27 ต.ค. 2021 เวลา 03:09 • ธุรกิจ
เหมาจ่ายค่าล่วงเวลาไปกับค่าจ้าง หรือกำหนดว่าโอทีชนเพดานแล้ว
ตอบสั้นๆ ก่อนนะ ว่า "ทำไม่ได้" เพราะเป็นการตกลงที่แตกต่างจากกฎหมายกำหนดไว้ มีผลเป็นโมฆะ
คดีนี้ นายจ้างทำข้อตกลงรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ โดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง ทั้งมีลักษณะเป็นการผูกพันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายมีผลเป็นโมฆะ
คดีนี้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ ๑๐ ชั่วโมง เช่นนี้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาวันละ ๒ ชั่วโมง
ข้อสังเกต
๑) นายจ้างอาจต้องระวังกรณีลูกจ้างอาจเก็บข้อมูลการทำงานเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เพื่อและมีการเรียกร้องภายหลังจากพ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้ว
๒) ข้อกำหนดทำนองว่า "หากลูกจ้างมีเงินเดือนถึง XXXX บาทแล้ว ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าล่วงเวลาอีก หรือที่เรียกว่าโอทีชนเพดาน ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการทำข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายมีผลเป็นโมฆะ
อนึ่ง หากฝ่ายบุคคลเห็นว่าลูกจ้างบางคนได้รับค่าจ้างสูงส่งผลให้ OT สูงไปด้วย ก็อาจใช้ช่องทางที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เช่น การกำหนดให้ลูกจ้างผู้นั้นมีอำนาจในทางการที่จ้าง หรือมีฐานะเป็นนายจ้าง หรืออาจใช้เทึคนิคอื่นๆ เช่นนี้ ฝ่ายบุคคลก็อาจช่วยนายจ้างวางแผนเชิงต้นทุนค่าจ้างได้
ที่มา: คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๐๕/๒๕๖๑
โฆษณา