2 พ.ย. 2021 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา ทำไม กฟผ. ถึงจริงจังกับธุรกิจ ชาร์จพลังงานรถไฟฟ้า
กฟผ. X ลงทุนแมน
หากพูดถึง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.
เราก็จะนึกถึง รัฐวิสาหกิจ ที่ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าและรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน
จากนั้นก็จะส่งพลังงานไฟฟ้าไปยัง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง
เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าไปยังบ้านเรือน และบริษัทต่าง ๆ
ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจหลักที่ กฟผ. ทำมานานถึง 52 ปี
2
แล้วใครจะคิดว่าเวลานี้ กฟผ. กำลังจะมีธุรกิจใหม่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน
นั่นคือ ธุรกิจบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจร
ตั้งแต่แท่นชาร์จ และตู้อัดประจุไฟฟ้า จนถึงการวางระบบบริหารสถานีชาร์จต่าง ๆ
โดยธุรกิจนี้มีชื่อว่า EGAT EV Business Solutions
1
ทำไม กฟผ. ถึงสนใจและจริงจังในธุรกิจนี้
และโมเดลธุรกิจนี้จะมีรูปร่างหน้าตาเป็นแบบไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูอัตราการเติบโตของรถ EV Car กันก่อน
หากย้อนกลับไปดูข้อมูลในปี 2010 ยอดขาย EV Car ทั่วโลกอยู่แค่พันกว่าคัน
จนมาถึงปี 2020 ยอดขาย EV Car ทั่วโลกอยู่ที่ 2.3 ล้านคัน หรือคิดเป็น 3.2%
จากยอดขายรถยนต์ทั้งหมดทั่วโลก
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีการคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า
EV Car จะมียอดขายแซงหน้ารถเครื่องยนต์สันดาป
ทีนี้เราลองนึกดู หากรวมรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่บนท้องถนนอยู่แล้วก่อนหน้านี้
มาบวกกับยอดขาย EV Car ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี
นั่นแปลว่า ในอนาคตจำนวน EV Car จะวิ่งโลดแล่นเต็มท้องถนนทั่วโลก
1
แม้ในบ้านเราจะออกสตาร์ตช้ากว่าประเทศอื่น ๆ แต่การเติบโตก็เป็นไปตามเทรนด์โลก
โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา รถปลั๊กอิน ไฮบริด และ EV Car รวมกันมีจำนวน 1.8 แสนคันบนท้องถนน
และมีการคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี 2040 หรือ 20 ปีข้างหน้า
ประเทศไทยจะมีรถพลังงานไฟฟ้ารวมกันกว่า 2.5 ล้านคันบนท้องถนน
1
นั่นแปลว่าต่อจากนี้ไป ยอดขายรถปลั๊กอิน ไฮบริด และ EV Car จะเติบโตก้าวกระโดดทุกปี
ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยค่อย ๆ ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านในอนาคต เมื่อรถพลังงานไฟฟ้าต่าง ๆ จะมาแทนที่อุตสาหกรรมรถยนต์สันดาป อย่างไม่มีวันหวนกลับมา
พอมองเห็นภาพอนาคตชัดเจน กฟผ. รัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในการผลิตและจัดหาพลังงานไฟฟ้า พัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบไฟฟ้า และมีเป้าหมายในการลดการปล่อย CO2 ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง จึงเลือกใช้ความแข็งแกร่งตรงนี้
มาต่อยอดทำธุรกิจชาร์จรถพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย
2
เพียงแต่ธุรกิจนี้ ก็ไม่ใช่ทำให้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ
รู้หรือไม่ ปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าหัวชาร์จเจอร์ ตู้อัดประจุไฟฟ้า
จนถึงแพลตฟอร์มบริหารจัดการสถานีชาร์จไฟจากต่างประเทศทั้งหมด
ซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างสูง
1
นั่นแปลว่า ต้นทุนทางธุรกิจก็จะสูงตามไปด้วย
ผลที่ตามมาคือ กลายเป็นธุรกิจที่ยากต่อการทำกำไร
ซึ่งยังรวมไปถึงคนที่ต้องการซื้อเครื่องชาร์จไฟฟ้าไว้ที่บ้านที่ต้องจ่ายในราคาแพง
แล้ว กฟผ. จะเข้ามาช่วยคลายปัญหานี้ได้อย่างไร ?
วิธีที่ กฟผ. เลือกคือ ทำลายกำแพงตรงนี้
ด้วยการเป็นทั้งผู้ผลิตและเป็นพันธมิตรกับบริษัททั้งใน และต่างประเทศ
เพื่อทำให้ หัวชาร์จเจอร์, ตู้อัดประจุไฟฟ้า และการวางระบบบริหารจัดการ มีราคาที่ถูกลง และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
3
และเมื่อทำให้ต้นทุนวัตถุดิบหลักธุรกิจลดลง ก็ย่อมสร้างโอกาสในธุรกิจหลากหลาย
พร้อมกับตั้งเป้าหมายให้อนาคตประเทศไทยมีสถานีชาร์จไฟฟ้าครอบคลุมทุกพื้นที่
แล้วมีวิธีไหนบ้าง ที่จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้ประสบความสำเร็จ
โดยวิธีของ กฟผ. คือเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้าง Ecosystem ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
โดยแบ่งออกเป็น 4 ธุรกิจหลัก
1. สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT”
1
รู้หรือไม่ว่า “EleX by EGAT” สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ถึง 120 kW
และสามารถต่อยอดพัฒนาถึง 350 kW พร้อมกับมีแรงดันสูง 920 VDC
หลายคนอาจจะงงกับข้อมูลตัวเลขนี้
แต่ถ้าอธิบายให้เห็นภาพก็คือ หากชาร์จแบบกระแสตรง DC จากแบตเตอรี่หมดเกลี้ยงจนเต็ม 100%
จะใช้เวลาแค่ 20 นาที
โดยภายในสิ้นปีนี้ จะมีถึง 48 สถานี ขณะเดียวกัน กฟผ. ก็ยังเปิดรับบริษัทเอกชน
ที่ต้องการทำธุรกิจสถานีชาร์จเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันจะมีกลุ่มธุรกิจ โรงพยาบาล, สถานีบริการน้ำมัน,
ร้านอาหาร เข้าร่วมเป็นพันธมิตร
 
และยังมองว่า ในอนาคตอันใกล้ ก็จะมีกลุ่มธุรกิจขนส่งจนถึง Food Delivery
เปลี่ยนมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น รถบรรทุก, มอเตอร์ไซค์, รถยนต์
โดย กฟผ. ก็ได้เตรียมโมเดลธุรกิจไว้รองรับ
2
2. App Elexa
สิ่งที่จะทำให้ EV Car วิ่งเต็มท้องถนนเมืองไทยได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
คงไม่ใช่แค่การขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว
แต่ต้องทำให้รู้สึกว่าการใช้รถ EV Car เป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย
จึงเป็นที่มาของ Application ที่ชื่อว่า “Elexa” ที่จะทำให้ผู้ใช้ EV Car สะดวกสบาย
ตั้งแต่ค้นหาสถานี และจองการชาร์จ หรือแม้แต่จ่ายเงินผ่าน App ก็สามารถทำได้
1
3. EGAT Wallbox
หลายคนคงถามว่า เจ้าสิ่งนี้คืออะไร
หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ EGAT Wallbox จะเป็นกล่องขนาดเล็กดีไซน์เรียบหรู ที่ติดตั้งไว้ในบ้านเพื่อชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้แก่ EV Car
หรือหากบริษัทร้านค้าต่าง ๆ ต้องการนำไปติดตั้งเป็นธุรกิจก็สามารถทำได้
โดยมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 53,000-250,000 บาท
ส่วนฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ก็จะแตกต่างกันไปตามราคาของเครื่อง
โดยทาง กฟผ. ได้รับสิทธิ์ในการจำหน่าย ติดตั้ง และซ่อมบำรุงเพียงรายเดียวในประเทศไทย
3
4. ระบบบริหารจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า BackEN
ระบบนี้จะทำการเชื่อมต่อทั้งผู้ใช้ EV Car, สถานีชาร์จไฟ จนถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ารวมกัน
เพื่อให้ภาพรวมการทำงานในระบบมีประสิทธิภาพ และมีความเสถียรสูง
ถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่าโมเดลธุรกิจของ กฟผ.
คือการแก้ Pain Point ทำลายกำแพงรอบด้านในเรื่องการชาร์จไฟฟ้าลงสู่รถ EV Car
และผลลัพธ์จากธุรกิจนี้ก็คือ การพัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบไฟฟ้าที่สนับสนุนให้ EV Ecosystem เกิดขึ้น และการสนับสนุนประเทศไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
1
ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องผลักดันเรื่องนี้จริงจัง
ก็คือ การที่ภาครัฐต้องการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเรื่องนี้หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า
ควันไอเสียรถยนต์จนถึงพาหนะอื่น ๆ ทั่วโลกได้สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็น 75%
จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และนำมาซึ่งภัยธรรมชาติต่าง ๆ
1
เพราะฉะนั้นการจะทำให้ในอนาคตถนนเมืองไทย ไร้ควันพิษ ไร้เสียงดังกวนใจ จากเครื่องยนต์ต่าง ๆ
จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ กฟผ. ให้ความสำคัญ
2
แม้จะไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
แต่ กฟผ. กำลังทำให้คนในประเทศไทยตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
ด้วยการสร้าง Ecosystem ในการชาร์จพลังงานไฟฟ้า
ตั้งแต่ในบ้าน จนถึงทุกแห่งหนบนท้องถนนเมืองไทย..
3
-บทสัมภาษณ์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
-เอกสารข้อมูลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
โฆษณา