1 พ.ย. 2021 เวลา 05:10 • ประวัติศาสตร์
10 มหาจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
จักรวรรดิคืออะไร
จักรวรรดิ อ่านว่า จัก กะ หวัด ไม่ใช่ จัก กะ วัด ระวังอ่านผิดนะ
คามหมายของจักรวรรดิก็คือ อาณาจักรหลายๆแห่งที่อยู่ใต้การปกครองของประมุขเพียงองค์เดียว พูดง่ายๆก็คือ การไปยึดประเทศเขามาเป็นของเรานี่แหละ แล้วก็ไม่ใช่แค่ยึดเฉยๆ ยึดแล้ว ทำลายทุกอย่างที่เป็นวัฒนธรรมหรืออะไรหลายๆอย่างที่เป็นของเขา แล้วก็บังคับให้เขาต้องทำตามเรา ตัวอย่างเช่น สเปน เวลาไปทวีปอเมริกาแล้วเจออารยธรรมแอซเท็กแถวๆเม็กซิโก ก็เข้าไปบุกยึดดินแดนของเขา แล้วก็บังคับให้เปลี่ยนศาสนาบ้าง ให้เปลี่ยนสัญชาติบ้าง ใครไม่ยอมก็ต้องตาย ซึ่งโหดร้ายอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศที่ไปบุกด้วย
พระมหากษัตริย์ กับ พระจักรพรรดิ ต่างกันยังไง
แน่นอนว่าหลายคนคงสงสัยว่า ทำไมญี่ปุ่นเรียกว่าจักรพรรดิ ไทยเรียกว่ากษัตริย์ ก็ต้องขออธิบายเลยว่า
- พระมหากษัตริย์ คือผู้ปกครองหรือประมุขของอาณาจักร แคว้น หรือรัฐๆหนึ่ง ไม่ได้ไปยึดประเทศไหนมา ปกครองแค่ในประเทศตัวเอง
- พระจักรพรรดิ คือผู้ปกครองจักรวรรดิ ซึ่งปกครองดินแดนที่เป็นทั้งอาณาจักรหรือแคว้นดั้งเดิมและอาณาจักรดินแดนอื่นๆที่ไปบุกยึดมา
พอเข้าใจกันหรือยัง ถ้าเข้าใจแล้วก็อ่านหัวข้อต่อไปได้
จักรวรรดินิยม กับ จักรพรรดิราช คำที่แตกต่างและมักเข้าใจผิด
ทั้งสองคำนี้มีความเหมือนและต่าง เหมือนกันที่เป็นการแผ่อิทธิพลไปสู่ดินแดนอื่นที่อ่อนแอกว่า แต่ต่างกันที่ลักษณะการปกครอง
จักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมที่ประเทศมหาอำนาจใช้วิธีทำสงครามยึดครองดินแดนกับอาณาจักรหรือรัฐอื่นๆที่ไม่ใช่ของตนเอง เมื่อชนะแล้วก็เข้าไปปกครองอย่างเต็มรูปแบบ มีการทำลายล้างวัฒนธรรมดั้งเดิม เปลี่ยนศาสนาเปลี่ยนระบอบการปกครอง และอีกหลายอย่าง พูดง่ายๆคือ บุกยึดแล้ว ทุกสิ่งต้องเป็นของเราทั้งหมด คำนี้เริ่มปรากฏเมื่อ ชาติตะวันตกออกล่าอาณานิคมในช่วงศษตวรรษที่ 19 เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา เป็นต้น ตัวอย่างเหตุการณ์เช่น ตอนที่ชาวยุโรปบุกอเมริกา หลังชนะศึก ก็กวาดล้างชาวอินเดียนแดง และบังคับให้เปลี่ยนศาสนา ผู้ปกครองต้องเป็นชาวยุโรป เป็นต้น
จักรพรรดิราช คือ การแผ่อิทธิพลของกษัตริย์อาณาจักรหนึ่งที่แข็งแกร่งกว่าเข้าไปสู่อาณาจักรที่อ่อนแอกว่า ส่วนมากใช้วิธีการทำสงคราม ถ้าชนะ อาณาจักรที่แพ้ก็ต้องเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรที่แข็งแกร่งกว่า ซึ่งคำว่า ประเทศราช ไม่เหมือนกับ เมืองขึ้นหรืออาณานิคมนะ เมืองประเทศราชไม่ได้ถูกทำลายล้างวัฒนธรรมเหมือนอาณานิคม แต่ยังเหมือนเดิม สามารถปกครองบริหารตัวเองได้ เป็นเขตปกครองตนเอง มีหน้าที่สำคัญเพียงแค่ 2 อย่าง ก็คือ ส่งบรรณาการเมื่อครบกำหนด กับ ส่งทหารมาช่วยรบ อย่างอื่นจะทำอะไรก็ได้ อาณาจักรที่แข็งแกร่งกว่าไม่ทำอะไรทั้งสิ้น นอกจากคุณไม่ส่งบรรณาการ ก็จะถือว่าแข็งเมือง ต้องรบอีกครั้ง
คำว่าจักรพรรดิราชปรากฏขึ้นในยุคโบราณ เช่น สมัยที่พม่าแข็งแกร่งมาก ในยุคบุเรงนอง ก็ทำสงครามขยายดินแดนจนชนะอยุธยา ทำให้อยุธยาตกเป็นเมืองประเทศราชของพม่าอยู่ 15 ปี ต้องส่งบรรณาการและส่งทหารมาช่วยรบตลอด จะเห็นได้ว่า อยุธยายังคงมีวัฒนธรรมแบบเดิม มีกษัตริย์ที่เป็นคนไทย ไม่ใช่คนพม่า ศาสนาก็ยังเป็นพุทธอยู่เหมือนเดิม
พอจะเห็นความแตกต่างหรือยัง อาจจะอธิบายยาวหน่อยนะ แต่ก็คงไม่ยากเกินความเข้าใจ
เกริ่นนำมาเยอะแล้ว ไปเข้าเนื้อหากันเลย
อันดับ 10 จักรวรรดิโปรตุเกส
อาณาเขตของจักรวรรดิโปรตุเกส
พื้นที่ 10.4 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 6.98 %
จำนวนประชากร ไม่ปรากฏ
เปอร์เซนต์ประชากรโลก ไม่ปรากฏ
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1415 - 1999 (584 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ บราซิล แองโกลา บางส่วนของอินโดนีเซีย มาเก๊า
จุดเริ่มต้น
แต่เดิมโปรตุเกสก็เป็นประเทศธรรมดาๆแห่งหนึ่ง ที่ปกครองตนเอง ไม่ได้มีอะไรพิเศษไปกว่าใคร จนกระทั่งถึงปี 1415 ก็สามารถยึดครองเมืองเซวตา ที่เป็นเกาะบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ ตอนใต้ของสเปนได้สำเร็จ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับประเทศเป็นจักรวรรดิโปรตุเกส
การสำรวจดินแดนในยุคแรกๆ
หลังจากยึดเมืองเซวตาได้สำเร็จ โปรตุเกสก็เริ่มมีความคิดที่อยากจะสำรวจโลกขึ้นมา เนื่องจากในยุคนั้นเพิ่งผ่านยุคกลางมาได้ไม่นาน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ตลอดช่วงยุคกลางนั้น มนุษย์ไม่มีความก้าวหน้าอะไรเลย เป็นยุคแห่งการครอบงำของศาสนา หลังยุคกลางมนุษย์ก็มีความอยากรู้อยากเห็นว่านอกอาณาจักรตัวเองมีอะไรบ้าง โปรตุเกสก็เป็นอย่างนั้นเช่นกัน มีการส่งนักสำรวจออกไปอยู่เรื่อยๆ ในปีต่อๆมา โปรตุเกสก็เริ่มพัฒนายานหนะเพื่อใช้สำรวจ จนทำให้มีความก้าวหน้าในการเดินเรือมากขึ้น รวมถึงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือต่างๆที่จำเป็นต่อการเดินทาง เช่น เขียนแผนที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเดินทางเลยก็ว่าได้ ในช่วงปลายๆศตวรรษที่ 13 ก็มีเทคโนโลยีทางทะเลที่ก้าวหน้ามากขึ้น เช่น การใช้เรือคาราเวล เพื่อแสวงหาเส้นทางในการค้าขายเครื่องเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่ามีราคาที่สุดในยุคนั้น
นักเดินเรีอชื่อดัง ก้าวแรกของความสำเร็จ
หลังจากที่ใช้เวลาหลายปีเพื่อพัฒนาวิทยาการและต่อเรือใหม่ๆ แล้วส่งออกไปสำรวจเรื่อยๆ จนประสบความสำเร็จ เมื่อมีนักเดินเรือที่พบดินแดนใหม่ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 2 คนนะครับ
คนแรกก็คือ บาร์ตูลูเมว ดีอัช เดินทางผ่านแหลมตอนใต้ของแอฟริกาได้สำเร็จในปี 1488 แต่ไม่ได้ไปต่อ เขาจึงตั้งชื่อให้แหลมนั้นว่า "แหลมกู๊ดโฮป" เพื่อฝากความหวังไว้ให้กับนักเดินเรือคนอื่นๆ
คนที่สองก็คือ วาสโก ดากามา เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นหูชื่อนี้ เพราะเขาสามารถเดินทางผ่านแหลมกู๊ดโฮปจนไปขึ้นฝั่งไกลถึงอินเดียได้สำเร็จในปี 1498
ความสำเร็จของนักเดินเรือสองคนช่วยให้โปรตุเกสมีความหวังและกำลังใจที่จะสำรวจโลกต่อไป รวมถึงเป็นการแสดงอำนาจของโปรตุเกสให้ต่างประเทศได้รับรู้ไปด้วย แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการค้าขายล้วนๆ ไม่ใช่การบุกยึดดินแดนแต่อย่างใด ส่วนการบุกยึดดินแดนจะเริ่มในยุคต่อๆมา
วาสโกดากามา นักสำรวจชาวโปรตุเกส
ความเปลี่ยนแปลงสู่จักรวรรดินิยมที่แท้จริง
เวลาล่วงเลยมาจนถึงปี 1500 ก็มีผู้พบเจอชายฝั่งทะเลในทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญ เมื่อก้าวขาลงจากเรือขึ้นเหยียบแผ่นดินแห่งนั้น ก็ทราบว่าเป็นดินแดนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เหล่านักสำรวจจึงได้ออกสำรวจพื้นที่รอบๆ ก็เห็นว่าอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้พืชพรรณธรรมชาติมากมาย ทรัพยากรก็เยอะ ทำให้พวกเขาคิดอยากจะได้ดินแดนขึ้นมาในทันที จนสุดท้ายพวกเขาก็สามารถยึดครองดินแดนแห่งนี้ได้สำเร็จ ดินแดนนี้ก็คือ "บราซิล" นั่นเอง
การยึดครองครั้งนี้ ทำให้จุดประสงค์ของการเดินทางสำรวจเปลี่ยนไป จากเดิมที่ต้องการเพียงแค่ค้าขาย จึงเปลี่ยนเป็นการแสวงหาอาณานิคมแทน เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ ทำให้ช่วงเวลาต่อมาก็มีการสำรวจชายฝั่งทะเลและเกาะต่างๆทั่วโลกไปไกลถึงเอเชียตะวันออก มีการก่อตั้งป้อมปราการและสถานีการค้าตามสถานที่ต่างๆ ที่ค้นพบ ตั้งแต่เมืองลิสบอน ซึ่งเป็นเมืองหลวงโปรตุเกส ยาวไกลไปถึงเมืองนางาซากิที่ญี่ปุ่น ทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิที่มั่งคั่งร่ำรวยอย่างมหาศาลในยุคนั้น
คู่แข่งและศัตรูตัวฉกาจ
ในยุคแรกๆของการสำรวจทางทะเล จะมีเพียงแค่ 2 ประเทศ ที่เป็นมหาอำนาจทางทะเลในสมัยนั้น นั่นก็คือ โปรตุเกสและสเปน ทั้งสองประเทศต่างพยายามแข่งขันชิงความเป็นเจ้าทะเลจนเกิดความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง จนต้องมีผู้เข้ามาไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองชาตินี้หยุดทะเลาะกัน เขาคือ สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ที่ได้เขียนสนธิสัญญาฉบับหนึ่งขึ้นมาให้สองชาตินี้ลงนามและปฏิบัติตาม ชื่อว่า "สนธิสัญญาทอร์เดซิลลัส" ลงนามเมื่อปี 1494 ซึ่งแบ่งเส้นทางให้แต่ละชาติไปสำรวจดินแดนให้ได้มากที่สุด โดยแบ่งให้ สเปนไปสำรวจทางทิศตะวันตก ส่วนโปรตุเกสไปสำรวจทางตะวันออก ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมาต่างฝ่ายก็ต่างทำหน้าที่ของตนเอง ไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป
การแบ่งเส้นทางสำรวจทางทะเล สีฟ้าคือโปรตุเกส สีแดงคือสเปน
จุดเสื่อมถอย
ระหว่างปี 1580 ถึง 1640 โปรตุเกสกลายเป็นพันธมิตรของสเปนแล้วรวมตัวเป็นสหภาพไอบีเรีย ตามธรรมดาของมนุษย์ เมื่อมีใครเด่นดังหรือประสบความสำเร็จมากๆ ก็ย่อมมีคนอิจฉา ทำให้อาณานิคมของโปรตุเกสตกเป็นเป้าโจมตีของศัตรูประเทศอื่นในยุโรป ที่ไม่พอใจในความสำเร็จและการมีอำนาจเหนือทะเลในพื้นที่นอกจักรวรรดิที่เป็นของชาติอื่น เช่น ดัตช์ อังกฤษ ฝรั่งเศส แต่เพราะโปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรไม่มาก จึงปกป้องอาณานิคมของตนเองไม่ได้ ในที่สุดก็ทำให้โปรตุเกสเริ่มเสื่อมอำนาจลง และสูญเสียอำนาจไปอย่างมากจนแทบกู่ไม่กลับแล้ว เมื่อต้องสูญเสียบราซิลไปพร้อมๆกับการปลดปล่อยอาณานิคมอื่นๆในอเมริกา เมื่อปี 1822 ซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างรายได้มากที่สุดแก่โปรตุเกส
การสิ้นสุดจักรวรรดิโปรตุเกสอันยาวนาน
หลังจากสูญเสียบราซิล ทำให้โปรตุเกสต้องแสวงหาอาณานิคมเพื่อทดแทนที่เสียไป ในช่วงศตวรรษที่ 19 โปรตุเกสก็ได้ดินแดนเพิ่ม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา แล้วก็ปกครองเรื่อยมา จนเวลาล่วงเลยมาถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โปรตุเกสพยายามรักษาสถานะจักรวรรดิเอาไว้ โดยไม่ยอมปลดปล่อยอาณานิคมให้เป็นเอกราช ในขณะที่ประเทศอื่นๆในยุโรปที่เป็นอดีตจักรวรรดิต่างทะยอยปล่อยอาณานิคมออกไป ทำให้อีกหลายสิบปีต่อมา โปรตุเกสต้องเผชิญกับปัญหาการเรียกร้องเอกราชของอาณานิคม และสงครามระหว่างอาณานิคมที่รุนแรงและสูญเสียมาก จนโปรตุเกสสิ้นสุดการเป็นจักรวรรดิอย่างถาวร เมื่อส่งคืนดินแดนมาเก๊าให้แก่จีน ในปี 1999 นับว่าเป็นการปิดฉากจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และมีมาอย่างยาวนาน โดยจักรวรรดิโปรตุเกสเป็นจักรวรรดิแห่งแรกที่เกิดขึ้นในยุโรป และมีอายุยืนนานที่สุดในยุโรป ด้วยเวลาที่นานถึง 584 ปี
พิธีส่งมอบดินแดนมาเก๊าคืนแก่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี 1999
ซากประตูโบสถ์เซนต์ปอลที่มาเก๊า เป็นสถาปัตยกรรมแบบโปรตุเกส แสดงถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่โปรตุเกสเผยแพร่สู่มาเก๊า เมื่อครั้งปกครองดินแดนแห่งนี้
อันดับ 9 รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
อาณาเขตของจักรวรรดิเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
พื้นที่ 11.1 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 4.29 %
จำนวนประชากร 44 ล้านคน (ค.ศ.850)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 20%
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 750 - 1258 (508 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ แถบตะวันออกกลางทั้งหมด ตอนเหนือของแอฟริกา
ความเป็นมา
รัฐแห่งนี้เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ที่สามของศาสนาอิสลาม คำว่ารัฐเคาะลีฟะฮ์ หมายถึง เขตปกครองรูปแบบหนึ่งของอาณาจักรอิสลามที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ ซึ่งเชื่อว่าประมุขแห่งรัฐสืบต่ออำนาจมาจากนบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม โดยมีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนเข้ามาปกครองอาณาจักรแห่งนี้เรื่อยๆ โดยราชวงศ์ที่ 3 กำลังปกครองอาณาจักรอยู่ในช่วงเวลานี้
เรื่องราวโดยสังเขปตั้งแต่รุ่งเรืองจนดับสูญ
รัฐเคาะลีฟะฮ์ของราชวงศ์ที่ 3 รุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี สามารถขยายอำนาจไปทั่วดินแดนเปอร์เชียและตะวันออกกลาง แล้วก็ค่อยๆเสื่อมลงตอนที่ตุรกีแข็งแกร่งและเริ่มแสดงอำนาจ แต่ก็ยังไม่ถึงกับล่มสลาย ยังสามารถประคับประคองสถานะจักรวรรดิให้อยู่ต่อไปได้จนถึงกาลอวสาน เมื่อจักรวรรดิมองโกลเข้ามารุกรานและยึดครองดินแดนของจักรวรรดิแห่งนี้ได้สำเร็จในปี 1258 เป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ในสถานะจักรวรรดิ แต่หลังจากถูกมองโกลยึดครอง ก็เปลี่ยนสถานะเป็นแค่อาณาจักรที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐสุลต่านมัมลูก (ไคโร) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อียิปต์ อยู่ต่อไปเรื่อยๆ จนล่มสลายไปพร้อมกับรัฐสุลต่านมัมลูกเมื่อปี 1517
อันดับ​ 8​ จักรวรรดิฝรั่งเศสทีี่ 2
อาณาเขตของจักรวรรดิฝรั่งเศสในช่วงปี 1919 - 1939
พื้นที่ 12.3 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 8.27 %
จำนวนประชากร 112.9 ล้านคน (ค.ศ.1938)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 5.10 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1830 - 1980 (ประมาณ 150 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ แอลจีเรีย เวียดนาม กัมพูชา มาดากัสการ์
ความเป็นมา
จักรวรรดิฝรั่งเศสประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐในอารักขา และรัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ปารีส แบ่งได้ 2 ยุคตามชื่อประเทศ คือ จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ 2
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
เริ่มแสดงอำนาจครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่ยิ่งใหญ่มาก เพราะตอนนั้นยังเป็นยุครุ่งเรืองของสเปนและโปรตุเกสอยู่ เมื่อผ่านยุคทองของสองมหาอำนาจนี้ไปแล้วก็เป็นยุคของอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสองชาติต่างแข่งขันชิงความเป็นใหญ่ในโลก แข่งกันยึดครองอาณานิคม จนกระทั่งถึงยุคดาวรุ่ง เมื่อเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ตอนที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิ ด้วยการที่นโปเลียนเป็นทหารที่เก่งกาจ รบเก่ง และร่วมทำการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ด้วย ทำให้ตลอดยุคของนโปเลียน มีการทำสงครามพิชิตดินแดนมากมาย ทำให้ฝรั่งเศสสามารถยึดครองดินแดนในยุโรปได้เกือบหมดทั้งทวีป รวมถึงทวีปอื่นๆด้วย แต่เพราะความทะเยอทะยานของนโปเลียน จึงทำให้เขาพลาดท่าจนถูกจับเข้าคุกสองครั้ง และการติดคุกครั้งที่สอง ก็เป็นการจบชีวิตนโปเลียนไปพร้อมๆกับการสิ้นสุดจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ในปี 1814
จักรพรรดินโปเลียนโบนาปาร์ต (นโปเลียนที่ 1)
อาณาเขตของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ในทวีปยุโรป ภายใต้การนำของนโปเลียน
ฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง - ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม - สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2
กว่าฝรั่งเศสจะเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงถาวรดังเช่นปัจจุบัน ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ก็ไม่ใช่ว่าฝรั่งเศสจะเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่วันนั้น แต่กลับวนเวียนอยู่กับสาธารณรัฐและราชอาณาจักร และมีการปฏิวัติเกิดขึ้นหลายครั้ง เรียกได้ว่า บ้านเมืองแทบไม่เคยสงบสุขเลย
timeline ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสตั้งแต่การปฏิวัติปี 1789 ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/histofun2/posts/180884346619551/
จุดเริ่มต้น จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2
เมื่อเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐที่สองได้เพียงแค่ 4 ปี ประธานาธิบดีหลุยส์ นโปเลียน ซึ่งเป็นหลานชายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็เปลี่ยนประเทศให้กลับเข้าสู่ยุคจักรวรรดิอีกครั้งในปี 1852 โดยประกาศตนเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 เป็นการสืบทอดและฟื้นฟูอำนาจของจักรวรรดิฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2
สถานะจักรวรรดิกับชื่อประเทศ
หลังจักรวรรดิที่หนึ่งสิ้นสุดลงเมื่อปี 1814 ก็ไม่ใช่ว่าฝรั่งเศสจะหมดสถานะจักรวรรดินะ สถานะจักรวรรดิยังคงเป็นอยู่ เพราะมีการล่าอาณานิคมเพิ่มอยู่ตลอดเวลา ทั้งช่วงที่เป็นราชอาณาจักรและสาธารณรัฐ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่2 ในยุคนโปเลียนที่3นี้เอง เพราะฉะนั้นอย่าสับสนระหว่างสถานะกับชื่อประเทศละกันนะ คำว่าจักรวรรดิที่ 2 นี้หมายถึงเฉพาะยุคนโปเลียนที่ 3 เท่านั้น ถึงแม้จะผ่านยุคนี้ไปแล้ว ชื่อประเทศจะไม่ได้ใช้คำว่าจักรวรรดินำหน้า แต่สถานะจักรวรรดิก็ยังไม่ได้สิ้นสุดแต่อย่างใด
การขยายอำนาจยึดครองอาณานิคม
ตลอด 18 ปี ของยุคจักรวรรดิที่สอง ภายใต้การนำของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถยึดครองดินแดนได้เพิ่มขึ้นจนครอบคลุมทุกทวีป ยกเว้นแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะทวีปแอฟริกาตะวันตกที่สามารถยึดครองได้หลายประเทศ เช่น แอลจีเรีย ตูนิเซีย ลิเบีย ชา่ด เซเนกัล และไนเจอร์ ส่วนทวีปอเมริกาก็เช่น หมู่เกาะเฟรนช์เกียนา กวาเดอลูป มาร์ตินีก คอโมโรส มายอต และปอนดิเชอรี
นอกจากนี้นโปเลียนที่ 3 ยังต้องการขยายอำนาจของฝรั่งเศสให้ยิ่งใหญ่และกว้างขวางไปอีก หรือจะเรียกว่ายึดครองโลกเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง ทั้งความไม่พร้อมของอาวุธยุทโธปกรณ์ ทหารมีน้อยเกินไป บวกกับความหวาดระแวงมหาอำนาจคู่แข่งอย่างอังกฤษซึ่งมีแสนยานุภาพเหนือกว่า ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายตามที่เขาหวัง
การสิ้นสุดยุคจักรวรรดิที่ 2
ด้วยความอยากครองโลก ทำให้นโปเลียนที่ 3 ต้องทำสงครามพิชิตดินแดนยึดครองเป็นอาณานิคมอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเวลาล่วงเลยมาถึงปี 1866 เขาก็ต้องพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับมหาอำนาจที่ค่อยๆก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่หวังจะกลืนกินฝรั่งเศสไปด้วย นั่นก็คือ "ปรัสเซีย" เพราะผู้นำของปรัสเซียก็หมายมุ่งจะหลอมรวมแผ่นดินเยอรมันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเกียวกันภายใต้บารมีจักรวรรดิปรัสเซียอันทรงอิทธิพล ในยุคที่ยังไม่มีการรวมประเทศ ครั้นปี 1870 ก็เกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียขึ้น แต่เพราะกำลังรบฝ่ายฝรั่งเศสด้อยกว่า จึงทำให้ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ ส่วนนโปเลียนที่ 3 ก็ถูกจับเป็นเชลย นำไปสู่การสิ้นสุดจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองในปี 1870
สถานะจักรวรรดิในยุคต่อๆมา
จักรวรรดิฝรั่งเศสก็เป็นเหมือนทุกจักรวรรดิในโลก มีเกิดก็มีดับ มีรุ่งเรืองก็ต้องมีเสื่อมโทรม หลังการสิ้นสุดยุคจักรวรรดิที่ 2 ก็เข้าสุ่ยุคสาธารณรัฐที่ 3 4 และ 5 ผ่านยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 จนมาถึงช่วงหลังปี 1960 ด้วยทรัพยากร การเงิน และการบริหารที่ไม่ทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพมากพอ รวมกับความสูญเสียหลังสงครามโลกที่ไม่อาจประเมินได้ ทำให้ดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสทั่วโลกต่างประกาศเอกราชเป็นประเทศอิสระไม่ขึ้นตรงต่อฝรั่งเศสอีกต่อไป ทำให้ดิแดนอาณานิคมเหลือน้อยลงเรื่อยๆ จนนำไปสู่กาลอวสานของจักรวรรดิฝรั่งเศสในปี 1980
อันดับ 7 จักรวรรดิชิง (ราชวงศ์ชิง)
อาณาเขตของจักรวรรดิชิง ในปี 1889
พื้นที่ 13.1 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 8.79 %
จำนวนประชากร 432.2 ล้านคน (ค.ศ.1851)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 36.60 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1636 - 1912 (276 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ จีน มองโกเลีย ไต้หวัน ตอนเหนือของพม่า
ประเทศจีนเป็นหนึ่งในห้าอารยธรรมเริ่มแรกของโลก สามารถย้อนเวลาไปได้ไกลถึง5000ปี ตลอดประวัติศาสตร์จีนยุคจักรวรรดิตั้งแต่จิ๋นซีฮ่องเต้เรื่อยมา มีหลากหลายราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองและเป็นใหญ่ในแผ่นดินจีน ทั้งราชวงศ์ฮั่น จิ้น สุย ถัง ซ่ง หยวน หมิง ชิง ที่ผ่านมาจะมีอยู่ 3 ราชวงศ์ ที่มีชื่อเสียงและเป็นยุครุ่งเรืองของจีน ก็คือ ฮั่น ถัง และหมิง โดยเฉพาะราชวงศ์หมิงที่ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกในยุคนั้น
ประเทศจีนยุคราชวงศ์หมิง - อาณาจักรสุดท้ายของชาวฮั่น
ราชวงศ์หมิงก่อตั้งโดยชาวนาสามัญชนคนหนึ่งที่ปลุกระดมชาวบ้านให้ลุกขึ้นมาต่อต้านและโค่นล้มราชวงศ์หยวน ซึ่งเป็นชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองแทนชาวฮั่น เขาคือ "จูหยวนจาง" ผู้นำการปฏิวัติและปฐมฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หมิง เวลาผ่านไปจนถึงยุค "หย่งเล่อฮ่องเต้" ราชวงศ์หมิงก็เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว มีการต่อเรือเพื่อใช้สำรวจทางทะเลในยุคที่ชาวตะวันตกเพิ่งจะหลุดพ้นจากการครอบงำของศาสนา สามารถเดินทางสำรวจทางทะเลไปทั่วทวีปเอเชียและไปไกลถึงแอฟริกาตะวันออก ทำให้มีการค้าขายจนมั่งคั่งร่ำรวย แต่เมื่อหมดยุคที่รุ่งเรืองก็ย่อมหนีไม่พ้นยุคเสื่อมโทรม ในช่วงปลายๆยุคราชวงศ์หมิง ก็เกิดความโกลาหลไปทั่วแผ่นดินจนทำให้ถูกชนเผ่าทางตอนเหนือเข้ามายึดครองและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ ซึ่งก็คือ "ราชวงศ์ชิง" นั่นเอง
เจิ้งเหอ นักเดินเรือชื่อดังสมัยราชวงศ์หมิง
เส้นทางการเดินเรือของเจิ้งเหอทั้ง 7 ครั้ง
กำเนิดราชวงศ์ชิง - ชัยชนะของชาวแมนจูเหนือชาวฮั่น
ราชวงศ์ชิงไม่ได้เป็นของชาวฮั่นที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจีน แต่กลับเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนอาจจะดูอ่อนแอสำหรับชาวฮั่น ผู้ซึ่งมีอารยธรรมสูงส่ง แต่ในยุคที่ราชวงศ์หมิงของชาวฮั่นกำลังระส่ำระสาย ไม่รู้ว่าจะล่มจมเมื่อไร ก็กลายเป็นว่าพวกแมนจูที่ชาวฮั่นต่างคิดว่าอ่อนแอนี่แหละ ที่เข้ามายึดครองและปกครองชาวฮั่นซะเอง แทนที่ชาวฮั่นจะปกครองชาวแมนจู ทุกอย่างกลับตาลปัตร
นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ - ผู้นำการโค่นล้มราชวงศ์หมิง
ในปลายศตวรรษที่ 16 ชนเผ่าหนู่เจิน (ชื่อเก่าของแมนจู) แข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติของราชวงศ์หมิง และได้เริ่มจัดตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้น ซึ่งรวบรวมเผ่าต่างๆ เข้าด้วยกัน ประกอบด้วย ชาวแมนจู ชาวฮั่น และชาวมองโกล โดยมีผู้นำชื่อว่า "นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ" ได้รวมเผ่าแมนจูเข้าเป็นปึกแผ่นและตั้งตนเป็นข่านแห่งต้าจินองค์แรก เมื่อปี 1616 ตลอดการครองราชย์ เขาต้องยกทัพไปทำสงครามกับราชวงศ์หมิงอยู่ตลอดจนถูกยิงด้วยปืนใหญ่แล้วกลับมาสิ้นพระชนม์ที่อาณาจักรต้าจินเมื่อปี 1626 ทำให้ลูกชายของเขาต้องรับหน้าที่ต่อจากพ่อ
หวงไท่จี๋ - ชัยชนะเหนือราชวงศ์หมิง
หลังจากนู่เอ๋อฮาชื่อสิ้นพระชนม์ หวงไท่จี๋ผู้เป็นลูกชาย ก็ได้เป็นข่านแห่งต้าจินองค์ที่สองและยกทัพต่อสู้แทนพ่อ สุดท้ายเขาก็เอาชนะและขับไล่ราชวงศ์หมิงออกจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จในปี 1637 หลังได้รับชัยชนะ เขาก็ทำการรวบรวมแผ่นดินจีนที่ราชวงศ์หมิงครอบครองไว้กับอาณาจักรต้าจินที่เขาปกครองอยู่เข้ามาเป็นหนึ่งเดียวพร้อมทั้งสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นอย่างเป็นทางการ และยกระดับสถานะของตัวเองจากที่เป็นเพียงแค่ข่านแห่งต้าจินก็กลายเป็นจักรพรรดิที่ปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมด และเฉลิมพระนามพ่อของเขาจากเดิมที่เป็นข่านแห่งต้าจินให้เป็นจักรพรรดิองค์แรก เพื่อยกย่องสรรเสริญ เพราะพ่อของเขาคือผู้ริเริ่มให้เกิดการปฏิวัติ แต่กลับเสียชีวิตไปก่อนที่การปฏิวัติจะสำเร็จ ทำให้นู่เอ๋อร์ฮาชื่อได้เป็นปฐมฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิง ส่วนหวงไท่จี๋ก็เป็นฮ่องเต้คนที่สอง ครองราชย์ต่อมาเรื่อยๆ จนสวรรคตในปี 1643
จักรพรรดินู่เออร์ฮาชื่อ และ จักรพรรดิหวงไท่จี๋
ยุคทอง 3 สมัย คังซี - ยงเจิ้ง - เฉียนหลง
ตลอดยุคราชวงศ์ชิง 276 ปี มีช่วงที่บ้านเมืองสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด 3 ยุค คือ สมัยจักรพรรดิคังซี ยงเจิ้ง และเฉียนหลง ซึ่งเป็นรัชกาลต่อกันนานถึง 134 ปี
จักรพรรดิคังซี - ยงเจิ้ง - เฉียนหลง
จักรพรรดิคังซี - ยุคที่บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น
จักรพรรดิคังซี (ครองราชย์ 1654 - 1722) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง และเป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ซึ่งยาวนานถึง 61 ปี ในยุคนี้เป็นยุคที่ชาวฮั่นและชาวแมนจูอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เพราะสามารถปราบปรามกบฎชาวฮั่นที่เกิดขึ้นมาตลอดตั้งแต่ต้นยุคราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข ประชาชนมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีความแตกแยกภายใน ทำให้การค้าขายเป็นไปอย่างคล่องตัวจึงเกิดความมั่นคงมั่งคั่งขึ้นในสังคมนั่นเอง บวกกับการเป็นกษัตริย์ที่ดีของพระองค์ ที่มีการเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนอยู่สม่ำเสมอ และการครองราชย์นานก็เป็นการสะสมบารมีและชื่อเสียงเรียงนามไปด้วยในตัว ทำให้ความเจริญรุ่งเรืองอยู่ต่อมาจนถึงรุ่นหลานของพระองค์
จักรพรรดิยงเจิ้ง - ยุคที่บ้านเมืองมั่นคง
ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้หลังการสวรคคตของคังซีฮ่องเต้ผู้เป็นบิดา การขึ้นครองราชย์ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงว่าทรงขึ้นครองราชย์โดยชอบธรรมหรือไม่ เพราะมีคนบางกลุ่มที่เชื่อว่าพระองค์ปลอมแปลงพระราชโองการของคังซีฮ่องเต้ที่เขียนไว้ว่ามอบบังลังก์ให้กับองค์ชายที่ 14 แต่พระองค์แก้เป็น 4 ซึ่งภายหลังก็มีการตรวจสอบหลักฐานอีกครั้งจึงได้ข้อสรุปว่า พระองค์ไม่ได้ปลอมแปลงพระราชโองการแต่อย่างใด เป็นเพียงการใส่ความว่าร้ายจากกลุ่มคนที่ไม่ชอบพระองค์เท่านั้น ส่วนเรื่องการครองราชย์นั้น พระองค์ทรงโหดเหี้ยมกับเหล่าพี่น้อง แต่ทรงขยันหมั่นเพียรในการออกว่าราชการ ทำงานอย่างไม่หยุดไม่หย่อน ซึ่งก็เป็นผลดีกับบ้านเมืองที่สามารถคงความเจริญรุ่งเรืองเอาไว้ได้ แต่เพราะทำงานหนักเกินไป จึงทำให้พระองค์ล้มป่วยและสวรรคตในปี 1735 ขณะที่ครองราชย์ได้เพียง 13 ปี
จักรพรรดิเฉียนหลง - ยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
ยุคนี้เป็นอีกยุคที่ความเจริญยังไม่หายไปไหน แถมเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย จักรพรรดิเฉียนหลงเป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์นานที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากจักรพรรดิคังซี ผู้เป็นพระอัยยกา เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพ่อในปี 1736 ก็ทรงปฏิรูปนโยบายภาษี การใช้จ่าย นโยบายการเงินการคลัง บวกกับการไม่มีศึกสงครามไม่ช่วงแรก พระองค์จึงทุ่มเทไปกับการสร้างผลผลิตต่างๆ จนทำให้ยุคสมัยนี้มีความมั่งคั่งและเจริญก้าวหน้าในหลายๆด้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่เจริญสูงสุดในยุคนี้ และการเป็นกษัตริย์ที่ดีมีคุณธรรมในใจและขยันทำงาน จักรพรรดิเฉียนหลงตัดสินใจสละราชสมบัติเมื่อครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี 1796 เพื่อแสดงความกตัญญูต่อปู่ของพระองค์ "จักรพรรดิคังซี" โดยการไม่ครองราชย์นานกว่าปู่ของตัวเอง ถือว่าเป็นการสละราชสมบัติที่มีสาเหตุแปลกประหลาดที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้
จักรวรรดินิยมในยุคเฉียนหลง
ในยุคจักรพรรดิเฉียนหลงเป็นยุคที่บ้านเมืองมีความมั่นคงมั่งคั่งเป็นอย่างมาก ถึงเวลาที่ราชวงศ์ชิงก็ต้องประกาศความยิ่งใหญ๋ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกบ้าง ดังนั้นจึงมีการทำสงครามบุกยึดดินแดนต่างๆที่มีชายแดนติดกับจีน ทำให้ได้ดินแดนเพิ่มขึ้น จนทำให้จีนยุคราชวงศ์ชิงมีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์จีน รองจากราชวงศ์หยวน ซึ่งมากกว่าพื้นที่จีนยุคปัจจุบันเสียอีก
ในช่วงยุครุ่งโรจน์ของสามรัชกาลนี้ถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ทั้งด้านพื้นที่เกษตรกรรม จำนวนผลิตผลการเกษตร และรายได้ของการส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศที่มีราคาสูงมาก จากสถิติที่มีการบันทึกได้ ในรัชกาลของคังซีปีที่ 24 ทั่วประเทศมีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกถึง 600 ล้านไร่ เมื่อมาถึงช่วงปลายรัชกาลของเฉียนหลง ทั่วประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 1,050 ล้านไร่จีน ผลผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 204,000 ล้านชั่ง จนเป็นประเทศที่มีผลผลิตสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น
กราฟแสดงจีดีพีตั้งแต่ปี ค.ศ.0 - 2005 ให้สังเกตเส้นสีแดงในช่วง ปี 1700 - 1820 จะเห็นว่าระดับจีดีพีของจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับ 3 ยุครุ่งเรืองแห่งราชวงศ์ชิง แสดงให้เห็นว่าเป็นยุคที่เศรษฐกิจดี
ความเสื่อมโทรมในยุคต่อๆมา
หลังจากจักรพรรดิเฉียนหลงสละราชสมบัติในปี 1796 แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะวางมือจากการเมืองไปเลย พระองค์ยังคงบริหารอยู่เบื้องหลังพระโอรสซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแล้ว ทำให้ฮ่องเต้องค์ใหม่ไม่มีอำนาจในการปกครองเลย จนกระทั่งพระบิดาสวรรคตในปี 1799 จักรพรรดิเจียชิ่งถึงจะมีอำนาจปกครองอย่างเต็มรูปแบบ
แต่ทว่ายุคของเจียชิ่งนั้นบ้านเมืองไม่ได้สงบราบลื่นและรุ่งเรืองเหมือนยุคก่อนๆแล้ว ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงระบาดไปทั่วแผ่นดิน ซึ่งเกิดจากความไว้วางใจมากเกินไปของจักรพรรดิเฉียนหลงที่มีต่อขุนนางคนใกล้ชิด และพระองค์ก็ใช้ชีวิตอย่างหรูหราจนไม่ได้ตรวจสอบการทำงานของขุนนางเลย ทำให้ขุนนางหลายคนต่างเหลิงอำนาจและเริ่มทุจริตคอร์รัปชัน จนกลายเป็นปัญหาที่หมักหมมมานานจนแก้ไขได้ยาก ทันทีที่เจียชิ่งขึ้นครองราชย์เขาก็สั่งกวาดล้างขุนนางโกงกินไปมากมาย แต่ก็ไม่ได้ช่วยกู้สถานการณ์ให้กลับมาดีได้เลย เพราะยังมีปัญหาอื่นๆอีก เช่น ประชากรมากเกินจนพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอ เงินในท้องพระคลังเหลือน้อยอันเป็นผลจากการทำสงครามหลายครั้งในสมัยเฉียนหลง เป็นการเพิ่มภาระให้พระองค์ต้องทำงานหนักมากขึ้น
เหอเซิน - ขุนนางจอมโกง ที่ทุจริตคอร์รัปชันอย่างมาก เป็นผลจากการได้รับความไว้วางใจจากจักรพรรดิเฉียนหลงที่มากเกินไป ทำให้ลุ่มหลงในอำนาจและแอบตักตวงเงินหลวงเป็นของตนจำนวนมาก โดยที่จักรพรรดิเฉียนหลงไม่ทราบเลย
วาระสุดท้ายแห่งจักรวรรดิชิง
จักรพรรดิเจียชิ่งพยายามแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถจนสวรรคตในปี 1820 จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็ต้องรับหน้าที่ต่อ แต่ด้วยสถานการณ์ที่ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว แม้จะแก้ปัญหาภายในได้สำเร็จระดับหนึ่งแต่ก็เผชิญกับปัญหาภายนอกอย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อภัยคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมได้ถึงดินแดน
มาจีน โดยอังกฤษได้ขอติดต่อค้าขายกับราชวงศ์ชิง แต่ด้วยความทะนงตนว่าเป็นศูนย์กลางของโลกและเหยียดชนชาติที่ราชวงศ์ชิงมีต่ออังกฤษ จึงไม่เปิดประเทศรับฝรั่ง จนนำไปสู่สงครามฝิ่น ที่อังกฤษนำมาขาย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ คนจีนติดฝิ่นกันระนาวแทบทั้งแผ่นดิน ทำให้การบริหารลำบากมากขึ้น จนกระทั่งทุกๆอย่างมันหนักหนาสาหัสจนขีดสุดที่ทางราชสำนักก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ จึงนำไปสู่การปฏิวัติซินไฮ่ในปี 1911 เป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิชิงอันยิ่งใหญ่และสิ้นสุดระบอบกษัตริย์อย่างถาวร
การปฏิวัติซินไฮ่ ในขณะกองทัพฝ่ายปฏิวัติต่อสู้กับฝ่ายราชวงศ์ชิงที่หน้าประตูวัง
อันดับ 5 จักรวรรดิหยวน (ราชวงศ์หยวน)
อาณาเขตของราชวงศ์หยวนในปี 1294
พื้นที่ 14 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 9.40 %
จำนวนประชากร 59.8 ล้านคน (ค.ศ.1291)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 17.10 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1814 - 1911 (97 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ จีน มองโกเลีย ตอนเหนือของเกาหลี
แสนยานุภาพจักรวรรดิมองโกล - ชัยชนะเหนือชาวฮั่น
ราชวงศ์หยวนเป็นของชาวมองโกลที่เข้ามายึดครองแผ่นดินจีนและปกครองชาวจีนฮั่น ในยุคที่ราชวงศ์ซ่งกำลังอ่อนแอและแตกแยก นับว่าเป็นการปกครองโดยชาวต่างชาติครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน
การพิชิตดินแดนจีนโดยชาวมองโกล
ชาวมองโกลยึดครองพื้นที่ทางภาคเหนือของจีนมานานกว่าทศวรรษ โดยมีความพยายามจะยึดครองจีนทั้งประเทศ และในที่สุดก็สามารถโค่นล้มราชวงศ์ซ่งของชาวฮั่นได้สำเร็จในปี 1271 โดย "กุบไล่ข่าน" ได้สถาปนาราชวงศ์หยวนหรืออาณาจักรต้าหยวนขึ้นอย่างเป็นทางการในปีเดียวกัน ต่อมาก็ได้ใช้การปกครองแบบจีนพร้อมกับเปลี่ยนนามจักรพรรดิมาเป็นภาษาจีนว่า "หยวนซื่อจู" ทำให้กุบไลข่านได้รับการยอมรับโดยชาวฮั่นในฐานะจักรพรรดิของชาวจีนฮั่นเมื่อปี 1279
กุบไล่ข่าน - ความสำเร็จในฐานะจักรพรรดิ
กุบไลข่านดำรงตำแหน่งข่านแห่งจักรวรรดิมองโกลเมื่อปี 1260 ก่อนที่จะควบตำแหน่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวนในปี 1271 และถูกยอมรับในฐานะจักรพรรดิจีนเมื่อปี 1279 เมื่อขึ้นครองราชย์ปกครองแผ่นดินจีนแล้ว เขาก็รู้ดีว่าชาวฮั่นมีทัศนะต่อชาวมองโกลอย่างไร ดังนั้นเขาจึงพยายามทำให้ชาวฮั่นมั่นใจในผู้นำที่เป็นชาวมองโกล ด้วยการปฏิบัติตนเป็นผู้ปกครองที่ดี บริหารบ้านเมืองอย่างรอบคอบ รวมถึงรักษาบุคลิกภาพให้สุขุมคัมภีรภาพเหมาะสมกับฐานะฮ่องเต้ จนสามารถชนะใจประชาชนชาวฮั่นได้มาก ทำให้มุมมองของชาวฮั่นที่มีต่อชาวมองโกลเป็นไปในทางที่ดีขึ้น จากเดิมที่มองว่าชาวมองโกลเป็นพวกโหดเหี้ยมจากการที่ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดในทะเลทราย จึงถือว่ากุบไลข่านเป็นฮ่องเต้มองโกลองค์เดียวในราชวงศ์หยวนที่ชาวฮั่นยอมรับและเคารพรัก ทำให้ตลอดยุคนี้ บ้านเมืองมีความสงบสุขและมั่นคง
กุบไลข่าน จักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์หยวน (ภายหลังได้เฉลิมพระนามให้ข่านแห่งมองโกลองค์ก่อนๆได้เป็นจักรพรรดิของต้าหยวนด้วย จึงทำให้กุบไลข่านเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 5 ส่วนเจงกิสข่านเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 1)
การขยายดินแดนประกาศความยิ่งใหญ่
จักรวรรดิมองโกลเป็นมรดกตกทอดมาจาก "เจงกิสข่าน" ผู้สร้างจักรวรรดิ แต่ผู้สานต่อก็คือรุ่นลูกรุ่นหลาน ซึ่งยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยที่กุบไลข่านเป็นหัวหน้าจักรวรรดิ เมื่อสามารถบุกยึดและปกครองแผ่นดินจีนได้ ก็นับเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง เมื่อครองราชย์แล้วก็เริ่มทำสงครามบุกยึดดินแดนบริเวณรอบๆ เช่น ดินแดนต้าหลี่ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งก็คือมณฑลยูนนานในปัจจุบันและเกาหลีด้วย นอกจากนี้ยังพยายามจะยึดครองญี่ปุ่นและดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ อันประกอบด้วย พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซียอีกด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
จุดเสื่อมถอยในยุคต่อๆมา
เมื่อกุบไลข่านสวรรคตในปี 1294 บ้านเมืองก็วุ่นวายอีกครั้ง เพราะไม่มีฮ่องเต้มองโกลองค์ไหนที่ชนะใจชาวฮั่นได้อีกและปัญหาการแย่งชิงอำนาจระหว่างชาวมองโกลในหมู่เชื้อพระวงศ์ด้วยกันเอง ซึ่งสร้างความไม่มั่นใจในความมั่นคงของอาณาจักรให้แก่ชาวฮั่น จึงมีความพยายามจะโค่นล้มราชวงศ์หยวนอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งถึงยุคของจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจง ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หยวน ในยุคนี้เกิดความโกลาหลไปทั่วบ้านทั่วเมือง อันเป็นผลมาจากปัญหาที่หมักหมมมานานจนถึงจุดที่ทุกๆอย่างมันระเบิดออกมา แล้วธาตุแท้ของชาวมองโกลก็ได้แสดงออกมา ผ่านการที่เหล่าเชื้อพระวงศ์กับขุนนางต่างร่วมกันกดขี่ข่มเหงชาวบ้าน ทำให้ชาวฮั่นหลายคนรวมตัวกันก่อกบฎเพื่อโค่นล้มราชวงศ์มองโกลมากมายทั่วแผ่นดินจีน
จูหยวนจาง - วีรบุรุษผู้กู้แผ่นดินสยบมองโกล
ในช่วงกลียุคแบบนี้ย่อมมีฮีโร่ปรากฏตัวขึ้นเป็นปกติ คนๆนั้นคือ "จูหยวนจาง" เป็นชาวจีนฮั่นระดับยาจกที่บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัด ต่อมาก็เข้าร่วมเป็นสาวกลัทธิบัวขาวก่อกบฏโพกผ้าแดงและเริ่มนำทัพบุกโจมตีก๊กต่างๆ ทั่วแผ่นดิน จนสามารถบุกยึดปักกิ่งและโค่นล้มราชวงศ์หยวนได้สำเร็จในปี 1368 แล้วสถาปนาอาณาจักรของชาวฮั่นแห่งใหม่ชื่อว่าอาณาจักรต้าหมิงหรือราชวงศ์หมิง นับเป็นการกอบกู้ความเป็นเจ้าของแผ่นดินคืนให้กับชาวฮั่นอีกครั้ง และได้ตั้งตนเป็นปฐมฮ่องเต้นามว่า "จักรพรรดิหงอู่" หรือ "หมิงไท่จู่" นั่นเอง ส่วนจักรพรรดิหยวนฮุ่ยจงก็หนีไปตั้งหลักอยู่ทางตอนเหนือของจีนและก่อตั้งราชวงศ์หยวนเหนือขึ้นทดแทนและเป็นอาณาจักรต่อไปเรื่อยๆจนถูกชาวแมนจูยึดครองในปี 1635 ส่วนราชวงศ์หยวนในดินแดนจีนก็สิ้นสุดลงตั้งแต่ปี 1368 เป็นต้นมา
จูหยวนจาง ผู้สถาปนาราชวงศ์หมิงและเป็นจักรพรรดิองค์แรก
อันดับ 5 รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
อาณาเขตของจักรวรรดิเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ในปี ค.ศ.750
พื้นที่ 15 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 10.07 %
จำนวนประชากร 62 ล้านคน (ศตวรรษที่ 7 ระหว่างปี 601 - 700)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 28.80 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 661 - 750 (89 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ แถบตะวันออกกลาง ตอนเหนือของแอฟริกา สเปน
ความเป็นมา
รัฐอุมัยยะห์เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งที่ 2 จากทั้งหมด 4 รัฐที่ก่อตั้งขึ้นหลังการสิ้นพระชนม์ของนบีมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม ส่วนรัฐอุมัยยะฮ์นี้ก่อตั้งโดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์หลังจากการเสียชีวิตของอะลีย์ ซึ่งเป็นบุตรเขยของนบีมุฮัมมัด
อาณาเขตอันกว้างใหญ่
รัฐเคาะลีฟะฮ์ของราชวงศ์อุมัยยะฮ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เมืองหลวงดามัสกัสที่ประเทศซีเรียในปัจจุบันไปจนถึงตะวันออกสุดที่ชายแดนจีน (ตะวันตกสุดของจีน) และทางตะวันตกที่ครอบคลุมพื้นที่ทวีปแฟริกาทางตอนเหนือทั้งพื้นที่ประเทศอียิปต์ ลิเบีย แอลจีเรียในปัจจุบัน ไปไกลถึงดินแดนสเปนทั้งประเทศ
การล่มสลาย
ในช่วงแรกๆถึงกลางๆ ราชวงศ์นี้รักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อถึงช่วงปลายๆ องค์เคาะลีฟะฮ์ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐกลับละเลยธรรมเนียมปฏิบัติในศาสนา ทรงเสวยเครื่องดิ่มมึนเมา ออกล่าสัตว์บ่อยเป็นอาจิณ และใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย จนสุดท้ายก็ถูกโค่นราชวงศ์โดยบุคคลฝ่ายอับบาซียะฮ์ในปี 750 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นรัฐอับบาซียะฮ์ ซึ่งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งที่สามและเป็นจักรวรรดิที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 9 ของโลก ดังที่ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านผ่านมาแล้วนั่นเอง
อันดับ 4 จักรวรรดิสเปน
อาณาเขตของจักรวรรดิสเปนในยุคสภาพไอบีเรีย โดยสีแดงคือสเปน สีน้ำเงินคือโปรตุเกส
พื้นที่ 19.4 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 13.03 %
จำนวนประชากร 68.2 ล้านคน (ศตวรรษที่ 17 ระหว่างปี 1601 - 1700)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 12.3 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1492 - 1967 (475 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ แถบอเมริกากลาง แคริบเบียน อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์
จุดเริ่มต้น
ความเป็นมาของจักรวรรดิสเปนจะเหมือนๆกับโปรตุเกส ที่เริ่มจากความอยากสำรวจโลก แล้วก็สร้างเรือพร้อมๆกับพัฒนาวิทยาการ เครื่องมือต่างๆ แล้วก็ออกสำรวจ ช่วงแรกๆก็แค่สำรวจเพื่อบันทึกเส้นทางบ้าง ค้าขายบ้าง จนสุดท้ายก็มีจุดมุ่งหมายเหมือนกันก็คือแสวงหาอาณานิคม ในส่วนของสเปนก็มีการสำรวจทางทะเลเกิดขึ้นเหมือนกัน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่โลกต้องจารึกและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์โลก เมื่อ "คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส" ค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิสเปนนั่นเอง
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส - ผู้ค้นพบโลกใหม่
โคลัมบัสเป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอิตาลีที่ทำงานรับใช้กษัตริย์สเปน โดยได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา และพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน ให้ออกเดินทางสำรวจทางทะเลเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ๆ จนกระทั่งค้นพบดินแดนนั่นก็คือ "ทวีปอเมริกา" ทำให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของการสำรวจในครั้งต่อๆมาและกลายเป็นอาณานิคมของสเปน แต่โคลัมบัสเองกลับเชื่อว่าดินแดนที่เขาพบเจอไม่ใช่โลกใหม่แต่เป็นเอเชีย เพราะชนพื้นเมืองมีผิวเหลืองเหมือนชาวเอเชีย จึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่าชาวอินเดียน ซึ่งโคลัมบัสเชื่อแบบนี้มาตลอดตราบจนเขาเสียชีวิต ภายหลังก็มีนักสำรวจอีกคนไปเยือนดินแดนโลกใหม่แล้วก็ทราบว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเอเชียแต่เป็นดินแดนใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน เขาคนนั้นคือ "อเมริโก เวสปุชชี" แล้วตั้งชื่อดินแดนใหม่ว่า "อเมริกา" เพื่อให้เกียรติเขา
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส - ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา
อเมริโก เวสปุชชี - ผู้พิสูจน์ว่าดินแดนที่โคลัมบัสเจอเป็นดินแดนโลกใหม่
การทำลายล้างอารยธรรมท้องถิ่น - วีรกรรมสุดอัปยศ
หลังจากโคลัมบัสค้นพบอเมริกา สเปนก็เริ่มเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในหมู่เกาะแคริบเบียนและพบเจออารยธรรมท้องถิ่น เช่น แอซเท็ค มายา อินคา ซึ่งชาวสเปนเห็นว่ากลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีความก้าวหน้าและไม่เจริญ จึงติดต่อขออาสาพัฒนาให้ แต่ถูกปฏิเสธ ทำให้ชาวสเปนเริ่มใช้วิธีรุนแรงมากขึ้นจนนำไปสู่การโค่นล้มอารยธรรมเหล่านั้น ที่ทำลายล้างทั้งวัฒนธรรมดั้งเดิม ระบอบการปกครอง และศาสนาที่บังคับให้นับถือคริสต์ เรียกได้ว่าใครขัดขืนก็ไม่รอด ทางเดียวที่จะอยู่รอดก็ต้องยอมตกเป็นอาณานิคมของสเปน
การกระทำครั้งนี้ทำให้สเปนก้าวสู่การเป็นมหาอำนาจ ในขณะเดียวกันก็เป็นวีรกรรมอันอัปยศ จนเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์เลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากมายึดครองแล้ว ยังบังคับขู่เข็ญกดขี่ข่มเหงชาวพื้นเมืองต่างๆนานา เกณฑ์แรงงานไปเป็นทาสเพื่อทำงานให้กับสเปน รวมถึงเป็นการหอบเอาเชื้อโรคจากยุโรปที่มาพร้อมชาวสเปนมาสู่ชาวพื้นเมืองด้วย ทำให้ชาวพื้นเมืองที่ไร้ภูมิต้านทานหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตจากการติดโรคต่างๆ จนประชากรชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเหลือน้อยลงเรื่อยๆ
เฟอร์ดินาน มาเจลลัน - ผู้เดินเรือรอบโลกพิสูจน์โลกกลม
ในประวัติศาสตร์โลกมีนักสำรวจทางทะเลที่มีชื่อเสียงหลายคน หนึ่งในนั้นก็ต้องมี "เฟอร์ดินาน มาเจลลัน" เป็นชาวโปรตุเกสที่ทำงานให้กับพระเจ้าการ์โลสที่ 5 แห่งสเปน เพื่อค้นหาเครื่องเทศ โดยเดินเรือระหว่างปี 1519 - 1522 จากมหาสมุทรแอตแลนติกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกโลกตะวันออก ถือเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์อีกด้วย นั่นหมายความว่าเขาได้พิสูจน์ว่าทฤษฎีโลกกลมเป็นจริง โลกไม่ได้แบนตามที่เชื่อกันมาตั้งแต่ยุคกลาง
เรื่องราวการเดินทางของเขาน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นการผจญภัยที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเอามากๆ และมาเจลลันเองก็ถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ทำให้เขาไม่ได้รอดชีวิตกลับมาถึงสเปน แต่ก็มีคนอื่นที่ทำหน้าที่แทนเขาจนสามารถกลับถึงสเปนได้ในปี 1522 ซึ่งมีผู้รอดชีวิตเพียงแค่ 18 คน จากทั้งหมดเกือบ 300 คน ถึงแม้มาเจลลันจะไม่ได้รอดชีวิตกลับมาแต่ก็สร้างประวัติศาสตร์ให้โลกจารึกไว้แล้ว ซึ่งการเดินทางไปทวีปเอเชียนั้น เขาได้ค้นพบดินแดนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ที่เขาถูกฆ่าตายที่นั่น ทำให้สเปนได้อาณานิคมในเอเชียเพิ่มขึ้น
เฟอร์ดินาน มาเจลลัน - ผู้เดินเรือรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์โลก
แผนที่จำลองการเดินเรือของมาเจลลัน จากสเปนไปทางตะวันตกอ้อมโลกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกแล้วกลับมาถึงสเปน ระหว่าง 1519 - 1522
จักรวรรดิอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร
ในศตวรรษที่ 17 สเปนสามารถครอบครองดินแดนได้มากที่สุดในบรรดาช่วงเวลาการเป็นจักรวรรดิห้าร้อยกว่าปี สเปนมีดินแดนอาณานิคมอยู่ทั่วโลก ครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกา โอเชียเนีย
การค้าขายระหว่างแผ่นดินแม่กับอาณานิคม
สเปนค้าขายกับดินแดนอาณานิคมต่างๆจนเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงมั่งคั่ง ทั้งนี้ก็มาจากการทรัพยากรในดินแดนอาณานิคมเป็นส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ผลิตสินค้าต่างๆ มีการขนส่งโลหะจากอเมริกากลับไปยังสเปนเป็นประจำทุกปี มีกองเรือขนาดใหญ่ประจำการอยู่ที่มะนิลาบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เพื่อใช้ขนส่งทรัพยาการและค้าขายระหว่างแผ่นดินแม่กับอาณานิคมอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดสาย โดยการค้าขายส่วนใหญ่ก็เพื่อหารายได้มาเสริมแสนยานุภาพให้กองทัพเรือสเปน เพื่อใช้ต่อกรกับศัตรูที่อาจก่อสงครามและเพื่อพิทักษ์รักษาอาณานิคมเอาไว้
การสูญเสียอาณานิคมตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
เวลาผ่านมาถึงต้นศตวรรษที่ 19 ในช่วงปี 1810 - 1825 ก็เกิดสงครามประกาศอิสรภาพในอาณานิคมอเมริกา ผลสุดท้ายก็คือดินแดนในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ที่เป็นอาณานิคมของสเปนต่างประกาศอิสรภาพแยกตัวออกไป แล้วก็ถูกผนวกรวมกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งทรงอิทธิพลสูงสุดในดินแดนแถบนั้น ทำให้สเปนสูญเสียอาณานิคมในแถบอเมริกาไปหมดเกลี้ยง ส่วนอาณานิคมทางซีกโลกตะวันออกที่สำคัญๆอย่างฟิลิปปินส์ก็จำเป็นต้องยกให้สหรัฐอเมริกาปกครองแทนในปี 1898 ทำให้เหลือแค่ดินแดนในทวีปแอฟริกาที่อยู่ต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 20
จุดสิ้นสุด
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงที่โลกปั่นป่วนวุ่นวายจากสงครามใหญ่ถึงสองครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้ทุกประเทศในโลกอย่างหนักหนาสาหัส เงินทองก็ร่อยหรอลงจากการทำสงครามบวกกับต้องใช้เงินบูรณะฟื้นฟูบ้านเมืองอีก ทำให้ทุกๆจักรวรรดิอาณานิคมในยุโรปทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส รวมถึงสเปนด้วย ต่างปลดปล่อยอาณานิคมให้เป็นอิสระเพื่อลดภาระหน้าที่ ในส่วนของจักรวรรดิสเปน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อาณานิคมในทวีปแอฟริกาก็ต่างเรียกร้องเอกราชจนสเปนต้องยอมจำใจปล่อยดินแดนเหล่านั้นให้เป็นอิสระไปเรื่อยๆ เริ่มจากปล่อยโมร็อกโกในปี 1956 ตามมาด้วยการให้เอกราชแก่อิเควทอเรียลกินีเมื่อปี 1968 จนสิ้นสุดที่การปล่อยซาฮาราตะวันตกในปี 1976 เป็นการปิดฉากจักวรรดิสเปนอันยาวนานเกือบห้าศตวรรษ
อันดับ 3 จักรวรรดิรัสเซีย
อาณาเขตของจักรวรรดิรัสเซียในปี 1914 สีเขียวเข้มคือดินแดนอาณานิคม สีเขียวใบเตยคือเขตทรงอิทธิพลแต่ไม่ใช่อาณานิคม ส่วนเขตอลาสก้าเสียไปก่อนปี 1914
พื้นที่ 22.8 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 15.31 %
จำนวนประชากร 176.4 ล้านคน (ค.ศ.1913)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 9.80 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1721 - 1917 (196 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ พื้นที่ในคาบสมุทรไครเมีย พื้นที่ชายแดนทะเลบอลติก
หลายๆคนคงคิดว่าจักรวรรดิรัสเซียใหญ่ที่สุด แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ จักรวรรดิรัสเซียนี้นับว่าเป็นจักรวรรดิที่โดดเดี่ยวเดียวดายและไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในยุโรป เพราะตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบอากาศหนาวที่ห่างไกลจากดินแดนยุโรป ทำให้ไม่ค่อยมีชาวยุโรปเดินทางเข้าไปถึงรัสเซียเลย เข้าไปทีไรก็หนาวตายทุกที
อาณาจักรซาร์รัสเซีย
เป็นราชอาณาจักรแห่งหนึ่งที่ปกครองตนเองอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียซึ่งอยู่ติดๆกับยุโรปตะวันออก ในช่วงที่ยังไม่ได้ยกระดับเป็นจักรวรรดิ ก่อตั้งขึ้นตอนที่ซาร์อีวานที่ 4 ขึ้นครองราชย์ในปี 1547 และดำรงสถานะราชอาณาจักรต่อมาเรื่อยๆ จนเข้าสู่ยุคจักรวรรดิรัสเซียในปี 1721
ซาร์ปีเตอร์มหาราช - ผู้บุกเบิกจักรวรรดิรัสเซีย
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 18 ก็มีซาร์ระดับมหาราชองค์หนึ่งที่เป็นผู้ยกระดับประเทศรัสเซียให้เป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร นั่นก็คือ "จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1" หรือจะเรียกว่าซาร์ปีเตอร์ตามภาษารัสเซียก็ได้ เริ่มจากการที่พระองค์สถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้น ซึ่งเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้รัสเซียเป็นปึกแผ่นและอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิองค์เดียวทั้งจักรวรรดิ พร้อมทั้งทำสงครามขยายดินแดนลึกเข้าไปในดินแดนยูเรเซีย (เป็นชื่อแผ่นเปลือกโลกของเอเชียและยุโรป) ทำการบุกยึดดินแดนอาณาจักรตั้งแต่ทะเลบอลติกทางตะวันตกสุดไปจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกสุด ทำให้ผืนแผ่นดินรัสเซียมีความกว้างใหญ่ไพศาล
จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 หรือปีเตอร์มหาราช ผู้สถาปนาจักรวรรดิรัสเซีย
มหาราชผู้ทรงพระปรีชาสามารถและนักรบผู้เก่งกาจ
เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ได้สร้างวีรกรรมในการขยายดินแดนไปทั่ว และพระองค์ก็เปิดรับสิ่งใหม่ๆเพื่อการพัฒนาจักรวรรดิรัสเซียให้เจริญก้าวหน้าเทียบเคียงกับประเทศในยุโรป พระองค์เป็นจักรพรรดิรัสเซียองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศในยุโรปเพื่อเชื่อมสัมพันธ์และเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆแล้วนำกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของพระองค์ โดยเฉพาะด้านการทหารที่ทรงทุ่มเทกับการเสริมกำลังรบและแสนยานุภาพอย่างมาก ทั้งเรียนรู้กลยุทธ์การรบและป้องกันตัวแล้วนำมาใช้ฝึกฝนทหารรัสเซีย รวมถึงพัฒนาอาวุธใหม่ๆ ที่ล้วนทำให้กองทัพแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถรบชนะสงครามหลายสมรภูมิและบุกยึดดินแดนได้เพิ่มขึ้น ส่วนพระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างของพระองค์ ก็คือการสร้างและย้ายเมืองหลวงใหม่ นั่นก็คือ "เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก" ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียมาจนถึงวันสิ้นสุดจักรวรรดิ
ความแข็งแกร่งของรัสเซีย
ครั้งหนึ่งซาร์ปีเตอร์มหาราชนำทัพบุกโจมตีสวีเดนเพื่อชิงพื้นที่ส่วนที่ติดทะเลบอลติก ทำให้รัสเซียมีทางออกสู่ทะเล และหลังจากพระองค์สวรรคตในปี 1725 จักรวรรดิรัสเซียก็ยังคงความยิ่งใหญ่ไว้ได้ตลอดเกือบสองร้อยปี เพราะกองทัพอันแข็งแกร่งที่พระองค์สร้างไว้ รวมกับการอยู่ในพื้นที่อากาศหนาวซึ่งเปรียบเสมือนเกราะป้องกันด่านหน้า ทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้รัสเซียชนะศึกครั้งแล้วครั้งเล่า หนึ่งในชัยชนะครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่อย่างนโปเลียนโบนาปาร์ตคิดจะบุกรัสเซีย แต่เมื่อเจออากาศอันหนาวเหน็บของรัสเซียเท่านั้นแหละก็ถึงกับถอยทัพหนีกลับบ้านไปเลย ทำให้รัสเซียมีชัยเหนือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่าจักรวรรดิรัสเซียนี้ไม่อาจโค่นล้มได้ง่ายๆ
แคทเธอรีนมหาราชินี - ยุคทองของรัสเซีย
"เยกาเจรีนา แคทเธอรีนมหาราชินี" ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินีนาถเมื่อปี 1762 พระองค์มีความคิดสมัยใหม่ ทรงลดความเป็นเผด็จการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยการให้เสรีภาพแก่บรรดาขุนนางในการปฏิบัติราชการโดยไม่ต้องอยู่ใต้อำนาจการสั่งการของกองทัพ และให้อิสรภาพแก่ประชาชนในการครอบครองที่อยู่อาศัย รวมถึงสนับสนุนการสร้างบ้านด้วยสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้น ทำให้มีอาคารบ้านเรือนอันหรูหราเกิดขึ้นเต็มเมือง ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าของรัสเซียไปโดยสิ้นเชิง จึงนับว่าเป็นยุคเรืองปัญญาของรัสเซียเลยก็ว่าได้ และพระองค์ยังได้สานต่อภารกิจของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ด้วยการขยายดินแดนรัสเซียออกไปให้กว้างขวางกว่ายุคของปีเตอร์ที่ 1 จนทำให้รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจที่ครอบครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล ถือว่าเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญและโดดเด่นที่สุดของพระองค์
แคทเธอรีนมหาราชินี ผู้สร้างความรุ่งเรืองให้แก่รัสเซีย
ความเสื่อมโทรมในยุคต่อๆมา
หลังยุคแคทเธอรีนมหาราชินีเป็นต้นมา ความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิรัสเซียยังไม่ได้หายไปไหนแต่ว่าเรื่องอื่นๆนอกจากความยิ่งใหญ่นี่สิ ที่เป็นปัญหาหลายอย่างสืบต่อมาจนถึงยุคปลายๆ ตั้งแต่ปัญหาการเกษตร ปัญหาเรื่องชาติพันธุ์และปัญหาเรื่องทาส ซึ่งจักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็พยายามแก้ไขเท่าที่จะทำได้ จนสามารถประกาศเลิกทาสได้สำเร็จในปี 1861 ส่วนปัญหาอื่นๆก็ยังไม่ใช่เรื่องหนักหนาสาหัสมากนัก แต่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขอยู่ตลอด
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ปัญหาความขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ก็เกิดขึ้น เพราะขนาดประเทศที่ใหญ่จึงมีประชากรหลายชาติพันธุ์ที่มีวิถีชิวิตและวัฒนธรรมต่างกัน แต่ว่าพวกชาติพันธุ์หลายกลุ่มไม่พอใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมอีก ทั้งยังถูกอิทธิพลของรัสเซียเข้าครอบงำจนแทบไม่เหลือความดั้งเดิม ซึ่งองค์จักรพรรดิก็รับรู้ เช่น จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ผู้เป็นปู่ของซาร์นิโคลัสที่ 2 พยายามใช้นโยบายเชิงประนีประนอมเพื่อสร้างสันติ ด้วยการให้สิทธิต่างๆเพื่อความยุติธรรม ซึ่งทำให้ปัญหานี้เพลาๆลงบ้าง แต่เมื่อสิ้นซาร์องค์นี้แล้ว จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ผู้เป็นโอรสและเป็นบิดาของซาร์นิโคลัสที่ 2 กลับหักเหลี่ยมสุดขีดด้วยการบังคับให้เป็นรัสเซียให้เหมือนกันทั้งหมดเลย ซึ่งเพิ่มความขัดแย้งและความร้อนแรงให้มากขึ้น ประกอบกับปัญหาเกษตร ที่ช่วงนั้นฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้ผลผลิตไม่ค่อยดี ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
อวสานจักรวรรดิรัสเซีย
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 อิทธิพลของการปฏิวัติในหลายๆประเทศทั่วโลกเริ่มแผ่มาถึงรัสเซีย ในช่วงนั้นรัสเซียกำลังเสื่อมโทรมจากปัญหาหลายอย่างดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อข้างต้น และบุคคลที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายนั่นก็คือ "ซาร์นิโคลัสที่ 2" พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ไม่มีความพร้อมและไร้ความสามารถ เพราะพระบิดามาด่วนสวรรคตโดยที่ไม่ได้สอนการปกครองให้พระองค์เลย รวมถึงการแพ้สงครามกับญี่ปุ่นและเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 จนสูญเสียเงินไปมาก ปัญหาภายในก็สาหัสแล้วยังไปสร้างปัญหาภายนอกอีก บ้านเมืองจึงยิ่งเสื่อมโทรมเข้าไปใหญ่ ในที่สุดประชาชนก็หมดความอดทนจนนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์และสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ในรัสเซีย ส่วนองค์จักรพรรดิพร้อมด้วยบรรดาเชื้อพระวงศ์ก็ถูกจับกุมคุมขังและถูกสังหารหมู่ทั้งราชวงศ์ นับเป็นโศกอนาฏกรรมที่โหดร้ายมาก
การปฏิวัติรัสเซีย นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน ผู้นำพรรคบอลเชวิค
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิรัสเซีย
สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งภายหลังถูกสังหารหมู่ยกตระกูล
หลังปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์จนเสร็จสิ้น ก็ไม่มีองค์จักรพรรดิซึ่งเป็นประมุขของจักรวรรดิอีกต่อไป ทำให้สถานะจักรวรรดิของรัสเซียสิ้นสุดลงตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
อันดับ 2 จักรวรรดิมองโกล
อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกลในช่วงที่กว้างใหญ่ที่สุด
พื้นที่ 33 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 22.29 %
จำนวนประชากร 110 ล้านคน (ศตวรรษที่ 13 ระหว่างปี 1201 - 1300)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 25.60 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1206 - 1368 (162 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ จีน เกาหลี ไซบีเรีย เอเชียกลาง ยุโรปตะวันออก
จักรวรรดิที่มีพื้นที่ติดกันมากที่สุดในโลก
หลายคนคงคิดว่าจักรวรรดิมองโกลยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว ก็ใช่นะมันยิ่งใหญ่จริงๆ แต่ถ้าพื้นที่ใหญ่สุดแบบรวมทั้งโลกเลยก็ไม่ใช่มองโกล แต่ถ้าพื้นที่ติดกันมากที่สุดในโลกต้องยกให้มองโกลเลย เพราะสามารถตีราบเป็นหน้ากลองจากตะวันออกสุดอย่างมองโกเลียบ้านเกิด จีน เกาหลี ไปยังตะวันตกสุดที่ดินแดนยุโรปตะวันออก อะไรมันจะใหญ่ขนาดนี้
เจงกิสข่าน - จุดเริ่มต้นจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่
เมื่อพูดถึงมองโกลจะต้องมีชื่อของคนๆหนึ่งดังขึ้นมาในหัวตลอดที่พูดถึง เขาคนนั้นคือ "เจงกิสข่าน" จักรพรรดินักรบผู้เกรียงไกรและเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล รวมถึงวางรากฐานความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ไว้ให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานได้สานต่อปณิธานของเขา ชีวิตวัยเด็กของเขาเป็นการต่อสู้ดิ้นรนเอาชีวิตรอดและฉายแววความเก่งความโหดตั้งแต่เด็ก เขาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนพ่อตั้งแต่อายุ 13 และต้องสานต่อภารกิจของพ่อในการต่อสู้กับชนเผ่าต่างๆ ที่เป็นอริศัตรูกับเผ่าของเขาอยู่หลายปี จนสามารถรวบรวมเผ่าๆต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่มองโกเลียเข้าเป็นหนึ่งเดียวภายใต้จักรวรรดิมองโกลได้สำเร็จ
เจงกิสข่าน - ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกลและผู้วางรากฐานความยิ่งใหญ่
อนุสาวรีย์เจงกิสข่านที่ประเทศมองโกเลีย
การขยายดินแดนในยุคเจงกิสข่าน
เมื่อเจงกิสข่านก่อตั้งจักรวรรดิมองโกลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เขาก็ตั้งตนเป็นข่านแห่งจักรวรรดิมองโกลองค์แรก ซึ่งก็มีสถานะเป็นจักรพรรดิ และเมื่อทุกๆอย่างพร้อมแล้ว เขาก็เริ่มแผ่ขยายอิทธิพลอำนาจด้วยการทำสงครามขยายดินแดนไปยังพื้นที่ใกล้ๆกับมองโกเลีย เริ่มด้วยดินแดนแห่งแรกที่เขาอยากได้มากที่สุดก็คือประเทศจีน ซึ่งตอนนั้นเป็นยุคราชวงศ์ซ่ง และเขาก็สามารถยึดครองพื้นที่ทางตอนเหนือของจีนได้เป็นที่เรียบร้อย และมีความพยายามจะกลืนกินจีนทั้งประเทศ แต่กองทัพจีนแข็งแกร่งมาก เกรงว่าจะเสียไพร่พลมาก เขาจึงหยุดภารกิจนี้ไว้ก่อน แล้วหันไปเอาดินแดนทางตะวันตกก่อนดีกว่า ซึ่งเขาก็เอาชนะได้อย่างง่ายดาย แล้วก็ค่อยๆรุกคืบไปทางตะวันตกเรื่อยๆ จนครอบคลุมพื้นที่ทั้งภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งก็คือประเทศที่ลงท้ายด้วยคำว่าสถานทั้งหลายในปัจจุบัน
อาณาเขตในปี 1227 ปีสุดท้ายของยุคเจงกิสข่าน
ลูกหลานเจงกิสข่านกับภารกิจสานต่อปณิธาน
เมื่อเจงกิสข่านทำสงครามไปได้ระยะหนึ่ง เขาก็เกิดอาการไม่สบายใจและคิดได้ว่าการที่เขาฆ่าคนไปจำนวนมาก ทำให้เขารู้สึกผิดกับสิ่งที่ได้กระทำลงไป จนสุดท้ายเขาก็เชิญนักบวชลัทธิเต๋าคนหนึ่งมาแสดงธรรมให้เขาฟัง จึงทำให้เขาเข้าใจอะไรหลายๆอย่างในทางธรรมมากขึ้น แต่เพราะการแสดงธรรมครั้งนี้คงจะเข้มข้นเกินไปหน่อย จนทำให้เจงกิสข่านรู้สึกอยากจะปล่อยวาง และด้วยความเครียดความไม่สบายใจนี้เองจึงทำให้เขาล้มป่วยลงและสวรรคตเมื่อปี 1227 แต่ก่อนจากไปเขาก็ได้วางแผนการขยายดินแดนและมอบหมายภารกิจให้ลูกๆของเขาได้สานต่อความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิมองโลกให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในรุ่นต่อๆมา
กุบไลข่าน - ผู้ทำให้มองโกลยิ่งใหญ่กว่าที่เคยเป็น
ลูกๆของเจงกิสข่านได้สานต่อปณิธานของพ่อด้วยการขยายอาณาเขตของมองโกลให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งก็ไม่แปลกที่ลูกหลานเจงกิสข่านจะเก่งกล้าเหมือนบรรพบุรุษของเขา เพราะต่างเป็นยอดนักรบที่กล้าหาญเก่งกาจกันทั้งสิ้น เวลาผ่านไปมองโกลก็ได้ดินแดนเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นดินแดนทางตะวันตกซะส่วนมาก ดินแดนในเอเชียตะวันออกที่เจงกิสข่านหยุดภารกิจไว้ก็ไม่ได้รับการสานต่ออีกเลยจวบจนรุ่นหลานที่สามารถทำสำเร็จ
อาณาเขตที่กว้างใหญ่ที่สุดซึ่งอยู่ในยุคของรุ่นลูกรุ่นหลานของเจงกิสข่าน
การพิชิตดินแดนจีนของกุบไลข่าน - ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของมองโกล
หลานคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากก็คือ "กุบไลข่าน" ซึ่งสามารถบุกยึดแผ่นดินจีนทั้งหมดได้สำเร็จ จากการโค่นล้มราชวงศ์ซ่งของชาวฮั่นแล้วก่อตั้งราชวงศ์หยวนหรือจักรวรรดิต้าหยวนขึ้นปกครองแผ่นดินจีนเรื่อยมา แล้วก็ยังได้รับการยอมรับและยกย่องสรรเสริญจากชาวฮั่นอีกด้วย ซึ่งการยึดจีนได้นี้ถือเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิมองโกล เพราะการยึดจีนได้ก็ทำให้พื้นที่ของมองโกลเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนมีชายแดนติดทะเลญี่ปุ่น นับว่าในยุคของกุบไลข่านเป็นยุคที่จักรวรรดิมองโกลมีพื้นที่มากที่สุดเลยก็ว่าได้และก็เป็นยุคทองอีกด้วย เพราะมีการค้าขายแลกเปลี่ยนวิทยาการและวัฒนธรรมระหว่างชนชาติตลอดยุคนี้
จักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่ปราศจากการสร้างอารยธรรม
จักรวรรดิมองโกลมีความแตกต่างจากจักรวรรดิอื่นๆในโลก ตรงที่เน้นความยิ่งใหญ่ด้วยการบุกยึดดินแดน แต่กลับไม่ได้สร้างความเจริญหรือพัฒนาอะไรเลยให้แก่ดินแดนที่ยึดครองมา บางครั้งก็ขดขี่ข่มเหงทำร้ายชาวเมืองอย่างไร้ความปรานีก็มี ความโหดเหี้ยมที่ขึ้นชื่อลือชาเยี่ยงนี้ทำให้ไม่มีใครกล้ายุ่งเกี่ยวกับมองโกลเลย ซึ่งก็เปิดทางให้มองโกลสามารถปกครองและบริหารดินแดนที่ยึดมาอย่างไรก็ได้ แต่ด้วยภูมิหลังที่เป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ทำให้นโยบายการบริหารเพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆดินแดนนั้นๆให้เจริญก้าวหน้าและมีอารยธรรมก็มักไม่ยั่งยืนและไม่ต่อเนื่อง รุ่นพ่อทำแต่รุ่นลูกกลับไม่ทำ ประกอบกับการที่ลูกหลานชาวมองโกลแยกย้ายไปปกครองดินแดนต่างๆที่อยู่ห่างไกลกัน ทำให้ห่างเหินกันมากขึ้นจนไม่มีความเป็นหนึ่งเดียว
เขตแดนในยุคจักรวรรดิแตกแยก สีม่วงคือจักรวรรดิต้าหยวนซึ่งเป็นศูนย์กลาง สีเขียวอ่อนคือจักวรรดิอิลคาเนต สีเขียมเข้มคือจักวรรดิจักกาไท และสีเขียวเหลืองคือจักวรรดิโกลเดนฮอร์ด โดยทั้ง 4 จักรวรรดิย่อยนี้อยู่ภายใต้จักรวรรดิมองโกล
จักรวรรดิมองโกลแตกแยกนำไปสู่การล่มสลาย
การได้ดินแดนมากมายขนาดนี้ ทำให้ดินแดนบ้านเกิดอย่างมองโกเลียและดินแดนใกล้ๆอย่างจีนถูกละเลย ในยุคกุบไลข่านเป็นยุคที่มองโกลมีความเป็นหนึ่งเดียว แต่เมื่อกุบไลข่านขึ้นเป็นจักรพรรดิจีนก็ทำให้จักรวรรดิแตกแยก เพราะกุบไลข่านคุมแค่ดินแดนจีน ส่วนดินแดนอื่นๆก็เป็นของลูกหลานเจงกิสข่านที่แยกกันปกครองของใครของมัน ภายหลังดินแดนที่แยกกันปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกลก็เริ่มไม่รู้จักกัน เวลาผ่านไปเรื่อยๆ อาณาจักรเหล่านี้ก็เริ่มอยากจะแยกตัวเป็นอิสระ แต่สิ่งที่นำไปสู่การล่มสลายอย่างเป็นทางการก็คือการล่มสลายของราชวงศ์หยวนในดินแดนจีน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกล ส่วนสาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์หยวนในปี 1368 ถ้าผู้อ่านลืมก็สามารถย้อนไปอ่านได้ที่อันดับ 6 นะครับ ส่วนจักรวรรดิย่อยอีก 3 แห่งก็แยกตัวออกจากมองโกลจึงเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิมองโกลนั่นเอง
อันดับ 1 จักรวรรดิอังกฤษ
อาณาเขตทั้งหมดที่เคยอยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ
พื้นที่ 33.7 ล้าน ตร.กม.
เปอร์เซ็นต์พื้นที่ 22.6 %
จำนวนประชากร 533 ล้านคน (ค.ศ.1938)
เปอร์เซนต์ประชากรโลก 20 %
ช่วงเวลาที่เป็นจักรวรรดิ 1497 - 1997 (ประมาณ 500 ปี)
ตัวอย่างประเทศที่ยึดได้ แคนาดา 13 รัฐอเมริกา อินเดีย พม่า ออสเตรเลีย
จักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในที่สุดก็มาถึงอันดับ 1 สักที บอกได้ว่าเลยว่าที่ผ่านมาเหนื่อยมาก ทำอยู่หนึ่งสัปดาห์เต็มๆ กว่าจะถึงอันดับ1 จักรวรรดิอังกฤษมีพื้นที่อาณานิคมครอบคลุมทั้ง 7 ทวีปทั่วโลก รวมถึงแอนตาร์กติกาด้วย ไม่น่าเชื่อเลยว่าแค่ประเทศเล็กๆอย่างอังกฤษจะสามารถครอบครองดินแดนได้มากขนาดนี้ แสดงว่ากองทัพอังกฤษต้องแข็งแกร่งเป็นอย่างมากจนถึงกับเอาชนะหลายประเทศที่ใหญ่กว่าได้ แต่ไม่ใช่แค่กองทัพอังกฤษอย่างเดียวหรอกที่แข็งแกร่ง ประเทศอื่นที่แข็งแกร่งเท่าๆอังกฤษก็มี เพียงแต่ประเทศนั้นๆขาดเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ๆ ซึ่งอังกฤษมีความเหนือกว่า เพราะอย่าลืมว่าอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่ความเจริญของอังกฤษนั่นเอง
การสำรวจทางทะเลครั้งแรกของอังกฤษ
หลังจากสงครามดอกกุหลาบจบลง ก็มีราชวงศ์ใหม่เข้ามาปกครองแผ่นดินอังกฤษนั่นก็คือ "ราชวงศ์ทิวดอร์" ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษเริ่มวางรากฐานและเตรียมความพร้อมที่จะเป็นจักรวรรดิ เริ่มจากปี 1496 ในยุคพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ ทรงรับสั่งให้มีการเดินเรือสำรวจทางทะเลเพื่อค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชีย เพื่อหวังจะแข่งขันกับสเปนและโปรตุเกส ต่อมาในปี 1497 เรือที่ส่งไปก็มาถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา แต่ยังไม่ได้มีความคิดจะตั้งอาณานิคม นักเดินเรือจึงสำรวจรอบๆอเมริกาต่อไปจนกระทั่งขาดการติดต่อ ซึ่งคาดว่าเรืออัปปางหรือไม่ก็อุบัติเหตุอื่นๆ หลังจากนั้นเมื่อสิ้นยุคเฮนรี่ที่ 7 เข้าสู่ยุคเฮนรี่ที่ 8 ก็ไม่ได้ส่งเรือเพิ่ม แต่มีการต่อเรือขึ้นเพิ่มพร้อมกับพัฒนาวิทยาการให้ก้าวหน้าเพื่อประสิทธิภาพในการสำรวจครั้งต่อไป
การสำรวจในยุคสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1
เวลาล่วงเลยมาจนถึงยุคสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ ได้มีการส่งเรือออกสำรวจเพิ่มเป็นครั้งที่สอง และครั้งนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นจักรวรรดิ เมื่ออังกฤษเริ่มก่อตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งในช่วงนี้เกิดการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในอังกฤษ ทำให้อังกฤษถือนิกายโปรเตสแตนท์เป็นหลัก ส่งผลให้อังกฤษกลายเป็นศัตรูกับสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิก ความขัดแย้งเรื่องศาสนาครั้งนี้ก็เป็นแรงผลักดันให้อังกฤษเร่งพัฒนาการสำรวจทางทะเลให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นใหญ่เหนือสเปน
การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ซึ่งเป็นพระบิดาของราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 โดยฝ่ายอังกฤษเริ่มดำเนินกลวิธีทำลายสเปนและโปรตุเกส ด้วยการสนับสนุนให้มีการโจมตีปล้นเรือของทั้งสองประเทศที่แล่นผ่านทะเลอังกฤษ เพื่อทำลายระบบการค้า เมื่อมาถึงยุคราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ความขัดแย้งเรื่องศาสนาก็เกิดขึ้นอีกเมื่อสเปนก็คิดจะชิงราชบัลลังก์อังกฤษ เพราะควีนเอลิซาเบธที่ 1 นับถือโปรเตนแตนท์ซึ่งไม่คู่ควรกับบัลลังก์อังกฤษ สเปนจึงประกาศสงครามกับอังกฤษ แต่ผลกลับพลิกล็อค เพราะอังกฤษชนะสงคราม ทำให้สเปนอับอายเป็นอย่างมาก ที่ประเทศมหาอำนาจต้องมาแพ้ประเทศเล็กๆอย่างอังกฤษ ชัยชนะครั้งนี้เป็นการประกาศว่าอังกฤษกำลังจะเป็นมหาอำนาจในอนาคตและไม่ใช่ประเทศที่อ่อนด้อยกว่าใคร
สงครามสเปน - อังกฤษ
จุดเริ่มต้นจักรวรรดิอังกฤษ
ในปี 1604 หลังราชินีนาถเอลิซาเบธสวรคคต พระเจ้าเจมส์ที่ 1 กษัตริย์องค์ต่อมา ได้เจรจายุติความบาดหมางกับสเปน ทำให้จุดมุ่งหมายของอังกฤษเปลี่ยนจากการหาผลประโยชน์จากอาณานิคมของชาติอื่นมาเป็นการก่อตั้งอาณานิคมของตนเอง โดยเริ่มก่อตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน รวมถึงจัดตั้งบริษัทเอกชนตามอาณานิคมที่อยู่ห่างไกล เพื่อบริหารจัดการและดูแลระบบการค้า แห่งที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ "บริษัทอินเดียตะวันออก" หรือ East Indian Company
13 อาณานิคมในอเมริกา
ดินแดนโลกใหม่อย่างอเมริกาเป็นหมุดหมายสำคัญของการสำรวจมาตั้งแต่ยุคต้นๆ และเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรอันหลายหลายและมากมาย ที่หลายๆประเทศในยุโรปต่างนำกลับไปค้าขายและพัฒนาประเทศ ไม่ว่าประเทศไหนๆก็อยากครอบครองอเมริกาทั้งนั้น โปรตุเกสสามารถยึดบราซิลได้ สเปนสามารถยึดครองอเมริกากลางตลอดจนอเมริกาใต้ได้ ส่วนอังกฤษก็สามารถครอบครองอเมริกาเหนือจนตั้งเป็นอาณานิคมได้หลายแห่ง โดยอาณานิคม 13 รัฐในอเมริกาอยู่ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษมานานสองร้อยกว่าปี จนมีชาวอังกฤษและชาวยุโรปอพยพย้ายมาอยู่ที่นี่เยอะ จนเป็นแหล่งทำเงินให้อังกฤษมากที่สุด
13 อาณานิคมอังกฤษในอเมริกา
การสูญเสีย 13 อาณานิคมในอเมริกา
เวลาผ่านไปถึงช่วงปี 1760 - 1770 ความสัมพันธ์ระหว่างสิบสามอาณานิคมกับอังกฤษเริ่มตึงเครียดมากขึ้น เพราะการบริหารที่ไม่ยุติธรรมบ้าง เก็บภาษีมากเกินบ้าง ตลอดจนชาวอังกฤษรุ่นต่อๆมาที่อาศัยอยู่ในอเมริกาเป็นเวลานานจนไม่มีความเป็นอังกฤษเหลืออยู่แล้ว ทำให้ชาวอาณานิคมในอเมริกาทั้ง 13 รัฐลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐสภาอังกฤษและเริ่มเคลื่อนไหวสู่การปกครองตนเอง ทำให้ฝ่ายอังกฤษต้องส่งทหารมาบังคับการปกครองโดยตรงจากเดิมที่เป็นรัฐสภา ยิ่งทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจมากขึ้นไปอีก จนนำไปสู่สงครามปฏิวัติอเมริกาที่กินเวลานาน ตั้งแต่ปี 1775 - 1783 โดยมีการประกาศอิสรภาพในปี 1776 และชัยชนะก็เป็นของฝ่ายอาณานิคมโดยการช่วยเหลือของฝรั่งเศส ทำให้อเมริกากลายเป็นประเทศเอกราช ส่วนอังกฤษก็ต้องแสวงหาดินแดนเพื่อทดแทนที่เสียไป
สงครามปฏิวัติอเมริกา ระหว่างปี 1775 - 1783
อาณานิคมออสเตรเลีย
ตอนที่อาณานิคมอเมริกายังเป็นของอังกฤษอยู่ รัฐบาลอังกฤษจะส่งนักโทษมาคุมขังที่นี่ แต่หลังสงครามปฏิวัติอเมริกา อังกฤษต้องเคลื่อนย้ายนักโทษนับพันคนไปคุมขังที่ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอาณานิคมแห่งใหม่ที่ค้นพบเมื่อปี 1770 โดยกัปตันเจมส์ คุก และใช้เป็นแหล่งคุมขังนักโทษมาจนถึงปี 1840 อาณานิคมออสเตรเลียก็กลายเป็นผู้ส่งออกขนสัตว์และทองคำซึ่งมีรายได้สูงมาก โดยเฉพาะเมืองเมลเบิร์นที่มีการค้นพบและซื้อขายทองคำมาก ทำให้เป็นเมืองที่ใหญ๋ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในจักรวรรดิอังกฤษรองจากลอนดอน
กัปตันเจมส์ คุก ผู้ค้นพบดินแดนฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียเมื่อปี 1770 ทำให้อังกฤษยึดออสเตรเลียเป็นอาณานิคม
อินเดีย - เพชรเม็ดงามของอังกฤษ
หลังการเสียอาณานิคมอเมริกาทำให้อังกฤษต้องค้นหาอาณานิคมทดแทนที่เสียไป จนกระทั่งได้ดินแดนแห่งใหม่ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลติดอันดับ 7 ของโลก และอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุของหายากมากมาย จนได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามของอังกฤษ นั่นก็คือ "อินเดีย" นั่นเอง
ก่อนที่อังกฤษจะยึดครองอินเดียเป็นอาณานิคม อังกฤษได้ปกครองพื้นที่อนุทวีปอินเดียอยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นการปกครองผ่านบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งไม่ได้ปกครองโดยตรงจากรัฐบาลอังกฤษ แต่เมื่อก่อตั้งอาณานิคมอินเดียขึ้นก็เท่ากับเปลี่ยนระบบมาเป็นการปกครองโดยตรงจากรัฐบาลกลาง เป็นการยุติบทบาทของบริษัทอินเดียตะวันออก ทำให้อินเดียทั้งประเทศอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
พื้นที่อาณานิคมอินเดียและพม่า เรียกรวมกันว่า "บริติชราช"
การปกครองอินเดียโดยรัฐบาลอังกฤษ "บริติชราช"
เมื่อตั้งอาณานิคมอินเดียแล้ว ก็มีการตรากฎหมาย พ.ร.บ.รัฐบาลอินเดีย ในปี 1858 ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีแห่งอินเดีย ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐของอินเดียในยุคอาณานิคมองค์แรก มีการส่งขุนนางอังกฤษเข้ามาปกครองในตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์ ซึ่งการมีอาณานิคมอินเดียนั้น ทำให้พื้นที่ของจักรวรรดิอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนเรียกได้ว่าคุ้มกว่าที่เสียอเมริกาไปมาก เพราะอินเดียในยุคอาณานิคมไม่ได้มีแค่พื้นที่ประเทศอินเดียอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงปากีสถาน บังกลาเทศ อละศรีลังกาด้วย ซึ่งแยกตัวออกมาในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากอินเดียแล้วยังได้ขยายอาณานิคมไปปกครองพม่าด้วย เรียกดินแดนอินเดียและพม่ารวมกันว่า "บริติชราช" หรือ "บริติชอินเดีย" ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี 1947 ก็เป็นอันสิ้นสุดอาณานิคมบริติชราช
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินีแห่งอินเดียเมื่อปี 1858
บริติชอินเดียคือไม้ค้ำจุนจักรวรรดิอังกฤษ
ดินแดนอาณานิคมบริติชราชเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรอันเลอค่าที่หายากและมีมูลค่าที่สร้างรายได้ให้อังกฤษอย่างมหาศาล หนึ่งในสิ่งที่อังกฤษต้องการจากอินเดียมากที่สุดก็คือเครื่องเทศ ซึ่งมีมากมายหาได้ไม่ยาก ดังนั้นอินเดียจึงเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามของอังกฤษ ที่คงความยิ่งใหญ๋ของจักรวรรดิอังกฤษเอาไว้ได้ เพราะหลังจากสูญเสียอาณานิคมแห่งนี้ไป จักวรรดิอังกฤษก็เสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว
จักรวรรดิอังกฤษที่ค่อยๆเสื่อมอำนาจลง
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 โลกก็วุ่นวายโกลาหลจากภัยสงครามที่ปะทุขึ้นทั่วทุกพื้นที่บนโลก โดยเฉพาะสงครามโลกสองครั้งที่แทบทำให้โลกแตก และอังกฤษก็เป็นหนึ่งในประเทศแนวหน้าที่เข้าร่วมสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียทั้งทรัพยากร เงินทอง รายได้ ความมั่นคง และความยิ่งใหญ่ด้วย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง หลากหลายดินแดนอาณานิคมของแต่ละจักรวรรดิเริ่มปลุกกระแสชาตินิยมด้วยการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อแสดงจุดยืนว่าต้องการแยกตัวเป็นอิสระ แต่ด้วยความสูญเสียและความบอบช้ำจากสงครามที่ทำให้การบริหารจัดการปกครองอาณานิคมลดประสทธิภาพลง
ในที่สุดหลากหลายอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษก็ต่างทะยอยประกาศเอกราช ทำให้จักรวรรดิอังกฤษค่อยๆเสื่อมอำนาจลง จนกระทั่งล้มหัวคะมำเมื่อไม้ค้ำจุนได้เคลื่อนหนีออกไป นั่นก็คือ การประกาศเอกราชของอืนเดีย ซึ่งอังกฤษพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาอาณานิคมนี้ไว้ แต่สุดท้ายก็ทนแรงต้านอันเข้มแข็งของประชาชนชาวอินเดียไม่ไหว อังกฤษจึงจำใจปล่อยอินเดียออกไป เป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ที่ทำให้อังกฤษไม่มีวันกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกแล้ว
ปิดฉากอวสานจักรวรรดิอังกฤษ
หลังจากเสียอาณานิคมบริติชอินเดียและดินแดนอื่นๆไปจนหมดตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา จนกระทั่งมาถึงจุดสิ้นสุดอย่างเป็นทางการ เมื่อธงชาติสหราชอาณาจักรที่โบกสะบัดอยู่บนดินแดนฮ่องกงได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาแล้วแทนที่ด้วยธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเวลา 0.01 น. ของวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 ในพิธีส่งมอบฮ่องกงคืนแก่ประเทศจีน เป็นการปิดฉากจักรวรรดิอังกฤษอันใหญ่โตมโหฬารอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
พิธีส่งคืนฮ่องกงให้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากเชิญธงชาติจีนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงขึ้นสู่ยอดเสาที่ลานพิธีตอน 0.01 น. ของวันที่ 1 กรกฎาคม 1997
โฆษณา