27 ต.ค. 2021 เวลา 07:44 • ไลฟ์สไตล์
ว่าด้วยเรื่อง "วัฒนธรรมการแบกหาม"ทำไมการแบกถึงเป็นประเด็นในสังคม?
ทำไมต้องแบกและทำไมถึงอยากเลิกแบก?
เราลองมาถอดสัญญะหรือมายาคติของการแบก เพื่อเข้าใจมุมมองของสังคมเกี่ยวกับวัฒนธรรมการแบกให้มากขึ้น
อะไรที่คนเราต้องแบก?
แบกของกิน แบกของใช้ แบกสัมภาระ แบกคน แยกอารมณ์ แบกความรู้สึก แบกหน้าตา แบกโลก ฯลฯ
ผู้คนแบกสิ่งต่างๆไว้เพื่ออะไร?
เมื่อผู้คนต้องแบก มันสามารถถอดความออกมาได้ว่าสิ่งที่แบกไว้นั้นมันมีคุณค่า อย่างน้อยสิ่งที่แบกมันต้องมีคุณค่าหรือมีประโยชน์สำหรับคนๆนั้นมากพอให้เขาแบกไว้
แบกของกินเพราะมีประโยชน์ตอนหิว แบกของใช้เพราะมีประโยชน์ตอนจะใช้ แบกอารมณ์และความรู้สึกเพราะมีประโยชน์ต่อความสัมพันธ์
ในวัฒนธรรมแบบสมัยใหม่ ถ้าคุณเป็นคนมีความสามารถและเป็นตัวที่ยืนหยัด แบกรับภาระในการนำพาสมาชิกไปจนถึงจุดหมาย คุณจะได้ฉายา “เดอะ แบก” และได้รับการยกย่องในทางสังคม
1
แต่การแบกที่ถูกบังคับหล่ะ มันสื่อถึงอะไร?
ในอดีตทาสหรือคนชนชั้นต่ำ มักจะถูกนำมาแบกผู้ที่ชนชั้นสูงกว่า
และการแบกหามแพร่หลายอยู่ในหลายวัฒนธรรมไม่ใช้แค่ในไทย แค่ยังรวมถึงในจีน ในอินเดีย
เมื่อคนถูกนำมาใช้ในฐานะแรงงานที่ต้องทำหน้าที่แบกหาม เป็นทาสก็ต้องเทิดทูนเจ้านาย เป็นคนธรรมดาก็ต้องเทิดทูนเทพเจ้า มันผิดปกติตรงไหน?
คำตอบคือ เพราะความปกติธรรมดานี่แหละ คือกระบวนการทำงานของมายาคติ (Myth)
เพราะความหมายการแบกหามไม่ใช้แค่การยกขึ้นบนบ่าอีกต่อไป มันได้แฝงความหมายทางสังคมของการยกย่องผู้ที่ถูกแบกและขณะเดียวกันก็ลดทอนคุณค่าของคนแบกลง
เมื่อผู้คนเห็นการแห่ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือสิ่งของ/คนที่ถูกแบกไว้ ด้านบนไม่ใช่คนแบกหามด้านล่าง พวกเขาถึงถูกเบียดขับให้กลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพาหนะ
ยิ่งสิ่งที่แบกไว้มีน้ำหนักมากและมีคนแบกหามจำนวนมาก ยิ่งสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของสิ่งของ/คนที่ถูกแบก
ยิ่งหนัก ยิ่งคนเยอะ = ความยิ่งใหญ่และสูงส่ง
ถ้าจะเทียบให้สุดโต่งก็คือ การแบกหามได้ทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนแบกหามถูกลดลงจนเปรียบเสมือน ม้า ลา วัว รถลาก ฯลฯ สื่อถึงสถานะที่ต้อยต่ำกว่าเพื่อยกย่องเชิดชูสิ่งที่พวกเขาแบกหามเอาไว้
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง 300
หลายคนที่เห็นดีเห็นงามกับการแบกหามที่มาจาก “การบังคับ” ย้ำว่าจาก “จากการบังคับ” ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาไม่ใช่คนแบกหามเอง
1
แต่อยู่ในสถานะผู้ชม และอยู่ในสถานะผู้ชมที่รู้สึกธรรมดากับความเป็นไป ธรรมดากับความสูงต่ำนั้น ธรรมดากับการบีบบังคับ ธรรมดาเพราะตนเองไม่ต้องเป็นคนแบกอีกต่อไป
ธรรมดาเพราะมายาคตินี้ได้ฝังอยู่ในตัวของพวกเขาจนชาชิน
เมื่อเรากลับมาที่ประโยคที่ว่า คนเราจะแบกสิ่งต่างๆก็ต่อเมื่อเค้าเห็นคุณค่าของมัน
ดังนั้นแล้วเมื่อใครที่มองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นอีกต่อไปแล้ว การให้เขาแบกหามมันไว้จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่า "การบังคับ"
และเมื่อถูก “บังคับ” ให้แบกเอาไว้สิ่งเดียวที่ถูก "อนุรักษ์" ไว้ ไม่ใช่วัฒนธรรมอันดีงามใดๆ แต่เป็นสัญญะของ "อำนาจ", "การกดขี่ ข่มเหง" และ “ความไม่เป็นธรรม”
การจะให้คนผู้เห็น"คุณค่า" กับสิ่งใดนั้น มันต้องมาจากความ ”เต็มใจ” ไม่ใช่ "การบังคับ"
ดังนั้นแล้วใครจะแบกหามอะไร ก็ไม่น่าใช่ปัญหา ประเด็นคือพวกเขาควรต้องแบกมันด้วย “ความเต็มใจ” และเห็น “คุณค่า”
และถ้าคนรุ่นเก่าอยากให้คนรุ่นหลังสืบทอดสิ่งที่เราทำเอาไว้ ไม่ว่าในสังคมใดก็ตาม ต้องไม่ลืมถ่ายทอด “วิธีคิดคุณค่า” หรือ “ความหมาย” ที่อยู่ภายในให้พวกเขายอมรับ ไม่ใช่เช่นนั้นแล้วสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นเพียง “พิธีกรรมที่ว่างเปล่า” และผู้คนไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาเพื่อพาดพิงหน่วยงานหรือองค์กรใด และไม่ได้มีเจตนาตัดสินเรื่องความเหมาะสม วัตถุประสงค์คือเพื่อตั้งคำถาม กับ วัฒนธรรมการแบกหามในเชิงสัญลักษณ์ของสังคมมนุษย์เท่านั้น
โฆษณา