3 พ.ย. 2021 เวลา 12:31 • ประวัติศาสตร์
ห้าการค้นพบทางโบราณคดีอันน่าทึ่ง ที่อาจเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ!!
ในรอบหลายปีที่ผ่านมานักสำรวจและนักโบราณดี ได้ค้นพบซากฟอสซิลจำนวนมาก โดยพวกเขาได้พบกับเบาะแสและหลักฐานที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งข้อมูลหลาย ๆ อย่างที่พวกเขาได้รับนั้น เรียกได้ว่ามันสามารถเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้เลยทีเดียว ส่วนจะมีเรื่องใดบ้างนั้น มาติดตามดูกันเลยดีกว่าครับ
1
1. ผู้มาเยือนอเมริกายุคดึกดำบรรพ์
ในปี ค.ศ.2016 นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบบริเวณที่มีการค้นพบซากฟอสซิลของช้างมาสโตดอน (Mastodons) ที่ได้ค้นพบที่ซานดิเอโกเมื่อปี ค.ศ.1993 และพวกเขาได้พบกับผลลัพธ์ที่น่าตกใจ เมื่อฟอสซิลช้างมาสโตดอนที่ถูกค้นพบ มีเศษซากเครื่องไม้เครื่องมือที่สกัดมาจากหิน ซึ่งบ่งบอกถึงกิจกรรมของมนุษย์เมื่อ 130,000 ปีก่อนได้
1
ภาพการค้นพบซากฟอสซิลของช้างมาสโตดอน (Mastodons) ที่ซานดิเอโกเมื่อปี ค.ศ.1993
จากการค้นพบในครั้งนี้ ได้ทำให้นักวิจัยได้คำตอบว่า แท้จริงแล้วมนุษย์ได้เดินทางมาถึงทวีปอเมริกามาก่อนแล้วเมื่อราวหนึ่งแสนปีก่อน เนื่องจากหลักฐานที่พบจากซากช้างมาสโตดอน มีร่องรอยของการถูกทำร้ายด้วยสิ่ว พร้อมกับรอยร้าวบริเวณกระดูก รวมไปถึงตัวอย่างจากไขกระดูกที่ตรวจพบ
1
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากสมมติฐานของนักวิจัยเป็นเรื่องจริง ก็มีคำถามที่ตามมาว่ามนุษย์สามารถเดินทางมาถึงทวีปอเมริกาเหนือเร็วถึงขนาดนี้ได้อย่างไร แต่ถ้าหากนั่นไม่ใช่บรรพบุรุษของมนุษย์ ก็มีคำถามที่ตามมาอีกว่า ตกลงแล้วเป็นสปีชีส์สายพันธุ์ใดกันแน่ ที่สามารถฆ่าช้างมาสโตดอนได้
2
ภาพช้างมาสโตดอน เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของมนุษย์
2. สะพานยุคดึกดำบรรพ์
มีความเชื่อกันว่ามนุษย์กลุ่มแรกที่มาอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ได้อพยพผ่านรอยต่อทางช่องแคบแบริง (Bering Strait) ระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเมื่อราว 20,000 ปี ซึ่งในขณะนั้น พื้นที่บริเวณดังกล่าวยังเชื่อกันว่ามีแผ่นดินเชื่อมต่อกัน จนทำให้ผู้คนและสัตว์สามารถเดินทางไปมาได้อย่างสะดวก
1
มนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ เดินทางข้ามจากทวีปเอเชียไปยังอเมริกาเหนือได้อย่างไร?
ทว่างานวิจัยจาก University of Copenhagen ได้ออกมาเผยว่าสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์ขณะนั้น บริเวณดังกล่าวไม่น่าจะมีผืนดินอย่างที่เราได้คาดคิดเอาไว้ในตอนแรก และต้องรอเวลาอีกหลายศตวรรษต่อมา กว่าที่มนุษย์จะเดินทางไปถึง ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า มนุษย์ที่อาศัยในทวีปอเมริกาเนือในช่วงยุคน้ำแข็ง พวกเขามาจากไหนกันแน่?
2
บางคนเชื่อว่าพวกเขาเดินทางข้ามทะเลมา ถึงแม้จะมีหลักฐานเพียงน้อยนิดที่จะยืนยันถึงสมมติฐานการเดินเรือของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บนเกาะครีตของกรีก นักโบราณคดีได้ค้นพบกับเครื่องมือหิน ที่สามารถระบุอายุย้อนหลังกลับไปได้ถึง 130,000 ปี
2
ซึ่งทำให้เชื่อว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthals) หรือมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีความรู้ด้านการเดินเรือมานานกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนไว้นับพันปีกันเลยทีเดียว
ช่องแคบแบริง (Bering Strait)
3. El Graeco
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าทวีปแอฟริกาตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดของมนุษยชาติเมื่อเจ็ดล้านปีก่อน เมื่อมนุษย์เริ่มพัฒนาการแยกจากสปีชีส์สายพันธุ์ลง และเริ่มขยายเผ่าพันธุ์ของตัวเองก่อนเดินทางกระจัดกระจายไปทั่วโลก แต่ทฤษฎีดังกล่าวถูกตั้งคำถามจากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์จาก 'สัตว์คล้ายลิงที่มีฟันเหมือนมนุษย์' เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ซากฟอสซิลของ Graecopithecus Freybergi หรือ El Graeco
โดยชื่อของมันคือ Graecopithecus Freybergi หรือ El Graeco ที่ถูกค้นพบในประเทศกรีซ และมีอายุย้อนหลังกลับไปได้ไกลถึง 7.2 ล้านปี เลยทีเดียว ซึ่งจากการค้นพบเจ้า El Graeco ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พบว่า บางทีจุดกำเนิดของสายพันธุ์มนุษย์น่าจะอยู่ที่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแทนที่จะเป็นทวีปแอฟริกา อย่างที่ได้เข้าใจกันในตอนแรก
เนื่องจากลิงและโฮมินิต (Hominids) ในยุคแรกถูกบังคับให้เดินทางขึ้นเหนือ เพื่อหลบหนีจากการสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนและรุนแรงในทวีปแอฟริกาทางตอนเหนือในขณะนั้น ซึ่งแน่นอนว่าการค้นพบในครั้งนี้ อาจทำให้เราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษยชาติกันเลยทีเดียว
1
ภาพสเก็ตซ์ของ Graecopithecus Freybergi หรือ El Graeco
4. Jebel Irhoud
ในปี ค.ศ.2016 ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ตีพิมพ์รายงานที่มีรายละเอียดการค้นพบซากฟอสซิลโฮโมเซเปียน (Homo Sapiens) ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก ซึ่งสามารถย้อนเวลาถึงการมีตัวตนอยู่ของพวกมันได้ไกลถึง 315,000 ปีก่อน ซึ่งนานกว่านับแสนปีกว่าสายพันธุ์โฮโมเซเปียนที่เก่าแก่ที่สุด ที่มนุษย์เคยรู้จักก่อนหน้านี้
ซากหัวกะโหลกของโฮโมเซเปียนเจเบล อีร์ฮูด
โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบซากฟอสซิลของโฮโมเซเปียนที่เก่าแก่ที่สุดในถ้ำที่ถูกเรียกว่า เจเบล อีร์ฮูด (Jebel Irhoud) ใกล้กับเมืองมาร์ราคิช ของประเทศโมรอคโค ในทวีปแอฟริกาเหนือ โดยเจ้าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีใบหน้าคล้ายคลึงกับมนุษย์สมัยใหม่ เพียงแต่มันจะมีคิ้วที่โหนกนูนกว่าและมีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่กว่า
และจากตำแหน่งที่ค้นพบ ได้ท้าทายความเชื่อว่ามนุษย์ชาติอาจมีต้นกำเนิด ณ แอฟริกาตะวันออกเมื่อราว 200,000 ปีก่อน ซึ่งจากการค้นพบในครั้งนี้ ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า บางทีสายพันธุ์โฮโมเซเปียน ที่เรารู้จักน่าจะมีความเก่าแก่มากกว่าที่คาดคะเนเอาไว้ และบางที มนุษย์สายพันธุ์โฮโมเซเปียน น่าจะอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปทั่วทวีปแอฟริกาเมื่อราว 300,000 ปี ก็เป็นได้
5. การวิวัฒนาการร่วมกัน
ในปี ค.ศ.2016 นักวิจัยจาก University of Oxford ได้รายงานว่าพวกเขาพบหลักฐานว่าลิงในยุคดึกดำบรรพ์สามารถสร้างเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อใช้ได้เอง ซึ่งนักวิจัยได้ระบุว่า พวกมัน 'จงใจ' ทุบหินเพื่อทำให้เกิดสะเก็ดที่แหลมคมขึ้นมา ซึ่งเป็นเวลานานหลายปีมาแล้วที่นักวิจัยและนักโบราณคดีได้กล่าวถึงกองหินโบราณที่มีลักษณะแตกร้ายคล้าย ๆ กัน ซึ่งในตอนแรกพวกเขาเชื่อว่ามันน่าจะเกิดฝากฝีมือของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์
ซากฟอสซิลหินยุคดึกดำบรรพ์ ที่นักสำรวจเชื่อว่าบางชิ้น อาจไม่ได้เป็นฝีมือของมนุษย์ในยุคโบราณ แต่อาจจะเป็นฝีมือของลิงแทน?
แต่ผลการวิจัยฉบับใหม่ ได้ชี้ชัดว่าการค้นพบซากโบราณที่สำคัญหลายรายการอาจถูกสร้างขึ้นจากลิงในยุคดึกดำบรรพ์แทนที่จะเป็นมนุษย์ อย่างที่เราได้เข้าใจกันในตอนแรก ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจย้อนเวลากลับไปได้นับพันปี ซึ่งมันได้ทำให้เกิดนัยยะที่น่าตกใจสำหรับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
เป็นไปได้หรือไม่ ว่ามนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ ได้เรียนรู้วิธีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือบางอย่างมาจากลิง หรือไม่ก็ อาจจะเป็นลิง ที่เรียนรู้วิธีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือจากมนุษย์ในยุคนั้น และอาจเป็นไปได้ว่าพวกมัน อาจกำลังวิวัฒนาการไล่ตามมนุษย์อยู่ก็เป็นได้
2
ลิง สิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด
ข้อมูลจาก : YOUTUBE/DARK5, WIKIPEDIA
โฆษณา