25 ต.ค. 2021 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
มีงานวิจัยเผยว่าเรามีเวลาดึงความสนใจให้คนหันมาตั้งใจฟังราว 30 วินาทีแรกหลังจากเริ่มพรีเซนต์เท่านั้น ถ้าทำไม่ได้ คนฟังก็อาจจะหันไปโฟกัสกับโทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค หรือเหม่อลอยแทนที่จะฟังสิ่งที่เราพูด
แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะ Nancy Duarte (นักเขียน นักพูด และผู้เชี่ยวชาญด้านการพรีเซนต์) ได้ศึกษา Presentation ที่มีประสิทธิภาพกว่าพันชิ้นและค้นพบว่าเคล็ดลับการทำให้คนฟังหันมาสนใจและจดจ่อกับสิ่งที่เราพูดนั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ
วางโครงให้น่าติดตาม
การวางโครงสร้าง Presentation ให้เหมือนเรากำลังเล่าเรื่องราว (มีตอนเริ่ม ตอนกลาง และตอนจบ) จะดึงให้คนฟังติดตามไปเรื่อยๆ ว่าเรื่องราวจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่ว่าเนื้อหาจะมีความเฉพาะทางหรือเต็มไปด้วยข้อมูลมากแค่ไหนก็ตาม
ตอนเริ่มเป็นส่วนที่เราต้องดึงความสนใจจากคนฟังให้ได้เพื่อให้พวกเขาอยากรับฟังประเด็นหลักของเราต่อไป อาจจะลองถามคำถามที่ทำให้คนได้คิดตาม กล่าวถึงสถิติหรือข้อมูลที่คนฟังไม่เคยรู้มาก่อน หรือจะใช้ภาพหรือคลิปวิดีโอเป็นตัวช่วยกระตุ้นอารมณ์คนฟังก็ได้
ตอนกลางจะเป็นช่วงที่เราพูดถึงประเด็นหลักที่อยากนำเสนอ โดยส่วนใหญ่จำนวนที่แนะนำคือ 3 ประเด็นหลักแล้วแต่ละประเด็นหลักก็จะตามด้วยสไลด์ย่อยที่ใช้เพื่อเสริมให้ประเด็นหลักแข็งแรงมากขึ้น
ตอนจบเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่จะอยู่ในความทรงจำของคนฟังนานที่สุด เราจึงควรสรุปประเด็นหลักของเราอีกครั้งแล้วจบด้วยประโยคที่จะตราตรึงใจคนฟัง
ทำความคุ้นเคยกับคนฟังก่อนเริ่มพรีเซนต์
ต่อให้เราเรียบเรียงเรื่องราวมาดีแค่ไหนก็ยังมีโอกาสที่คนฟังจะสมาธิหลุดลอยไประหว่างที่เราพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาไม่รู้สึกว่าสิ่งที่เราพูดเกี่ยวข้องอะไรกับพวกเขา ดังนั้นเพื่อไม่ให้ความผิดพลาดนี้เกิดขึ้น อย่าลืมทำการบ้านมาก่อนว่าสิ่งที่เราและคนฟังมีเหมือนกันคืออะไร เพราะเมื่อคนฟังรู้สึกว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับพวกเขา เขาก็จะเริ่มสนใจในสิ่งที่เรากำลังจะเล่าให้ฟัง
ลองตั้งคำถามว่าพวกเขาใช้เวลาไปกับอะไรในแต่ละวัน? ใช้เงินไปกับอะไร? ให้ความสำคัญกับสิ่งไหน? มีอคติกับเรื่องใด? มีพื้นความรู้เรื่องที่เรากำลังจะพูดให้ฟังมากแค่ไหน? เมื่อได้คำตอบแล้วเราจะสามารถตีกรอบได้ว่าต้องเล่าเรื่องอะไรให้พวกเขาเหล่านี้รู้สึกอยากฟัง
สื่อสารอย่างไรให้คนสนใจ
อย่างสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้เค้าโครงและการทำความรู้จักผู้ฟังก็คือ “วิธี” การสื่อสารที่ครอบคลุมตั้งแต่ภาษาพูด ภาษากาย ไปจนถึงอารมณ์ขัน
1) มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังภายใน 2 นาทีแรกเพื่อสร้างความรู้สึกคุ้นเคยระหว่างเราและผู้ฟัง อาจจะเล่าเรื่องตลกเพื่อให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย หรืออาจจะเล่าเรื่องบางอย่างแล้วถามว่า “เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นกับคุณหรือเปล่า?” ก็ได้
2) ใช้เสียงตัวเองอย่างคุ้มค่า คนที่พูดเก่งจะรู้จักใช้ 3 องค์ประกอบนี้ให้เป็นประโยชน์ อย่างแรกคือระดับความดัง (เพื่อให้คนฟังได้ยิน) อย่างที่สองคือความชัดเจน (เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่พูด) และอย่างที่สามคือความหลากหลาย (เพื่อให้มีความน่าสนใจ) ตัวอย่างเช่น เราอาจจะลดเสียงลงจนเกือบกระซิบหรือหยุดพูดไปชั่วขณะเพื่อดึงให้คนฟังสนใจว่าเรากำลังจะพูดประโยคที่สำคัญ แต่ต้องระวังไม่ใช้เทคนิคนี้บ่อยเกินไปเพราะจะทำให้ไม่เกิดอิมแพคเท่าที่ควร
3) พยายามสบตากับทุกๆ คนเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจว่าคนฟังอยู่จริงๆ ที่สำคัญคืออย่าเผลอจ้องหน้าเกินไปไม่อย่างนั้นคนฟังอาจจะรู้สึกอึดอัดได้
4) ใช้ท่าทางในการเน้นย้ำข้อความที่ส่งออกไป ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการเปรียบเทียบระหว่างของขนาดเล็กและขนาดใหญ่ก็สามารถทำมือให้เห็นภาพชัดขึ้นได้ ถ้าเรากำลังพูดถึงข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือ Key Message ที่อยากเน้นย้ำก็สามารถใช้มือผายไปที่สไลด์เพื่อแสดงถึงความสำคัญได้เช่นกัน
เรียนรู้เทคนิคการสื่อสารและพัฒนาการนำเสนออย่างมืออาชีพไปกับคุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ CEO และผู้ก่อตั้ง บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด เจ้าของเว็บไซต์ ‘Beartai’ และพิธีกรรายการไอที ผู้มากประสบการณ์ในวงการสื่อสารกว่า 23 ปี
ในคอร์ส “The Mastery of Communication เอาชนะใจคนด้วยการสื่อสาร”
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.cariber.co/pongsuk-hiranprueck
#Cariber
………………
Cariber ความสำเร็จที่เรียนรู้ได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ m.me/cariberofficial
โฆษณา