23 ต.ค. 2021 เวลา 23:15 • สุขภาพ
ทำไมแพทย์สวมเสื้อคลุมสีขาว แต่เปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อทำการผ่าตัด?
ถ้าจะใช้สีแทนหมอ เชื่อว่า “สีขาว” จะปรากฎในใจทุกคน เพราะภาพคุณหมอที่ใส่ชุดสีขาวนั้นมีปรากฎให้เห็นทั่วไป! แต่คุณรู้อะไรไหม? ชุดของหมอไม่ใช่จะมีเฉพาะสีขาวเสมอไป! วันนี้จะมานำเสนอความลับของเสื้อคลุมคุณหมอ
ภาพโดย Tung Nguyen จาก Pixabay
หมอในยุคแรกใส่ชุดสีดำเหมือนนักบวช!
ตามที่สมาคมการแพทย์อเมริกันและ ดร. Hoheberg ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเสื้อคลุมสีขาวพบว่า แพทย์ในยุคแรกๆ สวมชุดทำงานสีดำ ใช่ มันดู 'เป็นชุดทางการ' เพราะสังคมในสมัยก่อนนั้น ไม่วางใจในการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เกิดขึ้น แพทย์สวมชุดสีดำเหมือนนักบวชซึ่งสามารถรักษาความรู้สึกแห่งความศักดิ์สิทธิ์และเพิ่มความไว้วางใจของผู้อื่นในวิชาชีพนี้ได้
ภาพโดย Eugenio Albrecht จาก Pixabay
จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาทางการแพทย์ก็ก้าวหน้าจนมีประวัติว่าเสื้อคลุมของแพทย์เปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาว
ทำไมชุดหมอถึงเป็นสีขาวแทนที่จะเป็นสีอื่น?
หลังจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ แพทย์ชาวอังกฤษ โจเซฟ ลิสเตอร์ ได้เสนอ 'ความสำคัญของการฆ่าเชื้อ' ในปี 1867 เขากล่าวในงานวิจัยว่า 'การขาดการฆ่าเชื้อเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อหลังผ่าตัด' ดังนั้นเครื่องมือผ่าตัดจึงมีความจำเป็นต้องผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงและฆ่าเชื้อที่บาดแผลก่อนพันด้วยผ้าพันแผล เพื่อลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อหลังผ่าตัด
ภาพโดย Julio César Velásquez Mejía จาก Pixabay
ทำไมแพทย์ต้องใส่ชุดสีขาว?
โจเซฟเห็นว่า ในอดีตหมอใส่เสื้อผ้าสีดำและแยกความแตกต่างของสิ่งสกปรกได้ยาก หากพวกเขาสวมชุดแพทย์สีขาว ก็จะสามารถพบเห็นสิ่งสกปรกได้อย่างรวดเร็วและป้องกันการติดเชื้อของเชื้อโรคได้ ต่อมา สีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มงวดทางวิทยาศาสตร์และความบริสุทธิ์
ทำไมหมอผ่าตัดใส่ชุดสีเขียว?
ก่อนเข้าห้องผ่าตัด แพทย์จะใส่ชุดผ่าตัดสีเขียว เพราะ ในขั้นตอนการทำการผ่าตัดคนไข้ หมอจะจ้องมองเน้นไปที่เลือดสีแดง ซึ่งจะทำให้เกิด 'อาการเมื่อยล้าทางสายตา' ได้ง่าย การผ่าตัดที่ซับซ้อน บางเคสใช้เวลาหลายชั่วโมง การเพ่งดูเป็นเวลานานจะทำให้ 'ความสามารถในการแยกแยะรายละเอียดสีแดงของดวงตาลดลง'
ภาพโดย Engin Akyurt จาก Pixabay
ในเวลานี้ หากมองไปทาง 'ชุดสีขาว' ก็จะเกิดภาพหลังสีฟ้าและเขียวขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า 'ความคงอยู่ของการมองเห็น หรือ ภาพติดตา (Persistence of vision)' ดังนั้น ในห้องผ่าตัด แพทย์จะสวมชุดสีเขียวอมฟ้า ชุดผ่าตัดสีเขียว นอกจากจะหลีกเลี่ยงอาการภาพติดตาแล้ว ยังช่วยเพิ่มความไวต่อ 'สีเลือด' และลดภาระต่อดวงตาได้อีกด้วย
ทำไมแผนกสูติกรรมพยาบาลจึงสวมชุดสีชมพู
แล้วทำไมแผนกสูติกรรมและห้องเด็กทารกของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ถึงมีพยาบาลสวมชุดสีชมพู? เพราะสีชมพูเป็นสี 'อ่อน' ที่สามารถทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน แผนกสูติกรรมต้องสะท้อนถึงความเป็นแม่ เพื่อให้แม่และผู้ดูแลอยู่ในสภาพแวดล้อมสีชมพูและอารมณ์ของแม่และครอบครัวก็จะผ่อนคลาย
ภาพโดย Sam Chen จาก Pixabay
นอกจากนี้ ผลของสีชมพูไม่เพียงแต่ส่งเสริมการฟื้นตัวทางร่างกายและจิตใจของเด็ก แต่ยังสามารถเบี่ยงเบนความสนใจของทารกและเด็ก บรรเทาความวิตกกังวลของเด็กในระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล และช่วยในการคงอารมณ์
สีฟ้าอ่อนเป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุขและบรรเทาความวิตกกังวลในผู้ป่วยสูงอายุ
บรรยากาศของโรงพยาบาลมีแนวโน้มทำให้ผู้ป่วยสูงอายุรู้สึกมองโลกในแง่ร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบแพทย์และพยาบาลสวมชุดสีขาวจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวมากขึ้น ดังนั้นในหอผู้ป่วยพิเศษที่มีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ พยาบาลจึงมักสวมชุดสีฟ้าอ่อน เพราะผู้ป่วยสูงอายุสามารถสัมผัสได้ถึงความสนิทสนม และความไว้วางใจ นอกจากการขจัดความวิตกกังวลแล้ว ยังให้พลังงานบวกแก่ผู้ป่วยได้มาก
อ่านบทความมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง หายสงสัยกันหรือยัง? ครั้งต่อไปที่คุณไปโรงพยาบาล นอกเหนือจากการสังเกตสีเสื้อผ้าของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์แล้ว อย่าลืมกล่าวขอบคุณ เพราะพวกเขากำลังทำงานหนักเพื่อคุณอยู่!
ที่มา
โฆษณา