31 ต.ค. 2021 เวลา 11:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องผี กับวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ขัดเเย้งกัน เเล้วคุณเชื่ออะไรมากกว่ากัน ???
ปล. เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ
ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผี กับคนไทยนั้นมีมาอย่างยาวนานมากๆ เเละเป็นความเชื่อที่มีกันทุกภาคของประเทศไทยเลยก็ว่าได้
ซึ่งในเเต่ละภาคก็จะมีความเชื่อที่เเต่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สังเกตง่ายๆ จากหนังผีไทย (หนังผีไทยเป็นหนังผีที่ดีมากๆ เเละน่ากลัวที่สุดในโลกเลยครับ)
เเต่กลับกัน ในหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เลย ก็เชื่อว่า "ผี" ไม่มีอยู่จริง โลกหลังความตายก็ไม่มีจริงเช่นกัน
ในหลักการทางวิทยาศาสตร์เเล้วนั้น อนุภาคของ "นิวทริโน" (Neutrino) ถือเป็นอนุภาคมูลฐานมีความใกล้เคียงกับคำว่า "ผี" มากที่สุด
ด้วยความสามารถของ อนุภาคนิวทริโน ที่มีมวลน้อยมากๆ จนเหมือนว่ามันไม่มีมวลเลย สามารถทะลุทะลวงผ่านสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับสิ่งเหล่านั้นเลยทั้งสิ้น
เเต่อนุภาค นิวทริโน จากการศึกษาส่วนใหญ่มาจากนอกโลกของเรา
หรืออีกหนึ่งการทดลองที่ใครหลายๆ อาจจะผ่านตามาบ้าง กับการทดลองชั่งน้ำหนักวิญญาณ
โดยการชั่งน้ำหนักผู้ทดลองก่อนเสียชีวิตเเละหลังเสียชีวิตทันที พบว่าน้ำหนักของผู้ทดลองหายไปทันที 21 กรัม
จึงมีการสันฐานว่าน้ำหนักของวิญญาณมนุษย์ อาจมีน้ำหนักที่ 21 กรัม
เมื่อเทียบกับ อนุภาคผี อย่างอนุภาคนิวทริโน เเล้วต้องมีอนุภาคนิวทริโน ที่มหาศาลมากๆ รวมกันถึงจะได้ 21 กรัม
เพราะอนุภาคนิวทริโน 1 อนุภาคมีน้ำหลักที่น้อยกว่า อิเล็กตรอนถึง 6 ล้านเท่าได้เลย
วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มที่จะมีการพิสูจน์เรื่อง ผี กันอย่างจริงจังเเละเเพร่หลายมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ภาวะกลัวผีหรือสิ่งลึกลับอย่างรุนเเรง (Phasmophobia) , ความผิดปกติของการนอนหลับที่ทำให้เกิดภาพกึ่งหลับกึ่งตื่น , คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนำมาอธิบาย กับเรื่อง ผี ทั้งสิ้น เเต่สุดท้ายเเล้วจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ ว่าผีไม่มีอยู่จริง
สุดท้ายเเล้ววิทยาศาสตร์อาจจะคิดผิดมากตลอดเลยก็ได้ว่าผีไม่มีอยู่จริง หรือวิทยาศาสตร์อาจจะพิสูจน์ได้
ถ้าหากลองคิดเล่นๆ ร่างกายของเราประกอบไปด้วยอะตอมจำนวนมหาศาลมากๆ เเต่อะตอมตามหลักวิทยาศาสตร์เเล้วนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่ว่าง 99.99999%
นั้นอาจจะอนุมานได้ว่า ร่างกายของเราอาจจะเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีอะไรอยู่จริงตั้งเเต่เเรกเเล้ว ก็เป็นได้....
เขียนเเละเรียบเรียงโดย : GSCIENCE
โฆษณา