15 ต.ค. 2021 เวลา 02:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#ความดันงานสุขภิบาลและดับเพลิงที่เจอกันบ่อยๆ
วิศวกรบางคนเรียก"แรงดัน" อีกคนเรียก "ความดัน"
สรุปคือ? 🤔
ขออนุญาตอธิบายตามความเข้าใจง่ายๆ 😁 (เผื่อทุกคนจะเข้าใจ)
แรงดัน = แรงที่กระทำ (ค่า F )
ความดัน = แรงที่กระทำกับพื้นที่แล้ว (ค่า P )
สูตรก็คือ
.. ความดัน (P) = แรงดัน(F) /พื้นที่ (A) ..นั่นเอง
.......... ดังนั้นวิศวกรต้องเรียกว่า "ความดัน" (แอดก็ติดปากเรียกแรงดันเหมือนกัน 😅 แต่เอาเป็นว่าวิศวกรเข้าใจกันนะ)
หน่วยล่ะ? >> มีหลายหลายจริงๆ ครับ
ส่วนงานสุขาภิบาลที่เจอบ่อยที่สุด
👉 bar (บาร์) ....วิศวกรใช้กันบ่อย (งานประปาใช้เรียกกันส่วนมาก )
👉 psi (ปอนด์/ตร.นิ้ว) .... ถ้าอยากคุยให้ละเอียดก็ใช้หน่วยนี้ (งานดับเพลิงใช้กัน)
👉 kgf/cm2 .... หน่วยนี้ ส่วนใหญ่จะเจอที่ Pressure gauge
👉 kpa .... หน่วยนี้ ส่วนใหญ่จะเจอที่ Pressure gauge เหมือนกัน
👷‍♂️💧ความดันของของน้ำประปาโดยทั่วไป >> จะใช้ประมาณ 1 - 2 บาร์ 👍 (บางที่แอดก็เจอแรงๆ 3 บาร์ พอได้อยู่นะ😁)
ถ้าความดันมากกว่านี้ ก็อาจจะทำให้สุขภัณฑ์บางอย่างเสียหายได้
** 1 บาร์ = น้ำที่ปล่อยจากถังสูงจากผิวน้ำลงมาถึงจุดใช้งาน 10 ม.
2 บาร์ = น้ำที่ปล่อยจากถังสูงจากผิวน้ำลงมาถึงจุดใช้งาน 20 ม.
............ดังนั้น เวลาซื้อปั้มน้ำที่บ้านควรเลือกใช้ H ประมาณ 10-20 ม. ............
👩‍🚒 ความดันของงานระบบดับเพลิง จะคุยกันบ่อยดังนี้ครับ
👉 H ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง .... 100 , 120, 150, 175 psi (1 bar = 14.51 psi)
👉 ความดันที่หัวสปริงเกอร์ทำให้ได้เหมาะสม ...
👉 ความดันของสายฉีดดับเพลิง ....
👉 ความดันสำหรับทดสอบท่อที่ติดตั้ง (1.5 เท่าของแรงดันใช้งาน) ..
ที่พบบ่อย! วิศวกรชอบใช้ Pressure gauge ขนาดสเกลไม่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น จะเทสท่อความดัน 150 psi ก็หยิบเกจ ขนาด 150 psi มาใส่เลย ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ว่าความดันทดสอบคงที่ หรือ pressure gauge เสียกันแน่ ..ดังนั้นวิศวกรผู้ทดสอบต้องใช้ pressure gauge ที่ขนาดสเกลใหญ่กว่าประมาณ 1.5 เท่าของความดันทดสอบ (1.5x150=225psi) ใช้ 200 - 300psi ก็ได้ครับ เพื่อให้เกิดมั่นใจในการทดสอบ
ดูตารางหน่วยด้านล่างเพิ่มเติมอีกทีครับ
ที่มารูปภาพ :
โฆษณา