30 ต.ค. 2021 เวลา 00:02 • ประวัติศาสตร์

มหาราชชาตินักรบ

มหาราช "ดำ"
พระรูปหล่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : พิธีอัญเชิญจากอยุธยา มายังพิษณุโลก และเชียงใหม่ ประดิษฐาน ณ ข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ อำเภอเวียงแหง ภาพ ; ปัญญา ล่องแก้ว
LOGISTICS 
เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ไทย-พม่า-จีน
* ชัยยง  ไชยศรี
ศึกษาธิการอำเภอเวียงแหง
(2545-2547)
1
Logistics เส้นทางเดินทัพพระองค์ดำ เชียงใหม่-เมืองนาย(พม่า) ภาพ ; ชัยยง ไชยศรี 2557
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนอุษาอาคเนย์ 
 
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงแผ่แสนยานุภาพจนพระราชอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก กษัตริย์น้อยใหญ่ นานาประเทศ อ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์
 
         พระเกียรติยศขจรขจายไปไกลทั่วหล้าใต้ฟ้าแดนดิน
เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์ เสด็จมาเข้าเฝ้าชื่นชมพระบารมี
ทรงเด็ดเดี่ยวกล้าหาญยิ่งนัก อาสาราชสำนักจักรพรรดิ์จีน ส่งกองเรือรบนำผู้กล้าจากดินแดนเจ้าพระยา ข้ามน้ำ ข้ามทะเล ระยะทางไกลหลายหมื่นลี้ เข้าโจมตีกระหนาบญี่ปุ่น เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นถอนกำลังทหารที่ส่งไปรุกรานเกาหลี และเกาหลีร้องขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิจีน จนราชสำนักจักรพรรดิจีนบันทึกไว้เป็นพระเกียรติยศอันสูงสุดของ
"มหาราชชาตินักรบ "
แห่งสุวรรณภูมิทวีป
แสดงถึงจิตใจที่ห้าวหาญ แข็งกล้า แกร่ง เกินตัว
ไม่เกรงกลัวแม้แต่
"ปีศาจนินจา"และ"ซามูไร"
 
        พลังเดชานุภาพ ก่อเกิดสันติภาพ บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแน่นหนา ยิ่งกว่ารัชกาลใดๆ
กาลต่อมา พม่า ผลัดแผ่นดิน แย่งชิงกันเป็นใหญ่ โดยพระเจ้าอังวะ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง อันประสูติแต่พระสนม ทรงมีกองทัพที่เข้มแข็ง และหยั่งเชิงดูท่าทีกระทำการเลียนแบบพระราชบิดา โดยส่งกองทัพเข้ารุกราน " เมืองนาย"
"เมืองนาย" เมืองลูกหลวงของเชียงใหม่ ในสมัยราชวงศ์มังราย ตั้งอยู่รัฐฉานใต้ พม่า และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ เป็นระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร
ซึ่งเป็น"เมืองลูกหลวง"และเมืองหน้าด่าน ของเชียงใหม่ ประกอบกับเชียงใหม่ อยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงศรีอยุธยา แล้ว
ดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการท้าทาย พระราชอำนาจของ
"มหาราชดำ"  
โดยตรง
...ลุล่วงถึงปีพุทธศักราช  2147
พระองค์ทรงกรีฑาทัพทหารกล้า 100,000 นาย จากกรุงศรีอยุธยา มายัง นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
เป้าหมาย "ปลดแอก" "เมืองนาย"
และทำลาย
"กรุงอังวะ"
 
           แต่การศึกครั้งนี้เป็นศึกครั้งสำคัญที่จะผิดพลาดไม่ได้ เพราะ
               แม่น้ำอิระวดี
               แม่น้ำสาละวิน
               แม่น้ำโขง
           จะมารวมกับ
แม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นมหาปฐพี ในใต้หล้ากว้างใหญ่ไพศาลสุดเหลือคณาจากเหนือสู่ใต้ จากตะวันออกสู่ตะวันตก
สุวรรณภูมิทวีป
จะเป็นดั่งทองแผ่นเดียวกัน
1
ครัันกองทัพเดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่แล้วจึงมีพระราชโองการ"พักทัพหลวง" พร้อมกับเกณฑ์กองทัพหัวเมืองล้านนาเข้ามาสมทบอีกจำนวน 100,000 นายโดยใหัประชุมทัพ ณ เมืองฝาง และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นแม่ทัพหน้า และเดินทาง ไปถึงเมืองฝางเมื่อวันพฤหัสบดี แรม 11 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2148
ดังนั้นการศึกครั้งนี้จึงมีทหารกล้ามากถึง 200,000 นาย เพื่อพิชิต
"กรุงอังวะ" ให้จงได้
ประกอบกับช่วงเวลานั้นเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของไทย
จึงให้ "พักทัพหลวง"แรมทัพ ณ เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา 1 เดือน
1
เมื่อถึงกำหนดเวลาและกำลังพลพรั่งพรัอมแล้ว จึงลั่นกลองศึกเคลื่อนทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ ในวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 12 เมษายน 2148
การศึกครั้งที่สุดนี้จำเป็นต้องใช้ยุทธวิธี
"เกลือ จิ้ม เกลือ"
ทรงนำเอา พระเจ้านรธามังช่อ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเคยยกทัพเชียงใหม่ ปะทะ และพ่ายแพ้แก่กองทัพพระองค์ดำ ณ สมรภูมิบ้านสระเกษ มาแล้วและครั้งนี้แม้ว่าพระเจ้านรธามังช่อ จะถวายพระธิดาแด่พระองค์ดำก็ตามที ก็ยังทรงไม่ไว้วางพระทัย จึงให้พระเจ้านรธามังช่อ เสด็จในกองทัพหลวง ให้เป็น
"ผู้นำทาง" ไปเมืองนาย และ"อังวะ" ในฐานะ
"ตัวประกัน"
พระเจ้านรธามังช่อ เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ปกครอง 57 หัวเมืองขึ้น มาร่วม 25 ปีตั้งแต่ พ.ศ.2122 รู้ช่ำชองในพื้นที่ราชอาณาจักรล้านนาเป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเส้นทางหลักจากเชียงใหม่ไปยัง "เมืองนาย"และ "กรุงอังวะ"
เส้นทางเดินทัพพระเจ้าบุเรงนอง พ.ศ.2101 "เมืองนาย" แม่น้ำสาละวิน-"ท่าผาแดง"-เวียงแหง-เชียงใหม่ ภาพ ; ชัยยง ไชยศรี
ซึ่ง พ.ศ. 2101 เป็นเส้นทางที่พระราชบิดา(พระเจ้าบุเรงนอง)เคยยกทัพ มายึดเมืองเชียงใหม่ไว้ได้ โดยเคลื่อนกำลัง
90,000  นาย
เกณฑ์ 19 เจ้าฟ้าไทใหญ่ มาประชุมทัพที่ "เมืองนาย"
1
แล้วเคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำสาละวิน ณ
 
"ท่าผาแดง"
"ท่าผาแดง"เป็นท่าข้ามแม่น้ำสาละวิน ตั้งอยู่ทิศเหนือ ของ อ.เวียงแหง เป็นระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร ภาพ : ชัยยง ไชยศรีและคณะ
จากนั้นให้แบ่งออกเป็น
3 ทัพ ค่าเฉลี่ยทัพละ 30,000 นาย
ทัพที่ 1 ยกไปทาง "เมืองปาย" (อ.ปาย)เข้าเชียงใหม่
ทัพที่ 2 ยกไปทาง "เมืองแหง"(อ.เวียงแหง) เข้าเชียงใหม่
ทัพที่ 3 ยกไปทาง "เมืองเชียงดาว"(อ.เชียงดาว) เข้าเชียงใหม่
และสั่งอาญาสิทธิ์คาดโทษ หากแม่ทัพใดมาไม่ทันหมู่
ให้ตัดศีรษะแม่ทัพ
เสียบประจานบนเกาะ
"ท่าผาแดง"
กลางแม่น้ำสาละวิน
ครั้นแล้ว 3 ทัพเคลื่อนกำลังมาโดยลำดับและสนธิกำลังในวันเดียวกันได้ 90,000 นาย ล้อมเชียงใหม่ 3 วัน
เชียงใหม่ก็แตก ตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าบุเรงนองและรัชทายาทเนิ่นนานกว่า 200 ปี
ครั้นเวลาล่วงเลยมา 47 ปี ถึงรุ่นลูก จำตัองนำทางทัพหลวง "พระองค์ดำ"ย้อนรอยพระบิดาบุเรงนอง จากเชียงใหม่ ทวนสายน้ำปิง ลำห้วยแม่ขะจานจนถึง   "เมืองกื้ด"(ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง) จากนั้นทวนสายน้ำแม่แตง ผ่าน "เมืองคอง"(ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว) และผ่าน
"เมืองแหงหลวง" (อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่) ภาพ : ไกรสิน อุ่นใจจินต์
"เมืองแหงหลวง"
หรือเมืองแหน - Maing haing gyi
( อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่)
ข้ามแม่น้ำ สาละวินที่
"ท่าผาแดง"-Ta Phaleng  ผ่าน "เมืองปั่น"-Pan ข้ามน้ำ"เต็ง" -Teng ถึง
เมือง "นาย"-Mo nai
 ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเชียงใหม่ กับ "เมืองอังวะ" คือมีพิกัดตั้งอยู่ที่ระยะทางโดยประมาณ 350 กิโลเมตรจากเชียงใหม่
แต่เหตุการณ์วันนี้กับ 47 ปีที่แล้วอารมณ์ความรู้สึกของพระราชบิดากับราชโอรส ช่างแตกต่างกันลิบลับ
      พระราชบิดาบุเรงนอง กระหยิ่มฮึกเหิมลำพองใจ ที่จะได้ "เชียงใหม่"เมืองเก่าแก่แห่งราชวงศ์มังราย อาณาจักรล้านนา ไว้ในอำนาจ
1
แต่ ณ เวลานี้การณ์กลับกัน "ราชโอรส"อยู่ในภาวะคับขันตกเป็น"ตัวประกัน" นำทางไป"ยึดคืนเมืองนาย" และจำเป็นต้องไปไล่ล่า
สังหาร "เจ้ากรุงอังวะ" ซึ่งเป็น
พี่น้องร่วมสายโลหิตจากพ่อเดียวกัน เพียงแต่ต่างแม่เท่านั้น
อารมณ์ความรู้สึกในเหตุการณ์ระหว่างสมัยพระราชบิดา กับสมัยชั้นลูกนั้น  ช่างแตกต่างกันยิ่งนัก....
......... 397 ปีผ่านไป........
ลุล่วงถึงปี 2545
  สื่อสารมวลชนพาดหัวข่าว
"พระมาลา"ชาวเวียงแหง เชื่อว่าเป็นพระมาลาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาพ : ชัยยง ไชยศรี
" ....พบพระมาลา  ชาวบ้านเวียงแหง(อำเภอเวียงแหง)เชื่อว่าเป็นพระมาลาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช....
โดยชาวบ้านบางคนนำพระมาลาสวมใส่ศรีษะแล้วเกิดอภินิหาร
บ้างสติฟั่นเฟือน
บ้างเจอมรสุมร้ายในชีวิต
บ้างเสียชีวิตแบบพิสดาร ฯลฯ......"
สื่อ TV ออกข่าวครึกโครม
..กุมภาพันธ์ 2545
อ.เวียงแหง ให้การตัอนรับหัวหน้าส่วนราชการส่วนภูมิภาคสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในตำแหน่ง"ศึกษาธิการอำเภอ" คนใหม่ โดยโอนย้ายมาจากเมืองพระลอ
นายอำเภอเวียงแหง(ว่าที่ร้อยตรีอดิศวร  นันทชัยพันธ์) เชิญศึกษาธิการอำเภอคนใหม่ เข้าพบและมอบหมายให้เป็นประธานฝ่ายประวัติศาสตร์เพื่อสืบค้นเอกสารหลักฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาพื้นที่เวียงแหงหรือไม่? อย่างไร ?....
( หมายเหตุ
* ต่อมาภายหลังกว่า 12 ปี ตั้งแต่นายอำเภอ เกษียณอายุราชการแล้วและก่อนหน้าถึงแก่กรรมในเวลาไม่กี่ปี ท่านได้เล่าถึงที่มาซึ่งเป็นพื้นฐานให้ต้องมาศึกษาเส้นทางเดินทัพพระองค์ดำอย่างจริงจัง..
ข้าพเจ้าจะนำเสนอในลำดับ ต่อไป..)
ต่อมา อ.เวียงแหง ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย
    1. ฝ่ายโบราณคดี มี ดร.อนุชาต  ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา  จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เป็นหัวหน้า
2. ฝ่ายภูมิศาสตร์ มี นายสง่า บุญชม หัวหน้าโครงการพัฒนาเหมืองเวียงแหง จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้า
3. ฝ่ายประวัติศาสตร์ มี นายชัยยง  ไชยศรี  ศึกษาธิการอำเภอเวียงแหง เป็นหัวหน้า
แต่ละฝ่ายทำการศึกษา ค้นคว้ากันอย่างเข้มข้นเอาจริงเอาจัง  โดยกำหนดให้เสนอรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมเป็นระยะ
ฝ่ายโบราณคดีเร่งรุดเสนอความก้าวหน้าอย่างชวนตื่นตาน่าติดตามในความเป็นเมืองโบราณ"เมืองแหง"ปรากฏคูน้ำคันดินกำแพงเมือง
และตามติดๆกันฝ่ายภูมิศาสตร์เสนอข้อมูลว่าแต่เดิมแม่น้ำแตงไหลโอบเมืองโบราณเวียงแหง  เวลานานเข้าแม่น้ำแตงเปลี่ยนเส้นทางswing ตัวออกไหลเป็นเส้นตรง ก่อเกิดพื้นที่ราบลุ่มและเป็นทุ่งนาในที่สุด
ภาพถ่ายทางอากาศจากทีมงานหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล(ท่านมุ้ย)ครั้งสำรวจเส้นทางเดินทัพพระองค์ดำ ; แสดงภาพเมืองโบราณ"เมืองแหง"มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว ด้านเหนือและด้านตะวันออกเป็นคูน้ำคันดิน(กำแพงเมือง) ด้านตะวันตกและด้านใต้เป็นพื้นที่ยกตัวสูงเป็นปราการธรรมชาติ คล้าย"เมืองคัง"ในรัฐคะฉิ่น พม่า
แต่...
ฝ่ายประวัติศาสตร์ ..เงียบ..และเงียบเชียบ..เหมือนหลับไหลในค่ำคืนที่มืดมิด..
ทีมงานคณาจารย์จากทุกสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการทั้งกรมสามัญศึกษา กรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมการศึกษานอกโรงเรียน ฯลฯประชุมกลุ่มเล็กครั้งแล้วครั้งเล่าต่างมึน..งง?
... เพราะยังไม่พบหลักฐานเอกสารใดๆ ทั้งๆที่หลักฐานเชิงประจักษ์ปรากฏแก่สายตา ว่า "เมืองแหง" แห่งนี้ มีพื้นที่กว้างใหญ่ พบโบราณสถาน ซากเจดีย์ วัดร้างกว่า 50 แห่ง....
การสืบค้นเอกสารประวัติที่มาของ "เมืองแหง" เดินมาถึง
ทางตัน....
ข้าพเจ้าครุ่นคิดแสวงหาแนวทาง และเดินทางไปปรึกษาผู้รู้ขอคำแนะนำ จากนั้นตลุุยสืบค้นหนังสือประวัติศาสตร์ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆในเชียงใหม่ อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ....
1
แต่ก็ยังไม่พบเรื่องราวใดๆที่เกี่ยวข้องกับ "เมืองแหง"
เกือบจะจนใจ และเริ่มท้อ..แทบสิ้นหวัง...ในเมืองปริศนาที่ไร้ร่องรอยในการบันทึกประวัติความเป็นมา..ทั้งๆที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ กลาดเกลื่อนเป็นวัตถุพยานเต็มตาอยู่ทั่วเมือง....
ในท่ามกลางความมืดมิดแห่งอวิชชา..
วันหนึ่ง..
เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ข้าพเจ้าเดินทางไปหอสมุดแห่งชาติ "รัชมังคลาภิเษก"ของกรมศิลปากร ที่ อ.เมืองเชียงใหม่ นั่งอ่านวารสารเรื่องราวทั่วไป พลันเหลือบสายตามองไปยังมุมห้องเห็นกองหนังสือวารสารที่ถูกมัดเพื่อเตรียมส่งให้ฝ่ายรวบรวมเพื่อเย็บรวมเล่ม
บนสุดของกองหนังสือกองนั้น
....." พบเอกสารโบราณ 100 ปีไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน
....พระมหาอุปราชาถูกปืน".....
จึงขอเจ้าหน้าที่แก้เชือกมัดแล้วนำมาอ่าน  ...เป็นเอกสารข้างฝ่ายพม่าที่ชื่อว่า
"พงศาวดารพม่า ฉบับหอแก้ว"
ท่อนท้ายของบทความอ่านแล้วชวนฉงนสนเท่ห์
.." พระนเรศ(สมเด็จพระนเรศวรฯ)
ยกกองทัพ 20 ทัพ
จากเชียงใหม่ จะไปตีเมืองอังวะ  ครั้นเสด็จถึง "เมืองแหน" แขวงเมืองเชียงใหม่ ก็ทรงประชวรโดยเร็วพลัน ก็สวรรคต ในที่นั้น"...
ทำใมสวรรคต ณ
"เมืองแหน"?
ไม่ใช่เมือง"หาง"
ซึ่งเราเคยอ่านในหนังสือแบบเรียนของทางราชการ ตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถม ชั้นมัธยม ...หรอกหรือ?
แต่บทความนี้มีเนื้อความเพียงสั้นๆและเน้นที่พระมหาอุปราชาถูกปืน เป็นประเด็นหลัก
จึงสอบถามไปยังสำนักพิมพ์ฯ บอกว่าฉบับสมบูรณ์ จะจัดจำหน่ายราว 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอยู่
มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า ภาพ : สำนักพิมพ์มติชน
... ภายหลังจากได้รับหนังสือ "มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า"
หนาเกือบ 400 หน้าแล้ว จึงอ่านไปพิจารณาไปราว 2-3 รอบ  และขมวดช่วงเวลา 200 ปีนับตั้งแต่พระเจ้าบุเรงนอง กรีฑาทัพยึดได้เมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ.2101  ถึงรัชสมัย พระเจ้าตากสิน ขับไล่แม่ทัพพม่า
"เนเมียวสีหบดี"ออกจากเชียงใหม่ไป"หลบเลียแผล"ที่ "เมืองนาย"-Mo nai ใน พ.ศ. 2317
และมุ่งอ่านโฟกัสเฉพาะเจาะจง  "เมืองแหน" ถูกบันทึกถึง 3 ครั้ง ล้วนเป็นเหตุการณ์ สงครามเดินทัพระดับ 60,000 นาย ขึ้นไปทั้งสิ้น
ส่วนเมือง "หาง"หรือเมือง(หัน) ถูกบันทึก เพียงครั้งเดียว ความว่าถูกเกณฑ์เข้ากองทัพพม่าราว 800 คน เพื่อไปรบ อยุธยา
และเมืองหางไม่ใช่เส้นทางเดินทัพ
จากจุดประกาย ที่ปลายอุโมงค์
จึงสืบเสาะหาหลักฐานเอกสาร ได้มาทีละชิ้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหอสมุดแห่งชาติ กทม. มันเป็นเอกสารโบราณที่อ่านแล้วต้องอ่านอีก เพราะอ่านเข้าใจยาก
แต่เมื่อทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็เข้าใจ เช่น
3
1) "คำให้การท้าวสิทธิมงคล พ.ศ. 2388 "(สมัยรัชกาลที่ 3)
กล่าวถึงเส้นทางจาก "เมืองนาย"-รัฐฉาน พม่า มายัง เมืองเชียงใหม่ ว่ามีทั้งหมด 5 เส้นทาง
แต่ พม่ากลัวกองทัพเมืองเชียงใหม่จะบุกเส้นทางสาย เชียงใหม่-เมืองเวียงแหง-ข้ามแม่น้ำสาละวินที่
"ท่าผาแดง"
มากกว่าทุกเส้นทาง
เพราะเป็นเส้น
- ทางสั้นที่สุด
- ทางใหญ่และ
- เดินง่าย
พม่าจึงมาตั้งด่านที่
"ท่าผาแดง"
และ"เมืองปั่น"
สั่งให้ทหารลาดตระเวณตลอดเวลา....
"เมืองปั่น"-Pan ตั้งอยู่ด้านเหนือของ อ.เวียงแหง เป็นระยะทาง* 100 กิโลเมตร ในอดีตมี"เจ้าฟ้า"ปกครอง ปัจจุบันเป็นเมือง"กระจายสินค้า",มีจำนวนประชากร ใกล้เคียงกับ อ.เวียงแหง * 30,000-40,000 คน และมีความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติมาแต่โบราณโดยประชากร อ.เวียงแหง ประมาณครึ่งหนึ่ง บรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองปั่น ภาพ : ชัยยง ไชยศรี
2) จดหมายเหตุนครเชียงใหม่  พ.ศ.2408
บันทึกคำกล่าวฟ้องของ 1 ใน 5 ของเจ้าขัน 5 ใบของเชียงใหม่ ว่า
1
ในปีนั้น..เจ้าหลวงเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์หรือ เจ้าชีวิต "อัาว"-ถ้ามีกระแสรับสั่งว่า ..."อ้าว".,,หมายถึงให้เพชรฆาตนำตัวไปประหารชีวิตโดยวิธีตัดศีรษะ(หัว)...
.ถูกกล่าวหา...โดยมีคำกล่าวฟ้องถึงกรุงเทพฯความว่าดังนี้
".....พระเจ้าเชียงใหม่ ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมเอาใจออกห่าง
โดยเกณฑ์ราษฎร 700-800 คนทำถนนจากเชียงใหม่ ผ่าน
เมืองเวียงแหง(อ.เวียงแหง)
ไปถึงแม่น้ำสาละวินที่ "ท่าผาแดง"
เพื่อรับเจ้าพม่าปลอมตัวมาเมืองเชียงใหม่ และให้การต้อนรับเลี้ยงดูอย่างดียิ่งกว่าข้าหลวงจากกรุงเทพฯ..."
คำกล่าวฟ้องนี้ชี้ให้เห็นเส้นทางจากเชียงใหม่ไปพม่าโดยข้ามแม่น้ำสาละวิน ที่"ท่าผาแดง"ว่าต้องผ่าน อ.เวียงแหง อย่างชัดเจนเพราะเป็นเอกสารราชการสำคัญในราชสำนัก
ประกอบกับพบ เอกสารชั้นต้น จำนวน หลายฉบับ ต่างระบุว่า เส้นทางจากเชียงใหม่ไปพม่า โดยผ่านอำเภอเวียงแหง นั้นมีความสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์
และตัวช่วยที่สำคัญคือแผนที่ แต่ในปี 2545 นั้นแผนที่ประเทศพม่า ด้านติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย หาได้ลำบากยากยิ่ง โดยเฉพาะแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 250000 ทั้งนี้ไม่ต้องพูดถึงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 63360 ซึ่งพม่าได้รับมรดกตกทอดจากอังกฤษที่ได้สำรวจไว้คราวปกครองพม่า
อนึ่งพม่าไม่ได้ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 50000 เหมือนบ้านเรา
ข้าพเจ้าเดินทางไปยังภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และได้รับความอนุเคราะห์จากหัวหน้าภาควิชาฯอาจารย์จีระ จึงได้แผนที่ระวางที่ติดต่อกับประเทศไทย เมื่อนำมาต่อเรียงกันแล้วจึงมองเห็นภาพรวมตั้งแต่เชียงใหม่-แม่น้ำสาละวิน-ท่าผาแดง-เมืองปั่นถึงเมืองนาย
เป็นครั้งแรก
แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมLandsat 7แสดงที่ตั้งของ เชียงใหม่ ศูนย์กลางอาณาจักรราชวงศ์มังราย , "เมืองนาย" เมืองลูกหลวงของเชียงใหม่ โดยพญามังราย ส่ง "ขุนเครือ"ราชโอรส ไปปกครอง ทั้งนี้มี "เมืองแหง"(อ.เวียงแหง)ตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทางดังกล่าว ครีเอท ; ชัยยง ไชยศรี 2550
"เมืองนาย"ทำมุมเกือบ 45 องศากับเชียงใหม่ และกึ่งกลางของเส้นทะแยงมุมนั้นคือที่ตั้งของ
"เมืองเวียงแหง"(อ.เวียงแหง) 
เมื่อพิกัดทางภูมิศาสตร์บังคับดังนี้ความหมายก็คือเป็นเส้นทางสั้นที่สุดระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองนาย
.....................
โปรดติดตามต่อไป
* เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้เขียน
กด "ติดตาม" ด้วยครับ
โฆษณา