4 พ.ย. 2021 เวลา 04:31 • การศึกษา
การปรับตัว
มนุษย์การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในโลกนี้ได้ มนุษย์จำเป็นจะต้องมีการปรับตัว เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพและพัฒนาชีวิต
ความหมายของการปรับตัว
การปรับตัว หมายถึง การที่มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะสามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
เข้ากันได้
ความสาคัญของการปรับตัว
1. ทำให้มนุษย์สร้างความสมดุลในจิตใจ เพราะสามารถที่จะหาวิธีขจัดความขัดแย้งที่เกิดจากสภาพการณ์ความเป็นจริงกับความต้องการในจิตใจของมนุษย์ได้
2. ทำให้ Ego ไม่อยู่ในสภาวะวิตกกังวลใจมากเกินไป
3. การปรับตัวเป็นสิ่งที่มนุษย์ ต้องประสบอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลใดสามารถปรับตัวได้ดีก็จะเป็นผู้ที่จะสามารถด ารงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างปกติสุข
4. การปรับตัวแสดงให้เห็นถึงเรื่องบุคลิกภาพของบุคคลว่าจะมีลักษณะปกติ มีความสุข หรือปรับตัวไม่ได้ มีความทุกข์และมีปัญหาทางจิต
5. การปรับตัวเป็นลักษณะของมนุษย์และสัตว์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ บางครั้งมนุษย์และสัตว์จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงและการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด
ประเภทของการปรับตัว
1. การปรับตัวแบบดั้งเดิม (primitive adjustment)เป็นการปรับตัวที่มักใช้กัน โดยอาจเผชิญหน้า เป็นการต่อสู้แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน หรือหากสู้ไม่ได้ก็จะหนี
2. การปรับตัวแบบเหมาะสม (modified adjustment)คือ หาวิธีการจัดการปัญหา โดยพิจารณาสาเหตุของปัญหา หาวิธีการคิดให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
ลักษณะของกระบวนการปรับตัว
1. การปรับตัวที่สมบูรณ์ หรือการปรับตัวแบบบูรณการ (Integrating Adjustment)เป็นลักษณะการปรับตัวของบุคคล เมื่อเผชิญกับสภาพปัญหา
หรืออุปสรรคแล้ว สามารถแก้ไขปัญหาหรือขจัดอุปสรรคนั้นได้
2. การปรับตัวแบบไม่สมบูรณ์ หรือการปรับตัวแบบไม่บูรณการ (Non-
integrative Adjustment) เป็นการปรับตัวที่บุคคลไม่สามารถเผชิญกับปัญหาได้ รวมทั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การปรับตัวแบบนี้
ยังคงมีความทุกข์อยู่จึงเป็นการปรับตัวที่ไม่สมบูรณ์แบบ
และจำเป็นต้องอาศัยกลไกการป้องกันตนเองมาใช้เพื่อช่วยลดความตึงเครียดลงไป
การปรับตัว หากบุคคลใช้กลไกการป้องกันตนเองมากเกินไป จะทำให้บุคคลไม่ยอมรับข้อบกพร่องของตน บุคคลควรตระหนักว่าวิธีการเหล่านี้จะ
ช่วยลดความเครียดในระยะแรกเท่านี้ ซึ่งควรหาวิธีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
สาเหตุของการปรับตัว
1. เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ทุกคนจะต้องปรับตัวเพื่อจะอยู่รอดได้ในแต่ละช่วงชีวิต
2. เพื่อความสุข การปรับตัวช่วยให้เรายอมรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วพยายามหาวิธีการแก้ไข ปัญหา สุดท้ายเมื่อปัญหาคลี่คลายความคิดความรู้สึก ของเราก็จะดี
คุณค่าลักษณะของผู้ที่ปรับตัวได้ดี
มีอัตโนทัศน์ (Self –Concept) ที่ถูกต้อง มีในการสร้างความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความรับผิดชอบ ยอมรับความเป็นจริงของตนเองในสังคม มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า
ผู้ที่ปรับตัวได้ดี
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว
1.ชีวิตในช่วงวัยต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ
2.สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการปรับตัว เช่น ทัศนคติค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา เป็นต้น
3. พันธุกรรม สิ่งมีชีวิตไม่ว่า พืช คน สัตว์ อาจจะมีการปรับสายพันธุ์เพื่อการอยู่รอด
4.ลักษณะบุคลิกภาพ เช่น คนอ้วน คนผอม คนรูปร่างสมส่วนตามทฤษฎีของเซลดอน
5. สัญชาตญาณ คือ สิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์มีแต่กำเนิด ไม่ต้องมีการอบรมสั่งสอนหรือแนะน า เช่น การต่อสู้ การรวมกลุ่ม การมีชีวิตรอด
6. การเรียนรู้และประสบการณ์ มนุษย์นำสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้และการเห็นตัวแบบมาใช้ในการปรับตัว
7. กระบวนการสังคมประกิต หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว ญาติ ครู กลุ่มคนในอาชีพต่าง ๆ
8. แบบของพัฒนาการของมนุษย์ พัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยสร้างรูปแบบของการปรับตัวของคนแต่ละประเภทระดับสติปัญญา
ต่างกันมีผลต่อความแตกต่างและประสิทธิภาพในการปรับตัวของคน
9. การขัดแย้งในใจ หมายถึง ภาวะที่บุคคลต้องเลือกเอาระหว่างสถานการณ์ ความต้องการที่มีตัวเลือก 2สิ่ง แต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว หากเลือกไม่ได้จะทำให้เกิดความวิตกกังวลและก่อให้เกิดความทุกข์ได้จึงหาทางแก้ไขปรับตัว
การปรับตัวแบบต่าง ๆ
1. การร้องไห้ การระบายความรู้สึกโดยการพูดปรับทุกข์กับคนอื่น
2. การปรับตัวโดยการต่อสู้ เป็นวิธีการปรับตัวโดยบุคคลทำการต่อต้าน
3. การปรับตัวแบบหนี เป็นวิธีการที่บุคคลไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่ดี
4. กลวิธานในการปรับตัว คือ การใช้กลวิธีในการปรับตัวเพื่อรักษาจิตใจให้อยู่ในสภาพสมดุลเพื่อทำให้เกิดความสบายใจ ลดความเครียด
4.1 การเก็บกด (Repression) การเก็บกดความรู้สึกที่ยอมรับไม่ได้ หรือความรู้สึกที่น่าเกลียดน่ากลัวไว้ในระดับจิตใต้ส านึกเช่น การแอบชอบคนมี
เจ้าของ
4.2 การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง(Retionalization) การที่บุคคลยกเหตุผลมาอ้าง เพื่อตนเองจะได้สบายใจลดความกังวลใจ เช่น ไม่ได้อ่านหนังสือสอบ ก็โทษว่าอาจารย์ออกข้อสอบยาก
4.3 การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) การไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง โทษผู้อื่นเป็นฝ่ายผิดเช่น เด็กไม่สนใจการเรียนอ้างว่าแม่ให้ช่วยท างานบ้านจนไม่มีเวลาอ่านหนังสือ
4.4 การถดถอย(Regression) เป็นการแสดงพฤติกรรมที่เคยกระท ามาในวัยเด็ก เช่น เด็กต้องการให้แม่เอาใจ จึงแสร้งแสดงอาการเหมือนตนเองเป็นลูก
เล็ก ๆ ด้วยการพูดไม่ชัด
4.5 การชดเชย(Compensation)เป็นการปรับตัวโดยหาจุดเด่นของตนเองมาทดแทนความบกพร่องของตนเพื่อจะลดความด้อยของตนเอง
เช่น สาวประเภทสองพยายามลดปมด้อยเรื่องเพศด้วยการแต่งกายให้เด่น
ทำตัวให้สวย ตั้งใจทำงาน
4.6 การแสดงปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction –formation)เป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ตรงกับความรู้สึกนึกคิดจริง ๆ เช่น คนบางคนแกล้งแสดงตัวเป็นคนใจดีต่อคนอื่น ๆ ซึ่งความจริงเป็นคนที่มีจิตใจดุร้าย
4.7 การแทนที่ทางอารมณ์(Displacement)การป้องกันตัวประเภทนี้ บุคคลไม่สามารถแสดงความคิดเห็น โต้แย้งต่อต้านกับคนที่ต้องการจะแสดง
พฤติกรรมได้
 
การปรับตัวในวัยรุ่น
การปรับตัวในวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เป็นวัยพายุบุแคม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม จนบางครั้งอาจทำให้วัยรุ่นมีปัญหาในการปรับตัวได้
วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจและช่วยเหลือประคับประคองให้เขาดำเนินชีวิตผ่านไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งร่ายกายและจิตใจ
สุขภาพจิตกับการปรับตัว
สุขภาพจิต คือ ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม เข้าใจเอกลักษณ์และความรับผิดชอบของตน รวมทั้งการปรับตนให้เข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคมได้
-คนที่มีลักษณะนี้มักเป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นมิตร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีลักษณะที่ยืดหยุ่นง่าย เป็นต้น ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีศิลปะในการปรับตัว และมีวิธีการดำรงชีวิตในสังคมได้ดี ถึงแม้ว่าตนเองจะอยู่ในภาวะความสับสน ยุ่งยากเพียงใดก็สามารถประคองชีวิตให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
โฆษณา