19 ต.ค. 2021 เวลา 16:39 • บ้าน & สวน
#Roof Drain #หัวระบายน้ำฝน
..วันนี้ขอยกเรื่อง "หัวระบายน้ำฝน (Roof Drain)" มาฝากกันครับ!
"Roof Drain (RD)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรองรับน้ำให้ไหลลงไปยังท่อรวบรวมน้ำฝนและต้องมีที่กรองผงด้วย
RD ที่เราพบบ่อยๆ มีอยู่ 3 ชนิด ครับ
👉1. #หัวระบายน้ำแบบดอกเห็ด (Mushroom Type)
หัวชนิดนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีโอกาสที่จะเกิดการอุดตันเนื่องจากเศษใบไม้ ถุงพลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีโอกาสจะกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ ให้สามารถระบายได้โดยรอบ
👉2. #หัวระบายน้ำแบบแบนราบ
หัวชนิดนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ดูแลได้สะดวก เช่น ระเบียนบ้าน เป็นต้น เนื่องจากตะแกรงเป็นชนิดแบนราบ เมื่อมีเศษใบไม้หรือถุงพลาสติกปิดทับก็จะทำให้การระบายช้าหรือไม่ระบายเลย
👉3. #หัวระบายน้ำแบบเข้าผนัง (Scupper Drain)
หัวชนิดนี้เหมาะสำหรับให้ระบายน้ำออกไปด้านข้าง กรณีที่ไม่สามารถติดตั้งท่อใต้พื้นหลังคาได้
⚠ปัญหาพบบ่อย!
- ขนาดของ Roof Drain และจำนวนจุดรับ >>วิศวกรผู้ออกแบบควรออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่รับน้ำ วิเคราะห์ทิศทางการไหลของน้ำ แล้วจึงทำการวางตำแหน่ง RD เพื่อกำหนดจำนวน (อย่าลืมเช็คดูแนวท่อที่จะระบายออกนอกอาคารด้วย) กรณีต้องแก้ไขในระหว่างการก่อสร้างต้องรีบเสนอแบบหลังที่อัพเดทใหม่ให้กับผู้ออกแบบเพื่ออัพเดทขนาดและจำนวนใหม่
- ขนาดท่อระบายน้ำ (Rain Leader Pipe) >> วิศวกรผู้ออกแบบควรเช็คแบบ เพื่อหาตำแหน่งท่อแนวดิ่ง (Riser) ที่จะระบายออกนอกอาคาร (ยิ่งใกล้ยิ่งดี) และขนาดท่อให้เหมาะสม เรื่องตำแหน่งท่อลงก็สำคัญเช่นกัน ควรปรึกษากับสถาปิกเพื่อความเหมาะสมและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่าลืม! ถ้าออกแบบท่อเล็กไปน้ำอาจจะล้นรางระบายน้ำก่อนได้
- ขนาดของรางระบายน้ำหลังคา >>วิศวกรควรตรวจเช็คแบบรางระบายน้ำว่ามีขนาดเหมาะสมหรือไม่ รางตื้นไปหรือไม่
- การปรับ Slope ของรางน้ำและหลังคา >>เรื่องนี้พบได้บ่อยมากครับ ถ้าไม่มีการแก้ไข อนาคตก็จะเกิดสนิมทำให้รางน้ำผุแล้วรั่วในที่สุดหรือตะไคร่น้ำ ปัญหา Slope ของรางน้ำนี้ตรวจสอบได้ยาก ยิ่งถ้าฝนไม่ตกจะไม่รู้เลย! ดังนั้นวิศวกรสุขาภิบาลควรตรวจสอบร่วมกับสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ดูแลงานติดตั้งหลังคา
"Support รับรางน้ำ"ก็มีผลได้เช่นกันครับ ถ้าห่างเกินไปเมื่อมีน้ำหนักของน้ำเข้ามากองอยู่บนรางทำให้รางแอ่น หลังจากฝนหยุดตกแล้ว ก็อาจจะทำให้มีน้ำหลงเหลืออยู่บนราง
"รางน้ำตามบ้าน" ไม่ควร Slope มาก (ชันมาก) เพราะจะทำให้น้ำล้นรางได้
- การรั่วซึมของ Roof Drain >>ปัญหานี้เกิดจากการติดตั้ง RD ช่วงเทพื้นหลังคาคอนกรีต และการทำกันซึมของพื้น
......👷 การจบงานก่อสร้าง.. ผมคิดว่าน่าจะต้องจบงานช่วงฤดูฝน เหมาะสุดๆ เลยครับ.. จะได้รู้กันไปเลย! 😉....
โฆษณา