26 ต.ค. 2021 เวลา 02:08 • สุขภาพ
สูตรไขว้เข็ม 3 กระตุ้นภูมิสู้ Delta
เราจะ boost เข็ม 3 ดีไหมนะ และถ้าจะ boost จะเป็นตัวไหนดี
Update สถานการณ์ covid รอบโลกกันดีกว่า
จากที่เคยโพสต์เมื่อตอนต้นเดือนมิถุนายนว่า โลกกำลังเข้าสู่ Wave ที่ 5
ผ่านไปได้ 4 เดือนตามวัฏจักรของตัวโรค
โลกเรากำลังผ่านพ้น covid Wave ที่ 5
จะเห็นได้ว่ายอดพีคของ Wave ที่ 5 ต่ำกว่าWave ที่ 4
แสดงว่า ถ้าไม่มีอะไรเกินคาดหมายเช่น มีสายพันธุ์ใหม่ที่เก่งกว่า delta
ก็น่าจะมีwave 6 7 ต่อ แต่ยอดpeak จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่
น่าจะมีปริมาณต่ำลงเรื่อยๆ
และโควิด น่าจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด
หลังจากที่ทุกคนได้รับวัคซีนแล้ว
1
จะเห็นได้ว่าการระบาดระลอกที่ 5
ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักๆ จะเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนได้น้อย
รอบที่ 6 ก็น่าจะเกิดในประเทศที่ยังฉีดได้น้อยเหมือนเดิม
โดยเฉพาะทวีปแอฟริกาและประเทศที่ยากจนอื่นๆ ที่ยังเข้าไม่ถึงวัคซีน
เนื่องจากโครงการcovax ยังประสบปัญหาในการจัดส่งวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย
ในทางกลับกันในประเทศที่ฉีดวัคซีนได้เยอะแล้ว
อย่างเช่นทวีปอเมริกาหรือยุโรป
แม้จะมีการระบาดระลอกใหม่ มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น
แต่ก็พบว่ายอดจำนวนผู้เสียชีวิตลดต่ำลงมาก
สอดคล้องกับ รายงานการวิจัย ผลการใช้งานVaccine จริง
Phase 4 ที่สกอตแลนด์ที่ตีพิมพ์ใน วารสารทางการแพทย์ระดับโลก
อย่าง New England Journal of Medicine
ที่ ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจาก covid สายพันธุ์ delta
ในผู้ป่วยแต่ละช่วงอายุ เทียบกับไม่ฉีดวัคซีน
โดยเก็บข้อมูล ในประชากรสกอตแลนด์ 1.56 ล้านคน
ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษา ถึง 16 สค. ติดตามจนถึง 27 กย.64
เชื้อ ก่อโรค 98.8% เป็น delta variant
พบว่า
ประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจาก AZ หรือPZ
ในหนุ่มสาว อายุ 20-40 ปี ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว มากกว่า 2 สัปดาห์
ไม่แตกต่างกัน คือไม่มีใครเสียชีวิตเลยในช่วง 6 เดือนที่ follow up เลย
แต่พอขยับขึ้น 40-60 ปี AZ ดูจะประสิทธิภาพด้อยกว่า PZ
และถ้ามากกว่า 60 ปี ทั้ง AZและ PZ ต่างก็มีประสิทธิภาพที่ลดลงพอๆกัน (เหลือ 90 % นิดๆทั้งคู่)
และมีอัตราเสียชีวิต ที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน ทั้ง AZ PZ
1
โดย ถ้าเทียบกับ กลุ่ม 40-60 ปี VS 60 ปี ขึ้นไป
กลุ่มคน อายุ 60 ปี ขึ้นไปที่ได้ AZ ครบ 2 เข็ม จะมีโอกาสตายสูงขึ้น 8 เท่า เทียบกับคนอายุ 40-60ปี ที่ได้ AZ ครบ 2 เข็มเหมือนกัน
ส่วนคนที่ได้ PZ จะมีโอกาสตายแม้จะฉีดครบ 2 เข็ม สูงขึ้น 21 เท่า เมื่อเทียบกับคนฉีดครบอายุ 40-60ปี
ดังนั้น กลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีความเสี่ยงในการป่วยหนัก
หรือ เสียชีวิตจาก COVID
ก็คือ ผู้สูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัว เป็นส่วนใหญ่
ส่งผลให้เป้าหมายในประชากรกลุ่มนี้ คือ
" ต้องป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ "
เพราะถ้าติดเแล้วก็ยังมีโอกาสเกิดความสูญเสีย
ซึ่งประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลงเรื่อย
ตามระดับของภูมิคุ้มกันที่ตกลง
ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์บางประเทศ
ที่เปิดประเทศ รับความเสี่ยงเยอะไป การ์ดตกมากไป
ร่วมกับ ฉีด Vaccine ไปนานจนภูมิเริ่มตก
อย่างเช่น UK ที่เจอ Delta plus ถล่ม จน ยอดรายวัน ทะลุ 5 หมื่นแล้ว
และ Singapore ที่มั่นใจ m-RNA Vaccine มากไป
ประกาศอยู่ร่วมกับ Covid จน ยอดติดใหม่ วันละ 4 พัน
(เท่ากับไทยติดวันละ 5 หมื่น เพราะปชช.น้อยกว่าไทย 12 เท่า )
และยอดตายรายวัน พุ่งสูงสุดตลอดกาล 18 คน
(เทียบกับไทยตายเกือบ 200 คน)
เยอะกว่าตอนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเสียอีก
จนยอดผู้เสียชีวิตต่อ ปชช. แซงไทยไปแล้ว
ทั้งที่ 2 ประเทศนี้ ฉีดวัคซีนได้เยอะกว่าไทย
ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว สูงถึง 65-75% ของ ปชช.
โดยคนที่ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่เสียชีวิต
ล้วนแต่ เป็น ผู้สูงอายุหรืคนที่มีโรคประจำตัว
ดังนั้น การฉีดกระตุ้นภูมิเข็มที่ 3 ให้แก่กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ดังจะเห็นได้จาก การเริ่มฉีดเข็ม3 ให้แก่ประชาชนในทวีปยุโรปและอเมริกาที่เริ่มฉีดให้แก่ประชากรกลุ่มนี้ก่อน
แล้วเราจะฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็นอะไรดี
ฉีด เป็น Vaccine ตัวเดิมที่ได้ใน 2 เข็มแรก ดีไหม
หรือจะไขว้ไปฉีดตัวใหม่ เป็นคำถามที่ค้างคาใจและยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
ซึ่งงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการฉีดกระตุ้นเข็ม 3
ก็คือ COV-Boost study ใน UK
กำลังเก็บข้อมูลและยังไม่ตีพิม์ผลการศึกษา
แต่เร็วๆนี้ มีงานวิจัยจาก US ตีพิมพ์ผลการศึกษาเบื้องต้น เกี่ยวกับการฉีดกระตุ้นภูมิ
ระหว่าง Vaccine ตัวเดิม กับฉีดตัวใหม่ หรือก็คือฉีดไขว้ สูตรไหนจะดีกว่ากัน
" Heterologous SARS-CoV-2 Booster Vaccinations – Preliminary Report "
โดยทำคล้ายๆกับทาง ศิริราชของ อ.กุลกัญญา
คือรวบรวมอาสาสมัครใน US อายุ 18-55 ปี
ที่เคยได้รับวัคซีนที่ US FDA approved
คือ JJ Pfizer และ Moderna ครบ dose
มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ และไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
รวบรวม มาได้จำนวน 458 คน
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มาฉีดเข็ม 3 โดยใช้ Vaccine 3ชนิด เป็น booster
คือ JJ Pfizer และ Moderna
โดยใช้ full dose ทั้งหมด ซึ่งแตกต่างที่ US FDA Approved เล็กน้อย
เพราะ moderna booster ที่ US FDA Approved
จะใช้แค่ 50ug ในคนที่ได้รับ moderna ครบ 2 dose แล้ว
แต่ใน trial นี้ ใช้ Moderna 100 ug เป็น booster
แล้วเปรียบเทียบ ผลข้างเคียง และประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิ
ระหว่าง 9 กลุ่มทดลอง
โดยตรวจหาทั้ง Anti-RBD และ Neutralizing Ab ต่อ Delta ที่ D1, D15, D29
ผลการศึกษา
อาสาสมัคร อายุ เฉลี่ย 50 กว่าปีพอๆกัน ทุก arm
แต่ควบคุมตัวแปรไม่ดีเพราะ เพศ ญ และชายไม่เท่ากัน ในแต่ละ arm
และ Booster interval ค่อนข้าง vary มีตั้งแต่
ใน arm boost Moderna Mean interval แค่ 13 wks
แต่ booster Pfizer mean ถึง 20 สัปดาห์
ซึ่งอาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพการกระตุ้นภูมิ
เพราะ ญ ภูมิจะขึ้นสูงกว่าชาย
และ ยิ่งเว้นระยะในแต่ละเข็ม มักจะทำให้ ก
ระตุ้นทำให้ภูมิขึ้นได้เยอะกว่าจากข้อมูลใน cananda
1
ผลการศึกษา
คนที่ ได้ JJ หลังฉีด Boost ด้วย
JJ ภูมิเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า
Pfizer ภูมิเพิ่มขึ้น 34 เท่า
Moderna ภูมิเพิ่มขึ้น 56 เท่า
คนที่ ได้ Moderna หลังฉีด Boost ด้วย
JJ ภูมิเพิ่มขึ้น 4.7 เท่า
Pfizer ภูมิเพิ่มขึ้น 9.7 เท่า
Moderna ภูมิเพิ่มขึ้น 7.9 เท่า และได้ระดับสูงสุด ทั้ง Anti-RBD และ Neutralizing Ab ต่อ Delta
คนที่ ได้ Pfizer หลังฉีด Boost ด้วย
JJ ภูมิเพิ่มขึ้น 6 เท่า
Pfizer ภูมิเพิ่มขึ้น 15 เท่า
Moderna ภูมิเพิ่มขึ้น 17.2 เท่า
ส่วนผลข้างเคียง ก็ ออกมาคล้ายคลึงกับการฉีด 2เข็มแรก
คือ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว ปวดจุดที่ฉีด มากกว่าครึ่งนึงของ อาสาสมัคร
สรุปจากงานวิจัยฉบับนี้ + งานวิจัยทางศิริราช
Booster shot ที่ดีที่สุด
น่าจะเป็นสูตรไขว้ มากกว่า สูตรตรง เพราะกระตุ้นภูมิได้สูงกว่า
และควรฉีดไขว้ขึ้น หมายความว่า
เริ่มเข็มแรกจาก vaccine ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า
หรือ เลือกฉีดเข็ม1และ2 เป็น Vaccineประสิทธิภาพสูง
แล้วไขว้ เข็ม 2 หรือ 3 ไปหา vaccine ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
Inactivated virus --> Viral Vector --> m-RNA
(Pfizer -->Moderna เพราะ Moderna dose สูงกว่า pfizer ถึง 3.33 เท่า)
1
จะมีผลตอบสนองที่ดีกว่าทั้งระดับ Anti-RBD และ Neutralizing Ab
และล่าสุด ก็มีผลวิจัย Phase 3 ผลของ Pfizer *3 เข็มก็ดูออกมาดีมาก
คือป้องกันได้สูงถึง 95.6 % เมื่อเทียบกับไม่ฉีด
1
ซึ่งถ้าตามตารางงานวิจัยในตอนแรก PFizer *3 เข็ม
มี ระดับ Neutralizing Ab น้อยกว่า
ทุกสูตรที่ใช้ Moderna เป็น Booster shot เสียอีก
จากข้อมูลข้างต้น สรุปข้อมูลเกี่ยวกับ การฉีด Boost เข็ม 3 ได้ว่า
- ถ้าท่านยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลยสักตัว : ควรจะรีบฉีดวัคซีนชนิดไหนก็ได้
จะเป็นสูตรไขว้หรือสุดตรงก็ได้ ที่ได้เร็วสุด เพราะวัคซีนทุกตัวดีกว่าไม่ฉีดแน่นอน
- ถ้าท่านได้ วัคซีน 2 เข็มแรกได้เป็นวัคซีนเชื้อตาย
ทั้ง Sinovac + Sinopharm มีประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าไหร่
ต่อการป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิต โดยดูได้จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยและมาเลเซีย
ที่ Sinovac ป้องกัน ป่วยหนัก และเสียชีวิตได้น้อยกว่า AZ+PZ อย่างชัดเจน
ดังนั้น ถ้าท่านได้วัคซีนสูตรนี้ เกิน 3 เดือน ควรที่ได้ booster shot โดยด่วน
จะเป็น az หรือ m-rna ก็ได้
- ถ้าท่านได้เป็นวัคซีนประสิทธิภาพสูงอย่างเช่น AZ หรือ PZ ครบทั้ง 2 dose
ถ้าท่าน อายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีโรคประจำตัวและ ได้ครบมาไม่เกิน 6 เดือน
: จากข้อมูล ใน scotland ท่านไม่มีความจำเป็นต้องไดรับ Booster shot
ในทางกลับกัน ถ้าอายุเยอะหรือมีโรคประจำตัว หรือ เป็นบุคลากรทางการแพทย์
ท่านควรได้รับ Booster shot
โดย m-RNA น่าจะเป็น Vaccine ที่น่าจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด
ถ้าท่านได้ AZ *2 dose อาจจะ boost เป็น
Moderna full dose 100 ug เพราะมีข้อมูลจากงานวิจัยข้างต้น
แต่ถ้า PZ*2 dose อาจจะเป็น 50 ug หรือ 100 ug ก็น่าจะได้ทั้งคู่
- ถ้าท่านได้สูตรไขว้ แบบไทยประดิษฐ์
ยังไม่มีข้อมูล Booster shot ที่ดีที่สุด
คงต้องรอข้อมูลของทางกระทรวงสาธา จุฬา ศิริราช
ที่น่าจะมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง
และสุดท้าย
เนื่องจากเริ่มมีรายงานว่า พบผู้ป่วยสายพันธุ์ Delta plus ที่ถล่ม Uk เข้าไทยแล้ว
แม้ว่าจะมีแค่เคส 1 เคส แต่คงต้องเฝ้าระวังกันต่อไป
เพราะเรากำลังจะเปิดประเทศ รับ นทท.
เปิดโรงเรียน เปิดร้านเหล้า เปิดให้ท่องเที่ยว
จึงทำให้อาจจะมีโอกาสที่เกิดการระบาดอีกระลอกหนึ่งในไทย
ดังนั้น การให้ความสำคัญ แก่ Vaccine เข็ม1 และ2 ของกลุ่มเสี่ยง
จึงจำเป็นกว่า Vaccine เข็ม 3 ของกลุ่มเสี่ยงน้อย
ปล. ขอให้ MDN เข้าไทยเสียที เพราะ MDN ย่อจาก Moderna
ไม่ใช่มาเดือนหน้านะ
โฆษณา