Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Medical Leaders Thailand - MLT
•
ติดตาม
25 ต.ค. 2021 เวลา 12:00 • สุขภาพ
methylphenidate ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางซึ่งเป็นยารักษาโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder; ADHD) คาดว่าจะช่วยให้อาการ apathy (เซื่องซึม เฉยเมย) ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease; AD) ดีขึ้น โดยจะไปเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท เช่น norepinephrine และ dopamine ดังนั้น Jacobo Mintzer จาก Ralph H. Johnson VA Medical Center / Medical University of South Carolina และคณะจากสหรัฐอเมริกาได้ศึกษา ADMET 2 ซึ่งเป็นการศึกษา phase III, multicenter, placebo-controlled, randomized controlled trial (RCT) เพื่อประเมินผลของ methylphenidate ต่ออาการ apathy ในผู้ป่วย AD จากนั้นเผยแพร่ผลลัพธ์ดังกล่าวในวารสาร JAMA Neurology (ฉบับออนไลน์, 27 กันยายน ค.ศ. 2021) พบว่ามี NPI apathy score ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก
ติดตามผู้ป่วย AD ที่มีอาการ apathy จำนวน 200 คนใน 6 เดือน
อาการ apathy เป็นหนึ่งในอาการทางจิตประสาทที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วย AD อาการนี้ทำให้ผู้ดูแลมีภาระเพิ่มขึ้น ค่ารักษาพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่มี 2 การศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า methylphenidate ช่วยให้อาการ apathy ในผู้ป่วย AD ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาทั้งสองยังมีขนาดเล็กและระยะเวลาติดตามสั้น (6 และ 12 สัปดาห์)
|------------------------------------------|
📌เกาะติดข่าวสาร และข้อมูล เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด!
https://bit.ly/3AdzTeY
📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽🎓 CPE/CME/CMTE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|------------------------------------------|
ดังนั้น Mintzer และคณะจึงศึกษา ADMET 2 ในผู้ป่วย AD จำนวน 200 คน (อายุมัธยฐาน 76 ปี เป็นเพศชาย 66%) ที่มี cognitive impairment ระดับน้อยถึงปานกลางและถูกประเมินว่ามีอาการ apathy บ่อยหรือรุนแรงเมื่อประเมินด้วย Neuropsychiatric Inventory (NPI) โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่ม methylphenidate (99 คน) และกลุ่มยาหลอก (101 คน) จากนั้นติดตามผลเป็นเวลา 6 เดือน
primary outcome ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของ NPI apathy subscale score จาก baseline ถึงเดือนที่ 6 ซึ่งเป็นการวัดความรุนแรงของอาการ apathy และภาระของผู้ดูแล และการปรับปรุงคะแนน Alzheimer's Disease Cooperative Study Clinical Global Impression of Change (ADCS-CGIC) ส่วน outcome อื่น ๆ ได้แก่ ความปลอดภัย การเปลี่ยนแปลงของ cognitive function และ quality of life
อาการ apathy ดีขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก และผลลัพธ์คงอยู่ 6 เดือน
จากการวิเคราะห์พบว่าอัตราการลดลงจาก baseline ของ NPI apathy score ที่ 6 เดือนในกลุ่ม methylphenidate (-4.5) มากกว่าในกลุ่มยาหลอก (-3.1) อย่างมีนัยสำคัญ (ผลต่างค่าเฉลี่ย -1.25, 95%CI -2.03 ถึง -0.47, P = 0.002)
NPI apathy score ลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุดในช่วง 100 วันแรกหลังจากเริ่มรักษา และสัดส่วนของผู้ป่วยในกลุ่ม methylphenidate ที่ไม่มีอาการ apathy สูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (adjusted hazard ratio 2.16, 95%CI 1.19 - 3.91, P = 0.01) odds ratio สำหรับการปรับปรุง ADCS-CGIC ของกลุ่ม methylphenidate ต่อกลุ่มยาหลอกที่ 6 เดือนเท่ากับ 1.90 (95%CI 0.95 - 3.84, P = 0.07) ดังนั้นผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า methylphenidate ช่วยให้ apathy ดีขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก และมีผลต่อเนื่องถึง 6 เดือน ในทางกลับกัน cognitive function และ quality of life ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในการประเมินความปลอดภัย ระหว่างการศึกษาพบว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงในกลุ่มยาหลอก 10 รายการและกลุ่ม methylphenidate 17 รายการ แต่ไม่มีเหตุการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับ methylphenidate นอกจากนี้ ข้อมูลด้านความปลอดภัยของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
จากผลลัพธ์ข้างต้น Mintzer และคณะสรุปว่า “methylphenidate ส่งผลให้อาการ apathy ในผู้ป่วย AD ลดลง จะเห็นได้ในเดือนที่ 2 หลังเริ่มรักษา และคงอยู่นานกว่า 6 เดือน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบเป็นอาการไม่รุนแรงและสอดคล้องกับอาการที่คาดคะเนไว้ของ methylphenidate” และกล่าวเพิ่มเติมว่า “methylphenidate อาจช่วยให้อาการ apathy ดีขึ้นได้โดยไปเพิ่มการทำงานของ norepinephrine และ dopamine ใน prefrontal cortex แสดงให้เห็นว่าช่วยให้อาการ apathy ของผู้ป่วย AD ดีขึ้น และช่วยลดภาระของผู้ดูแลได้”
ที่มา:
https://medical-tribune.co.jp/news/2021/1008539145/
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >>
https://bit.ly/3AdzTeY
<<📲
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย