19 ต.ค. 2021 เวลา 06:09 • สุขภาพ
รวมสูตรวัคซีนโควิดของไทย เรียงตามลำดับ เข้าใจง่าย พร้อมเหตุผลความเป็นมา จนถึงปัจจุบันคือ AZ-AZ , PZ-PZ , AZ-PZ
การฉีดวัคซีนโควิดของไทย มีลำดับพัฒนาการมาโดยตลอด ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปลายกุมภาพันธ์ 2564
โดยในช่วงนั้น มีวัคซีนหลักอยู่สองชนิดคือ Sinovac (SV) เป็นเทคโนโลยีเชื้อตาย และ AstraZeneca (AZ) เป็นเทคโนโลยีไวรัสเป็นตัวนำ
จึงเกิดสูตรการฉีดขึ้น สองสูตรแรก
1) SV-SV ฉีดในผู้ที่อายุ 18-60 ปี ต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติม จึงให้ฉีดในคนอายุมากกว่า 60 ปีได้ด้วย
2) AZ-AZ ฉีดในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
ต่อมาเมื่อเริ่มมีวัคซีน Sinopharm (SP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชื้อตาย และวัคซีน Pfizer (PZ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA เข้ามาเพิ่มเติม
1
ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจและข้อมูล จากการศึกษาทดลองเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนชนิดต่างๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเอง ได้แก่
SV-SV ระดับภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้ 3 เดือน และเริ่มลดลงจนรับมือไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้ไม่ดี
AZ-AZ ระดับภูมิคุ้มกันจะรับมือได้อย่างน้อย 6 เดือน
SV-SV เมื่อกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย AZ หรือ PZ ระดับภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงมาก
จึงทำให้มีการเพิ่มเติมสูตรการฉีดวัคซีนเป็น
3) SV-SV-AZ/PZ ซึ่งจะฉีดห่างจาก เข็ม 2 ประมาณ 1-3 เดือน
ต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมว่า การฉีด AstraZeneca เข็มสอง ถ้าห่างจากเข็มหนึ่ง 4 เดือน จะได้ภูมิคุ้มกันสูง กว่าห่างเพียง 1 เดือน
แต่ถ้าฉีด Sinovac เข็มหนึ่ง และตามด้วย AstraZeneca เป็นเข็มสองห่างเพียง 3-4 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูง
จึงทำให้เกิดสูตรที่สี่คือ
4) SV-AZ เพื่อมาแทน AZ-AZ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า
ในขณะนี้ วัคซีน Sinovac ที่ได้เคยสั่งสำรองไว้ กำลังจะหมด จึงมีสูตรที่จะฉีดในปัจจุบันคือ
5) AZ-AZ
6) PZ-PZ
7) AZ-PZ
1
ส่วนในกรณีฉีดเข็มสามหรือเข็มกระตุ้น สำหรับวัคซีนทุกชนิดยกเว้นวัคซีนเชื้อตาย ให้ฉีดเข็มสามห่างจากเข็มสองอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป
1
ซึ่งควรรอข้อมูล เพราะอาจจะนานกว่า 6 เดือนก็ได้
สำหรับวัคซีน Moderna (MN) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA เหมือน Pfizer ใช้หลักคิดเช่นเดียวกับ Pfizer
และวัคซีน Sinopharm (SP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเชื้อตายแบบเดียวกับ Sinovac ให้ใช้หลักคิดเช่นเดียวกับ Sinovac
เป็นลำดับความเป็นมาของสูตรการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของไทยทั้งหมด โดยมีเหตุผลข้อมูลประกอบดังกล่าวข้างต้น
Reference
ศูนย์ข้อมูล โควิด-19
1
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
โฆษณา