21 ต.ค. 2021 เวลา 02:45 • การตลาด
งู? ไม่กลัว บันจี้จัมพ์? ไม่มีปัญหา แล้วถ้าต้องพูดพูดต่อหน้าคนเยอะๆ? ไม่ไหว!
พวกเราหลายคนแค่ได้ยินว่าตัวเองต้องพรีเซนต์งานหรือพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ก็เหงื่อตกแล้ว วันนี้ Cariber จึงนำ 10 วิธีสร้างความมั่นใจต่อหน้าคนจำนวนมากมาฝากทุกคน
#เตรียมตัวให้ดีและหมั่นฝึกฝนให้บ่อย
วิธีการคลายความตื่นเต้นก่อนพรีเซนต์คือการเตรียมตัว เตรียมตัว และเตรียมตัว ทวนโน้ตที่เตรียมไว้จนกว่าจะเริ่มชินกับสิ่งที่ต้องพูด เมื่อความเคยชินเกิดขึ้นแล้วก็จงหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ ด้วยการถ่ายวิดีโอตัวเองตอนพูด หรือจะพูดต่อหน้าเพื่อนเพื่อให้ช่วยดูว่ามีจุดไหนที่ปรับปรุงได้อีกก็ได้เหมือนกัน
#รู้จักคนฟัง
ก่อนเริ่มร่างสคริปต์ให้พิจารณาก่อนว่าเราต้องการสื่อสารกับใคร เรียนรู้ตัวตนของคนฟังให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเรารู้แล้วว่าคนฟังคือใครเราก็จะสามารถเลือกคำที่จะใช้ ระดับภาษา และการเรียบเรียงคำพูดได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
#เรียบเรียงเนื้อหาให้ดี
เพื่อไม่ให้มีการพูดออกทะเลเกิดขึ้น อย่าลืมเขียนหัวข้อที่ต้องการจะพูด จุดประสงค์โดยรวม จุดประสงค์เฉพาะเจาะจงของแต่ละหัวข้อ และประเด็นหลักที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้คนฟังรับรู้
#สังเกตและปรับตัวตามท่าทางคนฟัง
เวลาพูดอย่าโฟกัสแค่สิ่งที่ตัวเองพูดอย่างเดียว แต่ต้องโฟกัสที่ท่าทางของคนฟังด้วยว่ามีอาการเบื่อหรือเริ่มแสดงสีหน้าไม่เข้าใจหรือเปล่า แล้วปรับตัวตามนั้น
#แสดงความเป็นตัวเองออกมา
ถ้าเราแสดงความเป็นตัวเองออกมา เราก็จะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น และคนฟังจะรู้สึกว่าเราเชื่อใจได้
#ใช้อารมณ์ขันและการเล่าเรื่องให้เป็นประโยชน์
การสอดแทรกมุกตลกจะช่วยดึงความสนใจคนฟัง ส่วนการเล่าเรื่องจะทำให้การพรีเซนต์ของเรามีความเฉพาะตัวซึ่งเป็นสิ่งที่คนฟังส่วนใหญ่ชอบ
#อย่าอ่านสคริปต์หรือสไลด์โดยไม่จำเป็น
ถ้าสายตาเราจดจ่อกับสคริปต์หรือสไลด์นานเกินไปก็จะทำให้สูญเสียการเชื่อมต่อระหว่างตัวเราเองและคนฟัง ดังนั้นบนสไลด์จึงควรมีเพียงโครงร่างคร่าวๆ แค่พอช่วยเตือนความจำว่ากำลังจะพูดหัวข้ออะไรก็พอ
#ใช้ภาษากายให้คุ้มค่า
พยายามหลีกเลี่ยงท่าทางที่ดูเป็นกังวลหรือไม่มั่นใจตัวเองอย่างการผสานมือและห่อตัว พยายามยืดหลังให้ตรง แสดงสีหน้ายิ้มแย้ม และใช้มือช่วยเล่าเรื่องเมื่อจำเป็น
#ดึงความสนใจให้ได้ตั้งแต่ต้นและจบอย่างมีอิมแพค
ถ้ามีคนขึ้นต้นว่า “วันนี้ผม/ดิฉันจะมาพูดเรื่อง___” เราก็คงไม่ได้รู้สึกอยากฟังต่อ แทนที่จะใช้ประโยคเปิดธรรมดาๆ แบบนั้นให้ลองเปลี่ยนเป็นใช้ข้อมูลทางสถิติ เรื่องสั้นที่น่าสนใจ หรือโควทคำพูดสั้นๆ จะดีกว่า ส่วนตอนจบก็ให้สรุปทั้งหมดที่เราพูดพร้อมลงท้ายด้วยประโยคที่คนฟังจะลืมไม่ลง
#ใช้ภาพหรือเสียงประกอบแต่พอดี
เพราะถ้ามีมากไปคนฟังอาจจะให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านั้นมากกว่าสิ่งที่เราพูดแทน เราควรใช้ภาพหรือเสียงประกอบในสถานการณ์เพื่อดึงสมาธิให้คนฟังกลับมาตั้งใจฟังอีกครั้ง
เรียนรู้เทคนิคการสื่อสารและพัฒนาการพูดต่อหน้าคนจำนวนมากไปกับคุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ CEO และผู้ก่อตั้ง บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด เจ้าของเว็บไซต์ ‘Beartai’ และพิธีกรรายการไอที ผู้มากประสบการณ์ในวงการสื่อสารกว่า 23 ปี
ในคอร์ส “The Mastery of Communication เอาชนะใจคนด้วยการสื่อสาร”
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.cariber.co/pongsuk-hiranprueck
#Cariber
………………
Cariber ความสำเร็จที่เรียนรู้ได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ m.me/cariberofficial
โฆษณา