24 ต.ค. 2021 เวลา 01:23 • ธุรกิจ
คนมี..อวดแค่พอดี เพื่อสร้างคอนเนคชั่น, ความน่าเชื่อถือ
คนไม่มี..อวดทุกอย่าง เพื่อสร้างภาพ
.
พฤติกรรมของคนชอบอวด ผลวิจัยบอกว่า เมื่อไรก็ตามที่ "รู้สึกมั่งคง" เราจะไม่แสดงฐานะตนเอง ถ้าเมื่อไรที่บางกลุ่มนั้นรู้สึกขาด มักชอบอวดฐานะ และบางครั้งมันก็ดูเกินจริงไปมาก
.
สังเกตหรือไม่คนที่รวยจริงหรือมีสถานะและหน้าตาทางสังคมดี มักจะไม่มีใครมานั่งอวดทรัพย์สินที่มี หรืออวดวิธีการใช้ชีวิตเลย
.
เพราะเขารู้ตัวเองดีว่าตัวเองนั้นมีอะไร เมื่อมันชัดเจนคนอื่นเขาจะรู้จะเห็นจากตัวตนที่มีอยู่เองโดยไม่ต้องเอ่ยปากพูดใด ๆ ทั้งสิ้น
.
แต่ผู้คนมักจะมีทัศนะในเชิงลบกับคนที่มีพฤติกรรมชอบอวดมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทอง สถานะทางสังคม หรือวิถีชีวิต ซึ่งแท้จริงแล้ว นิสัยการอวดเป็นหนึ่งในพฤติกรรมตามสัญชาตญาณของสัตว์สังคมเพียงเท่านั้น
.
ทำไมบางคนถึงมีพฤติกรรมชอบอวดกัน?
.
เพราะคนเรามักจะมีความสุขเวลาได้แสดงให้คนอื่นเห็นถึงสถานะที่ดีผ่านสิ่งของที่มีมูลค่ายังไงล่ะ
.
มันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่อยู่ในเงามืด หากอยากที่จะได้รับสปอตไลต์ส่องมาที่ตัวเอง การอวดให้โลกรู้ว่าเรามีดีอย่างไร จะเป็นเครื่องมือยืนยันตัวตนให้กับสถานะทางสังคมที่เรายืนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสังคมเพื่อนฝูง สังคมการเรียน และสังคมการทำงาน
.
แต่งานวิจัยของ Paul Rozin นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียชี้ให้เห็นว่า คนที่ชอบอวดสิ่งไหนมาก ๆ เป็นเพราะว่าเขามีความรู้สึกไม่มั่นคง จึงต้องตอกย้ำสิ่งที่มีอยู่ให้มาก ให้คนอื่นได้เห็นและรับรู้ เพราะกลัวว่าวันหนึ่งมันจะไม่ถูกจดจำอีกต่อไป
.
ตัวอย่างเช่น คนที่มีตำแหน่ง มักจะย้ำสถานะของตัวเองให้คนอื่นรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ ศาสตราจารย์ หรือผู้จัดการ เป็นเพราะการพูดถึงในสิ่งที่เป็นอยู่ อาจจะสร้างกำไรจากสถานะให้ตัวเขาเองได้มากกว่าการที่ไม่พูดถึงเลย
.
ตรงกันข้ามกับคนที่มีความรู้สึกมั่นคง คนเหล่านี้มักจะไม่ค่อยพูดให้คนอื่นฟังถึงสิ่งที่มีสักเท่าไร เพราะเขารู้ตัวดีว่าสิ่งที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเรื่องการเงิน การศึกษา หรือความรู้ มันเป็นสิ่งที่คนอื่นเขารับรู้และเห็นในวงกว้างอย่างชัดเจน จนไม่ต้องพูดถึงอีกแล้ว
.
เรื่องการอวดยังเชื่อมโยงไปถึงการประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่ตั้งไว้อีกด้วย
.
ซึ่งจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเป้าหมายอยู่ 2 แบบ คือ
1. ถ้าบอกเป้าหมายของเรากับคนรอบตัว จะช่วยให้ยึดมั่นทำตามเป้าหมายได้มากขึ้น
2. ถ้าบอกเป้าหมายของเรากับคนรอบตัว จิตของเราจะรู้สึกว่าได้ทำสิ่งนั้นลงไปแล้ว และมีแรงบันดาลใจทำตามเป้าหมายได้น้อยลง
.
นักวิจัยหลายท่านได้ทำการศึกษาและเวรา มาห์เลอร์ นักจิตวิทยาชาวเยอรมันค้นพบว่า เป็นความจริงดังความเชื่อข้อที่ 2 เมื่อคนอื่นรับรู้ถึงเป้าหมายของเรา สมองจะรู้สึกว่าเป้าหมายนั้นเป็นจริงไปแล้ว
.
นั่นเป็นเพราะเมื่อตั้งเป้าหมายไว้ บางคนจะมีความไม่มั่นใจว่าจะทำได้สำเร็จ จนต้องพูดถึงให้คนอื่นได้รับรู้อยู่เสมอ และจะรู้สึกว่าได้ทำไปแล้วบางส่วน ทั้งที่จริงมันเป็นเพียงแค่ความคิดของสมองที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายเลยด้วยซ้ำ
.
ความพอดีของการอวดมีทางสายกลางอยู่ตรงไหนอาจเป็นเรื่องปัจเจก เพราะทัศนะการมองถึงเรื่องการอวดของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน หากคนที่อวดแล้วกระตุ้นให้เกิดศักยภาพบางอย่างได้ก็เป็นเรื่องดี
.
ฉะนั้น ลองสังเกตคนรอบ ๆ ตัวว่าส่วนมากแล้ว ทั้งคนที่อวดและไม่อวดถึงสถานะของตัวเอง พวกเขาเหล่านั้นมีสถานะที่แท้จริงของตัวเองเป็นอย่างไร รวมทั้งตัวคุณเองด้วย
แล้วคุณละคิดยังไงกับเรื่องนี้บ้าง?
อ้างอิง เพจ ไปให้ถึง100ล้าน
โฆษณา