29 ต.ค. 2021 เวลา 14:12 • ปรัชญา
"จิตฟุ้งซ่านมาก ไม่ควรทำสมาธิใช่หรือไม่ ?"
" ...​ เวลาจิตฟุ้งซ่านมาก ๆ
ก็แสดงว่าจิตมันต้องการคิดนั่นเอง
เราก็อาจจะใช้การคิดพิจารณา
เพื่อให้จิตมันคลายจากเรื่องที่คิด
เรื่องที่กังวลก่อนก็ได้
ท่านอุปมาไว้ว่า
เหมือนน้ำที่มันกำลังเชี่ยวกราก
อยู่ ๆ เราเอาไม้ไปขวาง ก็ขวางไม่อยู่หรอก
มันก็ถูกซัดไป
ผู้มีปัญญาก็จะค่อย ๆ ปรับ ๆ
ปรับให้มันเข้าร่อง
ช่วงที่ฟุ้งมากนี่ บางทีตั้งสติอยู่เฉย ๆ ไม่อยู่
มันซ่านไป อยากคิด
เราก็ใช้กรรมฐานในเรื่องของการคิดต่าง ๆ
ที่เรียกว่า สัญญา ก็ได้
เช่น การเจริญอนิจจสัญญา
การพิจารณาถึงความไมเ่ที่ยง
สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นแล้ว
ก็คลายตัวไป ก็สลายตัวไป
การเจริญอนิจจสัญญา
พระองค์ตรัสว่ามีประโยชน์มาก
หรือแม้กระทั่งการเจริญอนัตตสัญญา
ทุกขสัญญาต่าง ๆ
หรือว่าเราติดเรื่องอะไรอยู่
เราก็พิจารณากรรมฐานในเรื่องที่ช่วยให้คลายออก
เช่น ติดในเรื่องของกามราคะ
ก็พิจารณาเกี่ยวกับความเป็นสิ่งปฏิกูล
พิจารณาร่างกายอาการ 32
หรือ อสุภสัญญาก็ได้
หรือว่าเรากำลังโกรธเกิดความหงุดหงิด
เราก็ใช้กรรมฐานเย็นช่วย
เช่น การเจริญพรหมวิหาร
หรือว่าเรากำลังติดอยู่ในรสของอาหาร
เราก็จะใช้เรื่องของอหาเรปฏิกูลสัญญาพิจารณา
ก็เรียกว่าจิตมันซ่าน กำลังคิดมาก
เราจะตั้งสติไว้ให้อยู่กับตัวไม่อยู่
ที่เรียกว่าไม่ให้ทำสมาธิ
จริง ๆ แล้วก็ทำนั่นแหละ
แต่ว่าตั้งไว้ไม่อยู่นั่นเอง มันซ่านออก
เพราะว่ากำลังของความคิดปรุงแต่งมีมาก
เราก็ค่อย ๆ ตะล่อมนั่นเอง
ก็ใช้การพิจารณาช่วยได้
หลายคนชอบคิด ชอบปรุง
อยู่ ๆ ให้ตั้งสติไว้กับตัวนี่ไม่อยู่นะ
มันซ่านไป มันชอบคิด จิตหิวอารมณ์นั่นเอง
เราก็คิด แต่คิดในเรื่องของข้ออรรถ ข้อธรรม
กรรมฐานต่าง ๆ เราก็สามารถดึงมาใช้ได้นะ
พอเริ่มคิดจนเริ่มคลายแล้ว
เราก็เข้าสู่ความสงบ
ก็คือความรู้สึกตัวต่อ
หรือเจริญอานาปานสติต่ออย่างนี้ก็ได้
เพราะฉะนั้นกรรมฐานก็จะมีกรรมฐาน
ที่ใช้เรื่องของสัญญา คือ การคิดพิจารณา
กับกรรมฐานในเรื่องของการที่เราวางใจไว้นิ่ง ๆ
ให้อยู่กับความสงบนั่นเอง
ที่จะเข้าสู่สมาธิระดับสูงได้ ... "​
.
ธรรมบรรยาย โดย
พระมหาวพรต กิตฺติวโร
Photo by : Unsplash

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา