่างๆ ที่ไม่ต้องมีการสัมผัสสิ่งใด ก็เข้าได้ นับจากนี้ไป อุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการปราศจากการสัมผัสจะถูกให้ความสำคัญหรือติดตั้งกันมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ
ไม่แน่นะคะ อะไรที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์ อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตก็ได้ค่ะ
📌 เพราะ ‘โรค’ โควิด กำลังเขย่า ‘โลก’ แห่งการศึกษา
สิ่งที่เราพูดถึง และกำลังเกิดขึ้นนี้ จะทำให้พื้นที่การศึกษาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปค่ะ เรียกได้ว่า “ภาพจำเก่าๆ” ของห้องเรียนที่เราคุ้นเคย จะกลายเป็นเพียงเรื่องเล่า คงอยู่ไว้ในความทรงจำของคนที่เคยผ่านมาเท่านั้นค่ะ
หากคุณเชื่อว่า “ทุกวิกฤตมีโอกาส” นี่คือโอกาส ‘ทอง’ ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเดิมๆ และพัฒนาเติมพลังแห่งชีวิตให้กับโรงเรียน ที่เป็นเสมือน “บ้านหลังที่สอง” ของเรา และพลิกโฉมรูปแบบการเรียนการสอนเดิมๆ ที่เราเคยเรียนกันมาอีกด้วยค่ะ
เตรียมโบกมือลา การออกแบบห้องเรียนให้เด็กๆ นั่งเรียนกัน เรียงกันเป็นแถวเป็นแนว แล้วมีคุณครูคนเดียวพยายามหาทางให้ความรู้ โดยไม่รู้ว่าเด็กๆ เองนั้นเบื่อที่จะเรียนในสถานที่และบรรยากาศแบบนี้เต็มที กันได้เลยค่ะ
นักออกแบบ และคุณครู จาก รอร์ (Roar) สตูดิโอ เชื่อกันว่า โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ จะได้ประโยชน์เต็มๆ จากแนวคิดพื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ co-working space ค่ะ ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างพื้นที่การเรียนร่วมกันแบบ co-learning space ขึ้นมา เช่น เด็กๆ ทุกคน มีสิทธิเลือก ว่าอยากเรียนในสถานที่แบบไหน จะเลือกพื้นที่เรียนรู้แบบเงียบๆ สงบๆ หรือ ห้องประชุมขนาดเล็กๆ เฉพาะแบบตัวต่อตัว ก็ได้ค่ะ
หากคุณยังเห็นภาพไม่ชัด ว่า พื้นที่การศึกษาในอนาคตจะออกมาเป็นแบบไหน เรามีตัวอย่างที่ใช้ได้จริง และประสบผลสำเร็จมาแล้ว มาเล่าให้คุณฟัง พร้อมแล้ว ลองนึกภาพตามกันดูนะคะ
1
📌 ตัวอย่าง…การปรับตัวของภาคการศึกษา
สตูดิโอ เคิร์ล ลา ตูเร็ล เฮด (Curl la Tourelle Head) แห่งสหราชอาณาจักร ได้นำเสนอแนวคิดในการออกแบบเต็นท์เรียนเพื่อการเรียนแบบรักษาระยะห่างทางสังคม ที่เหมือนยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว นั่นคือนักเรียนสามารถกลับไปเรียนได้ ร่วมกับสามารถรักษาระยะห่างระหว่างกันได้อีกด้วย
แนวคิดของการศึกษานี้ จะเน้นการเปิดห้องเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศบริสุทธิ์ โดยตั้งเต็นท์เรียนขึ้นในพื้นที่สนามของโรงเรียนหรือพื้นที่กลางแจ้งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง และภายในเต็นท์เรียน จะมีการกำหนดอาณาเขตของนักเรียนแต่ละคนเอาไว้ เพื่อเป็นการเว้นระยะห่างของเด็กๆ จากนั้นจึงเปิดให้เด็กๆ กลับมาเรียน และมีการสลับเวลาเรียน เพื่อหมุนเวียนสับเปลี่ยนการใช้พื้นที่เรียน นอกจากนี้แต่ละเต็นท์ จะมีจุดล้างมือให้ด้วยค่ะ
2
แนวคิดการเปลี่ยนห้องเรียน เป็นเต็นท์เรียน ร่วมกับการใช้ห้องเรียนและอาคารเรียนที่มีอยู่ ถือว่าเป็นการหาทางออกแบบและดัดแปลงได้อย่างลงตัว และจัดเป็นการปรับประยุกต์ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริงเลยค่ะ
ในตอนนี้หลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศเดนมาร์กกำลังทดลองสร้างสรรค์ และประยุกต์ใช้พื้นที่การเรียนรู้กลางแจ้ง ให้กลายเป็น “ห้องเรียน” ที่ใช้ได้จริง ตามแนวคิดสุดเจ๋ง ส่งตรงจากสหราชอาณาจักรกันนะคะ
1
นี่จึงอาจเป็นการจุดประกาย ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพราะนอกจากจะปลอดภัยจากโควิดแล้ว ยังพกไอเดียสุดสร้างสรรค์มาเต็มกระเป๋าด้วยค่ะ
แล้วคุณคิดว่า ‘วงการศึกษาไทย’ จะปรับตัวอย่างไร? เพื่อให้ ‘อนาคตของชาติ’ กลับมาเรียนได้ปลอดภัย ใครมีความคิดเห็นแบบไหน มาแชร์ แลกเปลี่ยนกันได้เลยนะคะ
2
📌 มีคำกล่าวที่ว่า “ We are indoor creatures.” เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในอาคาร
ทุกช่วงชีวิตของเราต่างอยู่ในอาคารเป็นส่วนใหญ่ จริงไหมคะ? และในอาคาร โดยเฉพาะที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือมีผู้คนแออัด จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโควิด ที่แพร่ทางอากาศ
แม้ว่าโควิด-19 จะระบาดหนักหนาสักแค่ไหน เราก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่อยู่ในอาคารไม่ได้อยู่ดี ดังนั้น เราจึงต้อง “ปรับตัว”ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในยุค New Normal ได้ โดยยึดหลักการที่ว่าในอาคาร หรือพื้นที่ในร่มที่คุณอยู่ ต้องมี “การระบายอากาศ” ที่ดีค่ะ
2
แม้ว่าการเปิดหน้าต่างประตู การใช้เครื่องฟอกอากาศ หรือการติดตั้งระบบระบายอากาศที่ทรงประสิทธิภาพ จะช่วยคุณได้แตกต่างกันออกไป แต่ก็ถือว่าพื้นที่ที่คุณอยู่ยังมีการถ่ายเทอากาศอยู่นะคะ เพราะไม่ได้มีการใช้อากาศเก่าอยู่ซ้ำๆ ทุกคนจึงสามารถนำความรู้เรื่องการระบายอากาศนี้ มาใช้เพื่อออกแบบหรือปรับประยุกต์ห้องเรียนแบบ New Normal หรือพื้นที่ในอาคารทุกแห่งให้ปลอดภัยต่อนักเรียน นักศึกษา คุณครู ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปได้ค่ะ
2
อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็อย่าลืมรักษามาตรการส่วนบุคคลกันนะคะ ดังที่เราเคยเน้นย้ำเสมอมา ในเรื่องการใส่หน้ากาก N95 หรือคุณภาพสูงกว่า อย่างมิดชิด การหมั่นตรวจหาเชื้อไวรัสเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ด้วยชุดตรวจ ATK อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และใช้อุปกรณ์ที่สำคัญสุดๆ เพื่อดูว่า อาคารที่เราอยู่ มีการระบายอากาศเป็นอย่างไร นั่นก็คือ ‘เครื่องวัด CO2’ นั่นเองค่ะ
หลายคนอาจคิดว่า ‘เครื่องวัด CO2’ มีราคาสูงเกินไป แต่หากภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนก็ใช่ว่าคุณจะไม่มีสิทธิใช้มันค่ะ เห็นได้จากกรณีของชุดตรวจ ATK เป็นต้น เพราะถ้ามีมาตรการยกเว้นภาษี เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตในประเทศ หรือยกเว้นภาษีนำเข้า ก็ไม่แน่นะคะว่า อาคารทุกหลังในประเทศไทย จะมีการติดตั้งเครื่องวัด CO2 ก็เป็นได้ค่ะ
1
เพราะชีวิต ก็คือชีวิต แม้ปัญหาใหม่ๆ จะเกิดขึ้น เราก็ต้องพยายามแก้ปัญหากันต่อไป แต่คุณจะไม่ฝ่าฟันวิกฤตการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ไปเพียงคนเดียวแน่นอนค่ะ เพราะ Zero Covid Thailand จะคอยสนับสนุนข้อมูลใหม่ๆ ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ให้กำลังใจ และอยู่เคียงข้างคุณไปจนสุดทางนั่นเองค่ะ
แล้วเราจะผ่านความยากลำบากครั้งนี้ไปด้วยกันนะคะ ;)
1
อ้างอิง:
1
"Education spaces will never be the same again" says Roar report
UNIT Fabrications builds social-distancing furniture for London primary school
Curl la Tourelle Head proposes tent classrooms for socially distanced learning
Education: From disruption to recovery
The state of education - one year into the COVID pandemic
Coronavirus (COVID 19) Updates
แนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
1
อาคารยุคใหม่...ใส่ใจการระบายอากาศ บ๊ายบายโควิด!
1
โฆษณา