27 ต.ค. 2021 เวลา 15:54 • ความคิดเห็น
...วันนี้ผู้เขียนจะมาเขียนบทความจิตวิทยาเช่นเคย หลายคนคงเคยมีประสบการณ์คนชอบแซะคนโน้นคนนี้ให้ดูไม่ดี จะว่าไปพูดแก้ต่างให้คนชอบแซะเนี่ย เป็นอะไรที่เสียเวลามาก ผู้เขียนเองก็เคยเจอประสบการณ์คนชอบแซะอย่างโน้นอย่างนี้ ซึ่งเคยแซะประมาณว่า "ไหนไม่รู้จักกันไง...ศีลเสมอกันดีนี่" นั่นก็แปลว่าคนนี้ต้องมีกลไกทางจิตที่ผิดปกติแน่ ๆ เลย แต่ก็โชคดีที่ผู้เขียนไม่ได้ศีลเสมอกับคนที่ขี้แซะคนนั้น ขอหัวเราะแรง ๆ คนดี ๆ ที่ไหนจะมาแซะคนอื่นเพื่อให้ตนเองดูดีจริงไหม เรื่องแปลก ๆ ก็มีแต่เรื่องอรรถรสได้ไม่เว้นวันเลยจริง ๆ แก้ยากกว่าโควิดก็เรื่องนิสัยคนชอบแซะให้คนอื่นเสียหายนี่แหล่ะ เพราะของแบบนี้ไม่ใช่แค่สันดานอย่างเดียว
3
กลไกทางจิตใจแบบก้าวร้าวมี 2 กรณี
1
1. Active Aggressive (ก้าวร้าวแบบสายบู๊)
1
คนกลุ่มนี้จะก้าวร้าวในเชิงแสดงท่าทีตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง ไม่อ้อมค้อม คนเหล่านี้ค่อนข้างจะแสดงออกชัดเจนว่าคนนี้ก้าวร้าว เก็บอารมณ์ไม่เก่ง พร้อมบวกกับคนที่ไม่ชอบได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะใช้กำลัง หรือด่ากันตรง ๆ แบบซึ่ง ๆ หน้า จะได้เห็นกันชัด ๆ ไปเลยว่าจะทำอะไร เพราะอะไรถึงทำเช่นนั้น จะเห็นได้ชัดจากกิริยาที่ทำสิ่งนั้น รวมถึงคำพูดแรง ๆ ในสังคมออนไลน์
2
2. Passive Aggressive (ก้าวร้าวแบบเก็บ ๆ )
1
คนกลุ่มนี้จะทำอะไรก็ทำกันแบบไม่แน่นอน ชัดเจนเหมือนข้อแรก มักจะเป็นแบบ Off-Record หรือกระทำกันหลังไมค์ เช่น แซะคนที่ไม่ชอบกับคนที่ถูกคอคุยด้วยกัน เพราะสิ่งที่ทำมักจะอุบไม่ให้ใครรู้ หรือพูดลอย ๆ ตั้งใจให้กระทบคนอื่นโดยไม่เอ่ยชื่อ และการก้าวร้าวในกลุ่มนี้จะมีการเรียกร้องความสนใจไปในตัว เพื่อดึงดูดให้คล้อยตามเกม
2
โรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับ "การแซะ"
3
1. Histrionic Personality Disorder
หรือเรียกว่าโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย ซึ่งอาการชอบแซะ ชอบแขวะคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรียกร้องความสนใจ เมื่อถูกลดความสนใจก็จะอยู่ไม่เป็นสุข กระวนกระวาย แต่ถ้าแขวะหรือแซะคนอื่น ก็จะเป็นการกระตุ้นให้อีกฝ่ายสนใจในสิ่งที่ตนเองทำ หรือแขวะคนอื่นทุกอย่างให้ดูไม่ดีในสายตาคนนั้นไปเลย แล้วคนเหล่านั้นจะมีความสุขมากที่คนที่เราทำให้ดูไม่ดีในสายตาใคร ๆ นั้นสำเร็จ แต่นั่นไม่ได้แปลว่าคนที่แขวะคนอื่นจะดูเหมือนคน "จิตปกติ" หรอกนะ
2
2. Narcissistic Personality Disorder
หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "โรคหลงตัวเอง" แม้ว่าจะดูไม่ร้ายแรงอะไรมากนัก แต่โรคนี้มีกลไกบางอย่างเช่น คนที่เป็นมักจะชอบออกคำสั่ง ซึ่งก็คือหนึ่งในอาการของโรคหลงตัวเอง พอมีอะไรขัดใจนิดขัดใจหน่อยก็จะหาเรื่องแซะ แขวะคนอื่น เพื่อที่ตัวเองจะได้การตอบรับในสิ่งดี ๆ คืนมา และคนที่เป็นโรคนี้จะไม่ยอมรับตัวเองว่า "ป่วย"
1
3. Bipolar Disorder
หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คนกลุ่มนี้จะไม่สามารถสมดุลทางอารมณ์ของตนเองได้เลย เพราะบางครั้งมีความ Mania หรือบทจะดีใจก็ดีใจสูงกว่า แต่อีกช่วงกลับมีช่วง Depression หรือบทจะเศร้าก็เศร้าสูงกว่า จึงไม่สามารถควบคุมอาการของตนเองได้ หรือถ้ามีอะไรที่เป็นจุดเร้าก็สามารถแขวะคนอื่นได้เนื่องจากอารมณ์เปลี่ยนไปมาสลับกันจนบอกไม่ถูก และจะหงุดหงิดง่ายเมื่อมีอะไรมาสะกิด
1
4. โรคติดโซเชียล
ในโลกโซเชียลเป็นแบบโลกเสมือน (Virsual Social) จึงมีโอกาสเสี่ยงทางสุขภาพจิตได้ง่ายมาก เช่น มีการเสพติดยอดไลค์เพื่อให้รู้ว่าฉันสำคัญ รู้สึกมีความสุขปลอม ๆ ในโลกของตนที่ไม่ใช่ความจริง เกิดการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น และที่เกี่ยวข้องกับการแขวะ แซะคนอื่นนั่นก็คือ Hate Speech ในการว่าร้ายให้รุนแรง แสดงความเกลียดชัง ไม่ว่าจะโพสต์ หรือจะคอมเมนท์เพื่อไปผสมโรงด้วย หรือใช้คำพูดสาดเสียเทเสียหมายจะตายกันไปข้างก็ว่าได้ อย่าลืมว่าการที่แขวะหรือแซะคนอื่นในข้อนี้ น่ากลัวกว่าคนที่มีปืนเป็นอาวุธเสียอีก เพราะจะทำทุกอย่างด้วยความสะใจ ไม่สนว่าจะผิดหรือจะถูก
2
วิธีการรับมือกับคนจำพวกนี้
1
1. วิเคราะห์จิตของเจ้าของคำพูดแย่ ๆ นั้น
คนบางคนชอบระรานและปากเสียกับคนอื่นเป็นนิสัยและกิจวัตรปกติอยู่แล้ว ครั้งต่อไปหากคุณพบเจอคนที่ชอบพูดบั่นทอนคุณเป็นประจำ ลองใช้เวลาวิเคราะห์ในมุมมองของบุคคลที่สามว่า อะไรที่ทำให้คนคนนั้นมีนิสัยแบบนั้น เขาถูกเลี้ยงมาแบบไหน เติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบไหน ครอบครัวเป็นอย่างไร
คนหลายคนชอบพูดจาทำร้ายคนอื่น อันเนื่องมาจากการพยายามปกป้องตัวเองไม่ให้คนอื่นเข้ามาทำร้ายตนเอง ที่เรียนรู้มาจากประสบการณ์วัยเด็กที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการถูกรังแกหรือถูกถากถางเป็นประจำ พวกเขาจึงเรียนรู้ที่จะสร้างเกราะป้องกันตนเอง
พบว่าหากเราเข้าใจอีกฝ่ายมากขึ้น จะทำให้เราสงบลงได้ หัวร้อนน้อยลง เครียดน้อยลง และจะเห็นอกเห็นใจมากขึ้น รวมถึงยังปล่อยวางและอภัยได้มากขึ้นด้วย
3
2. มองคำพูดที่ผ่านเข้ามาเป็นเพียงขยะ
คำพูดหรือการกระทำแย่ ๆ จากคนอื่นก็เหมือนกับวัตถุมีพิษที่ต้องเก็บทิ้งทุกวัน แน่นอนว่าหลายครั้งคุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอเรื่องราวให้ปวดหัวหรือรำคาญใจ แต่มากกว่า 50% ของเรื่องราวเหล่านั้น ไม่มีประโยชน์ที่ต้องเก็บมาคิดต่อ จดจำ หรือคิดวนเวียนให้รกสมอง ถ้าคุณไม่คิดจะเก็บขยะไว้กับตัวฉันใด คุณก็ควรทิ้งขยะในใจออกไปทุกวันด้วยฉันนั้น
อย่าเก็บสารพิษไว้กับตัว อย่าเอาแต่คิดวนเวียนซ้ำ ๆ ถึงเรื่องเหล่านั้น เพียงแค่หยุด ไม่คิดต่อ ไม่ทบทวน ไม่ฉายซ้ำ หยุดคิดแล้วออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ออกไปรับสิ่งดี ๆ เข้าร่างกาย เพื่อบรรเทาพิษจากสิ่งร้ายเหล่านั้นบ้าง เท่านี้ชีวิตของคุณก็เบาขึ้นเยอะแล้ว
2
3. ขอบคุณในฐานะเป็นแหล่งสร้างพลัง
คุณคงปฏิเสธไม่ได้ว่า บางครั้งคำพูดที่เจ็บแสบ คำดูถูก ถากถาง กลับกลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีให้คุณออกเร่งเครื่อง ฮึดลงมือทำตัวเองให้พ้นจากข้อกล่าวหาเหล่านั้น ยิ่งคุณสามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นให้กลับกลายมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนคุณได้มากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ตักตวงประโยชน์จากสถานการณ์ได้มากเท่านั้น
การขอบคุณจะทำให้คุณมองด้านบวกมากขึ้น แต่นั่นต้องอาศัยทัศนคติและมุมมองที่สร้างสรรค์ในระดับหนึ่ง คนฉลาดจะพยายามเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนสิ่งลบ ๆ ให้กลายเป็นโอกาสในด้านบวกให้ได้ เพราะมองเห็นแล้วว่าหากปล่อยให้สิ่งลบวนเวียนอยู่ในหัวสมองนาน ๆ จะไม่เป็นผลดีกับตัวเองแน่นอน ดังนั้นจงขอบคุณและรู้สึกตามนั้นจริง ๆ ขอบคุณที่เป็นพลังให้ฮึดสู้ ขอบคุณที่ทำให้รู้ตัวเอง ขอบคุณที่ทำให้ได้ฝึกทักษะการมองในแง่บวก ฯลฯ แล้วคุณจะคุมเกมได้มากขึ้น
4.บอกให้อีกฝ่ายทราบถึงปัญหาของเรา
บางครั้งเมื่อถึงเวลาต้องพูด ก็ควรพูดออกไปให้อีกฝ่ายรู้ว่าที่เธอทำแบบนี้เราไม่โอเคนะ! แต่คนฉลาดมักพยายามหาวิธีพูดที่ดีที่สุดในการเลี่ยงความร้าวฉานเสมอ ไม่แน่ว่า สิ่งที่เจ้าตัวทำอาจเป็นแค่การเผลอไผลไป
5.เผชิญหน้ากับคนที่ไม่ชอบ
แทนที่จะหลบหน้า คนฉลาดมักเลือกที่จะเจอกันซึ่งๆ หน้ามากกว่า ถ้าหากมีความเห็นอะไรที่ขัดแย้งกันก็สามารถถกกันได้ในทันที ซึ่งในหลายๆ ครั้งคนที่พยายามขัดขาเรานี่แหละที่ชี้ให้เราเห็นในสิ่งที่ไม่เคยมองเห็นได้ และอย่าลืมว่า ไม่มีใคร(รวมทั้งตัวเรา)เพอร์เฟ็กต์เสมอไปหรอกนะจ๊ะ
6.เว้นที่ให้มีช่องว่างระหว่างกัน
ถ้าพยายามทำทั้ง 7 ข้อที่ผ่านมาแล้วไม่เห็นผล คนฉลาดมักเลือกที่จะเว้นระยะห่างออกมาจากคนที่ไม่ชอบสักนิด (แต่ไม่ใช่หนีหน้านะ!) เพราะด้วยระยะห่างที่มีและเวลาที่ผ่านไป รับรองว่าข้อบาดหมางในใจย่อมถูกเยียวยาไปได้เยอะแน่นอน
1
โฆษณา