24 ต.ค. 2021 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คุณเข้าใจ P/E Ratio แล้วรึยัง?
3
🤔เคยสงสัยกันไหม หุ้น ปตท. ราคา 41.25
หุ้น SCG ราคา 182 บาท หุ้น HPT ราคา 0.88 บาท
เราจะรู้ได้ยังไงว่าหุ้นตัวไหนถูก ตัวไหนแพง?
หุ้นราคาสูงกว่าถือว่าแพงกว่าไหม แล้วหุ้นราคาน้อยกว่าคือถูกหรือเปล่า แล้วเวลาหุ้นราคาขึ้นหรือลงมากๆ เรารู้ได้ยังไงว่าตอนนี้แพงหรือถูก เราจะรู้ได้ยังไงนะ???
.
.
.
คำตอบของเรื่องนี้จริงๆไม่ยากครับ เหมือนเวลาเราเปรียบเทียบบริษัทที่มีกำไรมากๆ กับกำไรน้อยๆ นั่นล่ะ บริษัทที่ยอดขาย 1,000 ล้าน มีกำไร 100 ล้าน กับ บริษัทที่ มียอดขาย 10,000 ล้าน แต่มีกำไร 500 ล้าน ถ้าดูคร่าวๆ บริษัทที่ 2 มีกำไรสุทธิมากกว่าน่าจะเป็นบริษัทที่ดีกว่าจริงไหม
5
คำตอบอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะพอเราลองหาอัตรากำไรสุทธิดูจะพบว่า บริษัทแรก NPM = 100/1000 *100 =10% ขณะที่บริษัทที่ 2 NPM = 500/10000 = 5% เท่านั้นแปลว่าบริษัทแรกสร้างกำไรจากยอดขายได้มากกว่าบริษัทที่ 2 ในแง่การสร้างกำไรจากยอดขาย
1
บริษัทแรกจึงชนะ (ตรงนี้ไม่เสมอไปว่าบริษัทที่มี NPM สูงกว่าจะเป็นบริษัทที่ดีกว่าเราอาจจะต้องพิจารณาด้วยว่า บริษัทมีการซื้อซ้ำจากลูกค้าบ่อยไหม ถ้าลูกค้ามาซื้อของบ่อยถึง NPM ไม่มากก็อาจจะมีกำไรมากได้
กลับกัน ถ้า NPM มากๆ แต่ลูกค้าซื้อปีละไม่กี่ครั้ง ก็อาจจะมีกำไรได้น้อยกว่า ซึ่ง 2 อย่างนี้เราจะใช้พิจารณาความสามารถในการทำกำไร ด้วยอัตราส่วนที่เรียกว่า ROE กันต่อไป แต่ตอนนี้ขออธิบายคร่าวๆไว้แค่นี้ก่อนเนอะ)
จริงๆแล้วสิ่งที่ย่อหน้าที่แล้วอยากจะบอกคือ ถ้าตัวเลขเดี่ยวๆ บอกอะไรเราไม่ได้ ก็ทำให้มันเป็น อัตราส่วน (Ratio) ซะสิ จะได้เทียบกันได้ ตัวอย่างง่ายๆที่เราคงเคยเจอกัน ก็อย่างเช่น การวัดว่าใครอ้วน ใครผอมกว่ากัน ด้วยค่า BMI (อัตราส่วนมวลกาย) ตามนี้ครับ
📍 BMI = ส่วนสูง / น้ำหนัก
สมมติผมหนัก 55 สูง 160 ผมจะมี BMI 21.48 ขณะที่เพื่อนอีกคน หนัก 65 แต่สูง 180 จะมี BMI 20.06 นั่นหมายความว่าวัดตามน้ำหนักแล้วเขาเหมือนอ้วนกว่าผม แต่ว่าจริงๆ เมื่อวัดตาม BMI แล้วเขาผอมกว่า
อันนี้ก็เหมือนกับกรณีของราคาหุ้นที่เราไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นที่ราคาสูงกว่าจะเป็นหุ้นที่ราคาแพงกว่าหรือไม่ เพราะเราต้องเทียบเป็นอัตราส่วนเหมือนกัน ซึ่งอัตราส่วนนี้คือ P/E Ratio นั่นเอง
⭐️P/E คือ อัตราส่วนที่คำนวณจากราคา หารด้วยกำไรต่อหุ้น (Earning per Share, EPS) ซึ่งอัตราส่วนนี้บอกอะไร อัตราส่วนนี้บอกว่าหุ้นตัวนี้ ถ้าเราซื้อเราจะคืนทุนภายในกี่ปี เช่น สมมติหุ้นราคา 10 บาท EPS 1 บาท แปลว่าเราจ่ายเงินซื้อหุ้นในวันนี้ 10 บาท หุ้นตัวนี้จะทำกำไรให้เราได้ปีละ 1 บาท ดังนั้นเราจะได้เงิน 10 บาทคืนเมื่อหุ้นทำกำไรครบ 10 ปี
ดังนั้นถ้าราคาของหุ้นเกิดเป็น 20 แปลว่า P/E ของหุ้นจะเป็น 20 กว่า เราจะได้เงินทุนคืนในเวลา 20 ปี เราก็อาจจะเปลี่ยนใจไม่ซื้อก็ได้ แต่จริงๆแล้ว เราก็ยังเห็นหุ้นที่มี P/E 10, 20, 30 อยู่
และคนก็ยังซื้อหุ้นพวกนี้อยู่ ทั้งที่ต้องใช้เวลาคืนทุนตั้ง 20-30 ปี
แล้วทำไมคนยังซื้อกันอยู่ล่ะ คำตอบคือ หุ้นพวกนี้มีปัจจัยที่ทำให้คนยอมจ่ายแพง นั่นคือ การเติบโตของกำไร (EPS growth) ยิ่งหุ้นมีอัตราการเติบโตที่สูงก็สามารถเทรดที่ P/E สูงได้นั่นเอง หุ้นที่มีกำไรเติบโต 10% คนอาจจะยอมซื้อที่ P/E ไม่เกิน 10 เท่า ส่วนหุ้นที่กำไรเติบโต 15% คนก็อาจจะยอมซื้อที่ P/E 15 เท่าก็ได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เราจะแสดงตัวอย่างง่ายๆ นะครับ
สมมติมีหุ้น 3 ตัว A, B และ C ทั้ง 3 ตัวมี P/E 10 เท่าเท่ากัน มีราคาที่ปีที่ 1 เท่ากันที่ 10 บาท
มี EPS เริ่มต้นที่ปีที 1 = 1 บาท เท่ากัน แต่มีการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ต่างกัน คือ A มี EPS Growth = 0% หรือไม่เติบโตเลย B 10% และ C 15% ต่อไปเราจะอธิบายว่าหุ้นแต่ละตัวจะคืนทุนภายในกี่ปีนะครับ
1
จากตารางที่ 1
👉 #หุ้นA เราลงทุนที่ 10 บาท แล้วหุ้นทำกำไร (EPS) ปีละ 1 บาท
เราได้รับ EPS สะสมไปครบ 10 ปี ก็จะได้เงิน 10 บาทคืน
👉 #หุ้นB เราลงทุนที่ 10 บาทเท่ากัน แต่ว่า EPS สะสม เท่ากับ 11.44 ในปีที่ 8 เท่ากับว่าเราลงทุนแค่ 8 ปีก็ได้ทุนคืนหมดแล้วเพราะว่า EPS ของหุ้น B เพิ่มขึ้น 10% ทุกปีนั่นเอง ลองดูในตารางที่ 1 ตรงแถวแรกของหุ้น B (ตรงช่องที่อยู่หลัง 10% นั่นล่ะครับ จะมีตัวเลข 1 , 1.1, 1.21, …., 2.36 คือ ตัวเลขพวกนี้บอกถึง EPS ในปีที่ 1 = 1 ปีที่ 2 = 1.1 คือเพิ่มจากปีที่ 1 มา 10% ส่วนปีที่ 3 ก็เพิ่มจากปีที่ 2 มา 10% คือ 1.1 + (1.1x10%) = 1.1 + (1.1x10/100) = 1.21 นั่นเอง อันนี้จะเห็นว่าหุ้น B คืนทุนเร็วกว่าเพราะว่า EPS เพิ่มทุกปี จน EPS สะสมก็สะสมจนคุ้มทุนเร็วกว่าด้วย EPS สะสมดูในช่องล่างลงมาอีกช่องนะครับ)
👉 #หุ้นC เรายิ่งได้ทุนคืนเร็ว เพียงปีที่ 7 เท่านั้น เพราะว่า EPS เติบโตปีละ 15 % นั่นเอง
** EPS สะสม คือ เอา EPS ปีนี้บวกกับปีก่อนหน้าไปเรื่อย ๆ เช่น EPS สะสม ปีที่ 2 เท่ากับ EPS ปีที่ 1 + EPS ปีที่ 2 ส่วน EPS ปีที่ 5 คือ EPS 1 + EPS 2 + EPS 3 + EPS 4 + EPS 5 ครับ EPS ที่บวกกันก็คล้ายๆกับว่าเราได้เงินกลับคืนมาจากการที่บริษัททำกำไรแต่ละปีมาแล้วรวมกันเท่าไหร่ครับ
ตารางที่ 2
จริงๆ คือบอกว่า ถ้าหุ้นราคา 10 บาทไปเรื่อยๆ แล้ว P/E แต่ละปีของหุ้น A, B, C จะเป็นเท่าไหร่จะเห็นว่าหุ้น A P/E เท่ากับ 10 ไปตลอดเพราะว่า EPS เท่าเดิม ต่างกับหุ้น B และ C ที่ P/E ลดลงเรื่อยๆ ยิ่งปีหลังๆ เพราะ EPS เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั่นเองครับ
ตารางที่ 3
บอกว่าถ้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้นล่ะ อันนี้เพิ่มแบบให้เพิ่มปีละ 1 บาท นะครับ ค่า P/E แต่ละปีของหุ้นแต่ละตัวเป็นยังไง
ของหุ้น A จะเห็นว่า P/E เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบอกว่าหุ้นแพงขึ้นๆ เพราะว่า EPS ไม่เพิ่มตามราคาที่มากขึ้นทำให้ถ้าเราซื้อปีหลังๆ ก็ยิ่งจะใช้เวลาคืนทุนมากขึ้นนั่นเอง (ซื้อปีที่ 1 ใช้เวลาคืนทุน 10 ปี ซื้อปีที่ 10 ใช้เวลาคืนทุน 19 ปีแน่ะ !!!) ขณะที่หุ้น B, C ก็มี P/E ลดลงเรื่อยๆ แปลว่าราคาถูกลงเรื่อยๆนั่นเอง เพราะว่า EPS เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคา
ตารางที่ 4
บอกว่าถ้าหุ้นแต่ละตัวราคาปรับขึ้นในอัตราเดียวกับ EPS growth ล่ะจะเป็นยังไง ผลคือ ถ้าราคาปรับขึ้นเท่ากับ EPS growth P/E จะเท่าเดิมครับ แปลว่าราคาที่มากขึ้นไม่ได้ทำให้ราคาหุ้นแพงขึ้นเลย คือซื้อปีไหนก็จะยังคืนทุนที่ 10 ปีเท่าเดิม ดังนั้นถ้าราคาไม่ได้ปรับขึ้นมากกว่ากำไร ก็แปลว่าหุ้นยังไม่แพงเกินไปครับ
สรุปก็คือ P/E เป็นตัวบอกความถูกแพงของหุ้น ยิ่ง P/E มีค่ามากแปลว่าหุ้นแพง ส่วน P/E น้อยแปลว่าหุ้นถูก และหุ้นแต่ละตัวอาจจะมี P/E ต่างกันได้ ขึ้นกับการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ยิ่งมี EPS Growth มากก็จะทำให้มี P/E สูงกว่าได้ด้วย และยิ่งบริษัทที่ EPS Growth ต่อเนื่องยาวนานได้ในอนาคตก็จะยิ่งมี P/E สูงได้อีกด้วย
1
เอาล่ะจบแล้วสำหรับ P/E คิดว่าคงไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ จริงๆ แล้ว P/E เป็นอัตราส่วนหนึ่งที่นิยมใช้ในการประเมินความถูกแพงของหุ้นเท่านั้น ยังมีอัตราส่วนอื่นๆ เช่น PBV และ EV/EBIDA ที่เป็นอัตราส่วนที่คล้ายๆ P/E ไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังแน่นอนครับ
.
.
.
🔥#แถมท้ายอีกนิด การที่หุ้นมี EPS Growth สูง แล้วทำให้เทรดที่ P/E สูงได้มี 2 เหตุผล
1. #เหตุผลเชิงจิตวิทยา คือ ยิ่งหุ้นตัวไหนเติบโตมากๆ จะยิ่งมีคนเห็นว่าหุ้นดีมากๆ จึงยินดีจ่ายเงินเพื่อซื้อในราคาแพง อะไรที่คนมองดีมากก็จะแพงได้มาก แต่ว่าเมื่อคนยินดีจ่ายแพงเพื่อซื้อแล้ว ก็ทำให้ตอนที่ P/E แพงมากๆ เป็นช่วงที่เราไม่ควรเข้าไปซื้อตาม แต่ควรซื้อตั้งแต่ P/E ยังไม่แพงเกินไปดีกว่า
2. #เหตุผลเชิงปัจจัยพื้นฐาน ขอยกสูตรการคำนวณของ P/E มาให้ดูกันนะครับ
📍P/E = Payout Ratio/ (K-g)
>> Payout Ratio คือ อัตราการจ่ายปันผลต่อกำไร เช่น กำไร 100 จ่ายปันผล 20%
จะมี Payout Ratio 20 ครับ
>> K คือ ต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น หรือ Cost of Equity คือ เราต้องการผลตอบแทนจากการซื้อหุ้นตัวนี้เท่าไหร่ หรือบริษัทนี้มีความเสี่ยงในส่วนของผู้ถือหุ้นเท่าไหร่
>> g คือ การเติบโตของ EPS
ในส่วนนี้ถ้ายังไม่เข้าใจสูตรก็ไม่เป็นไรครับ แต่ขอสรุปว่าหุ้นที่มีต้นทุนเงินลงทุนน้อยและมีการเติบโตมากก็จะมี P/E แพงได้มากครับ
ชอบ "กดถูกใจ ❤️" ใช่ "กดแชร์ 👆"
แล้วพบกับบทความดี ๆ จาก SkillLane อีกมากมาย
กดติดตามไว้ได้เลย!
พบกับคอร์สออนไลน์การเงินการลงทุน โดยกูรูระดับประเทศที่ SkillLane
🔥 คลิกเลย https://skl.website/3vAiVG8
โฆษณา