22 ต.ค. 2021 เวลา 14:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โลกร้อนแล้วทำไมน้ำมันต้องยิ่งแพง!
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อพวกเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ไฟป่า ฝนแล้ง อากาศหนาวจัด ร้อนจัด น้ำทะเลหนุนสูง พืชผลการเกษตรราคาแพง จนไปถึงการทำลายความหลากหลายทางธรรมชาติ ในแต่ละที่ทั่วโลกล้วนแต่เป็นผลมาจากการที่โลกร้อนขึ้นในรูปแบบต่างๆกัน
มีรายงานของ Intergovernmental Climate Change (IGCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เค้าสรุปว่าที่โลกร้อนจนเป็นปัญหาทุกวันนี้เนี่ยมันเกิดการกิจกรรมของมนุษย์ และมันจะเป็นผลกระทบสืบเนื่องต่อไปอีกนานมากๆถึงแม้ว่าพรุ่งนี้เราจะหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเป็นศูนย์ได้ แปลว่าอะไร ก็คือที่ผ่านมาเราแก้ไขอะไรในปัจจุบันไม่ได้แล้วนั่นเอง สิ่งที่เราจะทำได้คือเราต้องหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้มันสร้างผลกระทบแย่ขึ้นไปอีกจากการที่อุณหถูมิสูงขึ้น
ดังนั้นความร่วมมือระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน หลายคนอาจจะไม่ได้รู้สึกเพราะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น คนที่เปิดแอร์นั่งจิบชาอยู่บนคอนโดชั้น 36 ใจกลางกรุงก็คงไม่ได้รู้สึกว่าเรื่องนี้จะคอขาดบาดตายใช่มั้ยล่ะ
ปลายเดือนนี้จะมีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนานาชาติครั้งที่ 26 ที่รู้จักกันในชื่อ COP26 (Conference of the Party 26) ปีนี้จะจัดที่ประเทศอังกฤษ ที่ตัวแทนจากรัฐบาลทั่วโลกจะไปพูดคุยเพื่อหามาตรการในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นหลักๆที่เค้าจะพูดกันคือ ผลบังคับใช้ที่จะนำกลับไปประเทศตัวเองเพื่อผ่านกฎหมายที่ส่งเสริมให้เกิดการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยที่เป้าหมายของโลกคือจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ในปี 2050
ในปี 2015 เรามีข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันในชื่อ Paris Agreement อันโด่งดัง ครั้งนั้นเรามีเป้าหมายร่วมกันคือ ”ไม่ให้โลกร้อนกว่า 2 องศาเซลเซียส” ถามว่าทำได้มั้ยตอนนี้ ก็อย่างที่รู้กันนะคะว่าไม่ได้ เพราะอุณหภูมิเป็นปลายเหตุจากสาเหตุคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ครั้งที่เค้าเลยมุ่งเป้าไปที่การหยุด! หยุดปล่อยก๊าซไปเลยดีกว่า ในที่นี้เค้าใช้คำว่า Global Net Zero ซึ่งไครจะยังปล่อยก็ไม่ว่าแต่ต้องหาทางทำให้มัน Net เป็น Zero ด้วยการปลูกป่าให้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อะไรวก็ว่าไป
1
ทีนี้ปัญหาคือการไปสู่เป้าต่างหากที่ทำได้ยาก ซึ่งทุกประเทศก็ตั้งเป้าหมดว่าจะต้อง Net Zero จนควีนอลิซาเบธบอกไม่ไหวแล้วขอพูดอะไรแรงๆซักครั้งในชีวิต ว่า ผนง...(อันนี้ควีนไม่ได้พูด) ควีนพูดว่า “อย่าดีแต่ปาก ไปพ๊ากกก” (“The lack of action on tackling the climate change crisis is irritating!”) เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาในการปรากฎตัวเพื่อเปิดรัฐสภาเมื่อถูกถามถึงCOP16 ซึ่งดอกเบี้ยสีทองก็เห็นด้วยกับควีน เพื่อไม่ให้เป้ากลายเป็นเป้ากางเกงประเทศต่างๆก็ต้องออกมาตรการออกมาเป็นกฎหมาย ซึ่งภาครัฐต้องเริ่มกำหนดทิศทางเพื่อลดการใช้งานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เช่นถ่านหินหรือน้ำมันต่างๆที่เราเติมกันอยู่เนี่ยแหละ เพื่อที่เราประชาชนตาดำๆสวยๆจะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่นำไปสู่การผลิตก๊าซเรือนกระจก ไทยที่ดูเหมือนไม่สนใจก็มีเป้ากับเค้าเหมือนกันแต่ขอเลย 2050 นิดนึงนะคะอย่าว่ากัน
ซึ่งกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกเช่น การตัดไม้ทำลายป่า การใช้งานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล การผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ถามว่าในที่บอกมาห้ามอะไรยากกว่า ตอบได้ใน1 วินาทีเลยว่าห้ามใช้รถ กับ ห้ามใช้ไฟฟ้าจากถ่านหินใช่มั้ยคะ ดังนั้นแต่ละประเทศจึงต้องส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก
มาตรการทางเศรษฐศาสตร์จึงถูกนำมาใช้เพื่อที่จะนำไปสู่การลดการใช้งานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลทั่วโลกตอนนี้ นั่นคือทำให้มันแพงขึ้น โดยธรรมชาติเมื่อของแพงย่อมมีการซื้อใช้ที่ลดลง และจะนำไปสู่การใช้และพัฒนาสิ่งทดแทนที่สูงขึ้น แน่นอนเป็นเรื่องที่เราทำใจลำบากที่จะสนับสนุน ในทางตรงข้ามเรากลับชอบที่รัฐมีการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของแต่ละประเทศ ที่สำคัญนักการเมืองคงไม่อยากเก็บภาษีน้ำมันแพงจนเกินไปถ้าไกล้เลือกตั้ง อันนี้พูดถึงประเทศที่มีการเลือกตั้งปกตินะคะ
ทีนี้ปัญหาจากการอุดหนุนราคาการใช้งานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเนี่ย มันจะไปทำให้การพัฒนาพลังงานทางเลือกทำได้ยาก เพราะมันแพงกว่าไง ไครจะอยากคิดอยากสร้าง ดังนั้นประเด็นนี้เลยเป็นที่ถกเถียงกันในเวทีโลกว่าเราต้องพร้อมใจกันทำให้ราคาพลังงานฟอสซิลและพลังงานทางเลือกมันเข้ามาไกล้ๆกันหน่อย จะมีบางประเทศขึ้นราคาบางประเทศไม่ขึ้นก็ไม่ได้นะ เพราะมันมีผลต่อปัจจัยการผลิต ถ้าเราต้นทุนน้ำมันถูกเหมือนไปเอาเปรียบบางประเทศในการแข่งขันด้านราคาสินค้าเข้าไปอีก ทั่วโลกเลยมีการกำหนดCarbon Boarder Tax Adjustment มันซะเลย กล่าวคือ จะเก็บภาษีอีประเทศที่ไม่มีการคิดภาษีจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งนานาชาติคิดว่า ควรปรับเพิ่มให้ต้นทุนราคาเชื้อเพลิงสะท้อนปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “ราคาคาร์บอน”หรือ Carbon Price โดยคิดแบบเดียวกับภาษีจากฐานของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน (รวมทั้งก๊าซเรือนกระจกตัวร้ายกว่าอย่างไนตรัสออกไซด์ (N2O) กับ perfluorocarbons (PFCs) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 50 ยูโร บางประเทศมีการจัดตั้งตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะได้มาจากกิจกรรมที่ลดการปล่อยคอร์บอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปลูกป่า การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการกำจัดคาร์บอนในโรงงานอุตสาหกรรมก่อนที่จะมีการปล่อยคาร์บอน ยกตัวอย่างเช่น แคนาดาจะใช้ทั้งมาตรการ เก็บภาษีคาร์บอน และ ตลาดคาร์บอน บางประเทศอาจเลือกแค่ 1 แนวทาง เช่นจีนได้มีการประกาศใช้ National Emission System เมื่อต้นปี
1
ที่ไทยเราก็มีแล้วนะ จะว่าไปเราก็เริ่มใช้แนวทางตลาดคาร์บอนก่อนจีนอีก ตั้งแต่ปี 2558 แต่เป็นแบบทดลองใช้โดยสมัครใจ ส่วนภาษีคาร์บอนยังอยู่ระหว่างการศึกษาการคิดราคาคาร์บอนที่ยังหาทางออกให้กับทุกฝ่ายไม่ได้ ซึ่งก็ต้องติดตามตอนต่อไป ที่สำคัญถามตัวเองว่าเราพร้อมหรือยังที่ราคาน้ำมันและค่าไฟเราจะสูงขึ้นในตอนนี้เพื่ออนาคตของลูกหลานและโลกของเรา.....จบแบบสวยๆ //ไหว้ย่อ
โฆษณา