22 ต.ค. 2021 เวลา 08:53 • ประวัติศาสตร์
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
2
25 ธันวาคม ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) ธงสหภาพโซเวียตได้ปลิวอยู่เหนือเครมลินในกรุงมอสโควเป็นครั้งสุดท้าย
ตัวแทนจากดินแดนต่างๆ ในสาธารณรัฐสหภาพโซเวียต ได้แถลงว่าดินแดนของตนจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตอีกต่อไป และจัดตั้งเครือรัฐเอกราช
และเนื่องจากลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ได้ประกาศแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต เหลือเพียงแค่คาซัคสถาน ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย โดยสาเหตุหลักๆ ก็น่าจะเป็นผลจากการปฏิรูปของ “มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)”
1
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)
สำหรับเรื่องราวของการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ต้องย้อนไปตั้งแต่คราวปฏิรูปรัสเซียในปีค.ศ.1917 (พ.ศ.2460)
กลุ่มปฏิวัติบอลเชวิกได้ทำการโค่นล้มพระประมุข และเกิดสาธารณรัฐสังคมนิยมตามมาสี่แห่ง
1
ในปีค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) รัสเซียได้เข้าร่วมในการก่อตั้งสหภาพโซเวียต โดยมีผู้นำคนแรกคือ “วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)”
วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)
อันที่จริง สหภาพโซเวียตสมควรจะเป็น “ดินแดนแห่งประชาธิปไตย” แต่ดูเหมือนจะไม่ได้แตกต่างจากรัสเซียในสมัยที่ถูกปกครองโดยราชวงศ์มากนัก
สหภาพโซเวียตถูกปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว นั่นคือพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งคอยควบคุมและบังคับให้ประชาชนเชื่อฟังคำสั่งของพรรค
1
ภายหลังจากค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) เมื่อ “โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin)” ก้าวขึ้นสู่อำนาจ รัฐก็ได้เข้าควบคุมทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งภาคเศรษฐกิจและเกษตรกรรม อุตสาหกรรมต่างๆ และเรือกสวนไร่นาก็ถูกรัฐควบคุม
นอกจากนั้น รัฐยังควบคุมไปถึงการเมืองและชีวิตของประชาชน ใครที่ต่อต้านนโยบายของสตาลินจะถูกจับกุม และส่งไปยังค่ายกักกัน หรือไม่ก็ถูกประหาร
ภายหลังจากสตาลินเสียชีวิตในปีค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) ผู้นำรัสเซียคนต่อมาก็ได้ยกเลิกนโยบายของสตาลิน แต่ยังให้คงอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์
สหภาพโซเวียตได้มุ่งเป้าไปยังสงครามเย็น ซึ่งกำลังคุกรุ่น และทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่สงครามเย็น ต่างก็เร่งสะสมอาวุธและฝึกกองทัพเพื่อปราบปรามกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ และขยายอำนาจไปยังยุโรปตะวันออก
มีนาคม ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) นักการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ชื่อ “มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)” ได้ขึ้นเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต
2
กอร์บาชอฟต้องรับช่วงต่อเศรษฐกิจสหภาพโซเวียตที่ซบเซา และโครงสร้างเศรษฐกิจ ก็ทำให้การปฏิรูปแทบเป็นไปไม่ได้
1
กอร์บาชอฟได้นำเสนอนโยบายสองชุด ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้สหภาพโซเวียตนั้นมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยอันแรกคือ “กลาสนอสต์ (Glasnost)” หรือการเปิดรับทางการเมือง
นโยบายกลาสนอสต์ เป็นการกำจัดการปิดกั้นเสรีภาพต่างๆ ในสมัยของสตาลิน และให้ชาวโซเวียตมีเสรีภาพมากขึ้น
มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองเป็นจำนวนมาก หนังสือพิมพ์สามารถวิจารณ์รัฐบาลได้ และเป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองอื่นนอกเหนือจากพรรคคอมมิวนิสต์ สามารถลงเลือกตั้งได้
นโยบายที่สองคือ “เปเรสตรอยคา (Perestroika)” หรือคือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
1
กอร์บาชอฟมองว่าวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก็คือการที่รัฐบาลต้องถอยห่างจากธุรกิจเอกชน ให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้น
เมื่อเป็นอย่างนี้ ภาคเอกชนจึงสามารถถือครองธุรกิจได้ และเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนสามารถถือครองธุรกิจได้นับตั้งแต่ยุค 20 (พ.ศ.2463-2472)
คนงานก็สามารถประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องค่าแรงและสภาพการทำงานที่ดีได้ อีกทั้งรัฐบาลก็ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
แต่ถึงจะฟังดูดี แต่การปฏิรูปนี้ก็มีปัญหา เนื่องจากเศรษฐกิจก็ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ทำให้ความอดอยากยังคงมีอยู่ และผลที่ได้ก็คือ ประชาชนต่างก็ไม่พอใจในรัฐบาล
กอร์บาชอฟเชื่อว่าการที่เศรษฐกิจของประเทศจะดีได้ ก็ขึ้นอยู่กับสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา กอร์บาชอฟจึงได้รับปากว่าจะนำพาสหภาพโซเวียตออกจากการสะสมอาวุธ
1
นอกจากนั้น เขายังรับปากว่าจะถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน และยังแก้ไขเรื่องต่างๆ ของกองทัพให้เป็นที่พอใจของสากลโลกมากขึ้น
2
การไม่แทรกแซงต่างชาติของสหภาพโซเวียต ตามมาด้วย “การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 (Revolutions of 1989)” ซึ่งเริ่มขึ้นในโปแลนด์ โดยกลุ่มที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ ได้เจรจาต่อรองกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขอให้มีการเลือกตั้งเสรี
1
การปฏิวัตินี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอย่างสันติทั่วยุโรปตะวันออก โดยในปีนี้เอง ในเดือนพฤศจิกายน “กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall)” ก็ได้ถูกทลายลง ตามมาด้วย “การปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution)” โดยเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองในเชโกสโลวาเกียโดยไม่ใช้ความรุนแรง
2
18 สิงหาคม ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ได้ควบคุมตัวกอร์บาชอฟ โดยเหตุผลที่แถลงคือ “ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เนื่องจากเหตุผลทางสุขภาพ”
3
กองทัพได้เคลื่อนพลเข้ามายังมอสโคว หากแต่ก็ต้องพบเจอกับคลื่นมนุษย์ที่เข้ามาปิดล้อมรัฐสภารัสเซีย และการรัฐประหารครั้งนี้ก็จบลงด้วยความล้มเหลว
3
การเมืองในเวลานั้นมีความผันผวนวุ่นวาย และจบลงด้วยการออกจากตำแหน่งของกอร์บาชอฟในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534)
2
กอร์บาชอฟได้กล่าวก่อนพ้นจากตำแหน่งว่า
1
“ตอนนี้เรากำลังอยู่ในโลกใบใหม่ สงครามเย็นและการสะสมอาวุธได้จบลงแล้ว รวมทั้งการทหารที่บ้าคลั่งของประเทศนี้ ซึ่งได้บ่อนทำลายเศรษฐกิจ ความเห็นของสาธารณชน และศีลธรรม”
5
นี่ก็คือความล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญบทหนึ่ง
3
โฆษณา