22 ต.ค. 2021 เวลา 23:00 • ครอบครัว & เด็ก
📌อาการพูดเลียนแบบ ทำซ้ำ (Echolalia) 📌
คุณอาจเคยได้ยินเด็ก ๆ เลียนแบบเสียงและคำพูดเมื่อได้ยินคนอื่นพูด และทำซ้ำหรือเลียนแบบเสียง วลี หรือคำ อาการนี้เรียกว่า Echolalia
👉อาการพูดเลียนแบบ ทำซ้ำ (Echolalia)
เป็นอาการพูดเลียนแบบ ทำซ้ำคำหรือวลีที่ได้ยิน ซึ่งการพูดเลียนแบบเสียงเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านภาษา สามารถพบได้บ่อยในเด็กที่กำลังเรียนรู้การสื่อสาร
แต่เมื่อเริ่มอายุประมาณ 2-3 ปี อาการพูดเลียนแบบ หรือทำซ้ำจะค่อยๆลดลงและหายไปในที่สุด แต่หากว่ายังไม่หาย ก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็กอาจมีภาวะออทิสติก (Autism) หรือมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ โดยอาการEcholalia อาจใช้เป็นสัญญาณของออทิสติกหรือความบกพร่องทางพัฒนาการในเด็กหรือปัญหาทางระบบประสาทในผู้ใหญ่ได้ โดยอาการพูดเลียนแบบหรือทำซ้ำ(Echolalia) สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
🔹1.อาการพูดเลียนแบบมีการโต้ตอบ (Functional หรือ Interactive Echolalia) เป็นความพยายาม สื่อสารโดยตั้งใจให้มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบฝั่งตรงข้าม เช่น
1.1)ผลัดกันพูด ผู้ที่มีอาการจะโต้ตอบบทสนทนาด้วยการเติบคำหรือวลีสั้นๆ โดยสลับกันพูดไปมากับคู่สนทนา
1.2)การปิดท้ายคำ เป็นการกระทำหรือพูดประโยคใดๆ แล้วจะปิดท้ายด้วยคำพูดที่คุ้นเคยโดยเลียนแบบมาจากผู้อื่น เช่น ผู้ที่มีอาการจะพูดว่า เยี่ยมมาก หลังจากพูดหรือทำสิ่งใดสำเร็จ
1.3การให้ข้อมูล ผู้ที่มีอาการ Echolalia อาจใช้คำพูดเพื่อให้ข้อมูลใหม่ แต่มักมีอุปสรรคในการเรียบเรียงคำพูดเพื่อใช้เชื่อมโยงประโยค เช่น เมื่อแม่ถามว่าอยากกินอะไรเป็นมื้อกลางวัน ลูกก็อาจร้องเพลงจากโฆษณาชุดอาหารกลางวัน แทนคำตอบ
1.4คำร้องขอ เขาอาจจะพูดว่า “พ่ออยากได้ของเล่นไหม” แทนการขอซื้อของเล่น
🔹2.อาการพูดเลียนแบบไม่มีการโต้ตอบ (Non-Interactive Echolalia) เป็นการออกเสียงหรือพูดโดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสื่อสาร แต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ส่วนตัวของผู้พูด เช่น เพื่อเรียกแทนตัวเอง หรือเพื่อกระตุ้นตัวเอง เช่น
2.1คำพูดที่ไม่เน้นใจความ หรือผู้ฟัง ผู้ที่มีอาการecholalia พูดบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของสถานการณ์ เช่น การท่องบางส่วนของรายการทีวีขณะเดินไปรอบ ๆ ห้องเรียน พฤติกรรมนี้อาจใช้เพื่อเรียกแทนตัวเอง หรือกระตุ้นตนเองได้
2.2การพูดเชื่อมโยงสถานการณ์ คำพูดถูกกระตุ้นโดยสถานการณ์ ภาพ บุคคล หรือกิจกรรม โดยไม่มีจุดประสงค์ในการสื่อสาร เช่น หากเห็นสินค้าในร้านค้า พวกเขาอาจร้องเพลงจากโฆษณา ที่เคยฟังของสินค้าตัวนั้นๆ
2.3การซักซ้อมก่อนพูด ผู้พูดอาจกล่าวคำหรือวลีเดิมซ้ำๆ กับตัวเองด้วยเสียงเบา ก่อนจะพูดคุยด้วยเสียงปกติ ซึ่งเป็นการซ้อมก่อนการสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่น
2.4การพูดเพื่อชี้นำตนเองหรือกำกับตัวเอง ผู้พูดอาจพูดข้อความใดข้อความหนึ่งเพื่อควบคุมตัวเองขณะทำสิ่งต่างๆตัวอย่างเช่น ถ้าเขากำลังกินข้าว เขาอาจบอกตัวเองว่า "หยิบจาน หยิบช้อน เปิดหม้อหุงข้าว ตักข้าว นำไปวางที่โต๊ะ กินข้าว” เป็นต้น จนกว่าขั้นตอนจะเสร็จสิ้น
👉อาการพูดเลียนแบบ ทำซ้ำ (Echolalia) พบในใครบ้าง
👶ในเด็ก มักพบได้บ่อยและเป็นสัญญาณของภาวะออทิสติกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการสื่อสารหรือความพิการในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3
👩‍🦰ในผู้ใหญ่ เราอาจพบว่าตัวเองพูดคำเดิมซ้ำๆ ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่ในบางคนอาจพบมีอาการพูดซ้ำ ทำซ้ำ (Echolalia) ที่มีปัญหาทางระบบประสาทหรือทางจิตเวชเช่น ความพิการทางสมอง,การบาดเจ็บที่ศีรษะ,ความผิดปกติของระบบประสาท, ความจำเสื่อมหรือภาวะสมองเสื่อม,การอักเสบของเนื้อเยื่อสมองหรือโรคไข้สมองอักเสบ, ความบกพร่องทางการเรียนรู้
👉การรักษาการพูดเลียนแบบ ทำซ้ำ (Echolalia)
1.การบำบัดการพูด ผู้ที่มีอาการพูดเลียนแบบบางคน อาจรักษาได้ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนักบำบัดการพูด
2.การใช้ยา แพทย์อาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการข้างเคียง และช่วยให้อารมณ์ผู้ป่วยสงบลง เนื่องจากอาการพูดเลียนแบบอาจทำให้เกิดความเครียดหรือกังวลได้
✅ทำแบบประเมินอาการออทิสติก ATEC ได้ที่ >> https://neurobalanceasia.com/atec/
👉กลุ่มอาการที่สามารถพัฒนาได้
>> ดาว์นซินโดรม (Downsyndrome) www.neurobalanceasia.com/อาการ/downsyndrome/
>> ออทิสติก (ASD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/asd
>> สมาธิสั้น (ADHD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/adhd
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) www.neurobalanceasia.com/อาการ/ld
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรี และตรวจประเมินการทำงานของสมอง โดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ศูนย์ Neurobalance
ช่องทางการติดต่อ
☎️ โทร : 02-245-4227 / 097-429-1546
Line : @neurobalance หรือ https://line.me/R/ti/p/@neurobalance
🌐เว็บไซต์: www.neurobalanceasia.com
📅ทำการนัดหมายออนไลน์
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #healthwellness #Autism #ADHD #Hyperactivity #ASD #Downsyndrome #Sensoryprocessingdisorder #ออทิสติก #สมาธิสั้น #พัฒนาการช้า #พูดช้า #สมอง #ดาว์นซินโดรม #อารมณ์รุนแรง
โฆษณา