14 ต.ค. 2021 เวลา 19:01 • สุขภาพ
Covid19 เกี่ยวอะไรกับ CO2 ?
หลังจากมี ดีเดย์ เปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. นี้
โดยจำกัดเฉพาะที่มีความเสี่ยงต่ำ 10 ประเทศโดยไม่ต้องกักตัว การเปิดประเทศครั้งนี้ ถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับเศรษฐกิจ แต่อีกมุมหนึ่งในแง่ของความปลอดภัย ก็ถือว่าอาจจะเป็นการแลกกับ "ชีวิต" เลยก็เป็นได้
เนื่องจากมีเงื่อนไขหรือปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้เข้ามาเพิ่ม หลายคนยังคงเป็นห่วงกับความ "ไม่พร้อม" ของการดำเนินการ เช่นการฉีดวัคซีนของประชากรไทยเอง หรือความมั่นใจในศักยภาพ การตรวจคัดกรองคนเข้าเมือง อย่างการตรวจ RT-PCR
เพื่อไม่ให้นำไปสู่การแพร่ระบาดระลอกใหม่ ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอีก วันนี้เรามาทบทวน และเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้กันดีกว่าครับ
ในการติดเชื้อทั่วไป ทางการแพทย์จะแบ่งระดับการติดเชื้อตามการแพร่เชื้อ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Contact, Droplet และ Airborne เมื่อเริ่มมีการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในระยะแรก องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยืนยันว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ติดต่อกันจากการที่ผู้ติดเชื้อไอ จาม ที่หายใจเอาละอองฝอยของสารคัดหลั่ง (Droplets) เข้าไป
ในวันที่ 19 มิถุนายน 2563 หลังจากหลังจากมีงานวิจัยเพิ่มเติมว่าการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 ไม่ได้มาจากแค่ละอองฝอย แต่มาจากละอองลอย (aerosol) อีกด้วย และหลายครั้งกับเหตุการณ์แพร่กระจายของไวรัสครั้งใหญ่ (Superspreading)
พบว่าสภาวะที่เป็นห้องปิด และมีการถ่ายเทอากาศน้อย หรือ Air change rate (ACH) ต่ำกว่า 0.8/ชั่วโมง องค์การอนามัยโลกก็ได้ยอมรับและเพิ่มการแพร่กระจายโดยละอองลอย ในรูปแบบของการแพร่เชื้อ Covid-19
แล้วโควิดเกี่ยวอะไรกับ CO2 ?
เนื่องจาก Covid-19 นั้นแพร่ทางอากาศเป็นหลัก โดยการหายใจเอาละอองลอยที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป และ CO2 หรือคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนหนึ่งของการหายใจของมนุษย์ เพราะว่ามนุษย์หายใจออกมาเป็น CO2 ยิ่งค่า CO2 สูงเท่าไหร่ เท่ากับเรามีโอกาสที่เราจะสูดอากาศจากการหายใจออกของผู้ติดเชื้อเข้าไปสูงขึ้น หรือค่าตัวเลข CO2 สามารถบอกว่าการระบายอากาศในบริเวณนั้นดีเพียงพอหรือไม่
โดยเฉพาะในพื้นที่ปิดที่ไม่มีการระบายอากาศที่ดีพอ เช่น โรงงาน สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง โรงเรียนหรือ โรงพยาบาลก็ตาม จึงมีคำแนะนำให้ทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นหลัก จากตัวอย่างการเปิดสถานที่ตามนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
แต่การหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในอาคารนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากเราต้องการกลับมาใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงความปกติที่สุด เจ้าของกิจการ หรืออุตสาหกรรม
จึงต้องลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในที่ที่ระบายอากาศไม่เพียงพอ และวัดค่า CO2 หรือความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Covid-19
ตามนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ภายในอาคารที่มีผู้ใช้งาน ควรมีการระบายอากาศอย่างน้อย 10 ลิตรต่อวินาทีต่อคนหรือมีอัตราการระบายอากาศตามขนาดพื้นที่ อย่างน้อย 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อตารางเมตร
1. เครื่องกรองอากาศชนิดผ่านฟิลเตอร์ ที่มีความสามารถในการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมโครเมตร อย่าง Hepa Filter
.
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็กอย่างเชื้อไวรัส Covid-19 ในอาคารเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศเบื้องต้น ในอาคารขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ควรปรับปรุงระบบ HVAC ให้มีคุณภาพมากขึ้นด้วยครับ
2. เครื่องฉายรังสีอัตราไวโอเลต เพื่อทำลายเชื้อโรค (UVGI) ติดตั้งในอาคาร วัตถุประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อโรค หรือในระดับอุตสาหกรรม ที่อาจจะต้องมีกำลังการผลิตที่มากขึ้น อาจจะต้องมีการปรับปรุงห้องสะอาด (Cleanroom) ของท่าน ให้ตรงกับมาตรฐานมากขึ้น มีการตรวจสอบ จนถึงทำการ Sterilization เพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ
3. โรงเรียน ในสถานประกอบการ หรือในระบบขนส่งสาธารณะ ต้องทำการระบายอากาศด้วยการเปิดหน้าต่าง หรือประตูเพื่อระบายอากาศ เป็นเวลา 2-3 นาทีในทุก ๆ 30 นาที เพื่อเจือจางปริมาณของละอองลอยและจำกัดการแพร่กระจายของ Covid-19
4. ทำการตรวจวัดค่า CO2 เพื่อตรวจสอบค่าระบายอากาศในพื้นที่ โดยปกติแล้วระดับปกติของ CO2 ในอากาศภายนอกอาคารคือ 400 ppm หากภายในอาคารค่า CO2 มากกว่า 800 ppm ทางสถานที่ต้องทำการพิจารณา ลดจำนวนผู้ใช้งานในอาคารหรือสถานที่ หรือปรับปรุงการเพิ่มปริมาณอากาศจากภายนอก
นอกจากที่กล่าวไปยังมีแนวคิดจาก ASHRAE เรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบปรับอากาศ และระบายอากาศตามวิถีใหม่ หรือ “New Normal IAQ Requirement
วันนี้เราก็คงได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่า CO2 สัมพันธ์กับ Covid-19 อย่างไร และระบบ HVAC ก็ยังสัมพันธ์กับ CO2 อย่างสำคัญอย่างยิ่งยวดอีกด้วย ในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ห้างสรรพสินค้า หอประชุม สำนักงาน ไปถึงโรงพยาบาล
จำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบ HVAC (ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน การระบายอากาศ และระบบปรับอากาศ) เพื่อทำการหมุนเวียนอากาศภายในอาคาร และนำอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่อาคารเพื่อทำให้ค่า CO2 ต่ำลง
นอกจากค่า CO2 แล้วยังมีปัจจัยที่สามารถนำมาคำนวนโอกาสติด Covid-19 ในอาคารได้ เช่นปริมาณเชื้อ ระยะเวลาอยู่อาศัย จำนวนคน ที่นำมาคำนวนกับค่าการระบายอากาศที่มีความสำคัญมากที่สุด และเป็นปัจจัยที่เราสามารถใช้เทคโนโลยีควบคุมได้มากที่สุด
ดังนั้นการปรับปรุงระบบ HVAC จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะฟื้นฟูธุรกิจของคุณ ไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ จนถึงระดับโลก ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือปรับปรุง และสร้างการระบายอากาศให้ตรงตามมาตฐานอย่างเคร่งครัด เพื่อฝ่าวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างยั่งยืนครับ
CAI Engineering พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาทุกอุตสาหกรรมให้ตรงไปตามความต้องการของลูกค้า และได้รับมาตรฐานจากอุตสาหกรรมระดับสากล ด้วยทีมวิศวกรเฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์มากกว่า 10 ปีทั้งในและนอกประเทศ
วนา อนุตรอำไพ l CAI Engineering
▶ ทำความรู้จักเราให้มากขึ้น
Line OA : @caihvac หรือ Click https://lin.ee/O6ZPRuT
#ห้องคลีนรูม #สร้างห้องCleanroom #HVAC #ห้องแรงดันลบ #ห้องแรงดันบวก #Cleanroom #ห้องปลอดเชื้อ #AHU #ระบบHVAC #Covid19 #การระบายอากาศ #ระบบHVACอาคาร #เปิดประเทศ #CO2 #CAIEngineering
โฆษณา