5 พ.ย. 2021 เวลา 04:30 • ไลฟ์สไตล์
เรื่องแบบนี้ฉันจะไหวหรือเปล่านะ?
"ผมว่าเรื่องนี้สงสัยไม่น่าจะไม่ไหว หนูว่าเรื่องนี้เกินความสามารถแน่ๆ" หลายต่อหลายครั้งที่กรอบของความกลัวทำให้เราจำกัดความสามารถของตัวเอง ทำให้พลาดโอกาส และปฎิเสธสิ่งดีๆไป
มีหนังสือหลายต่อหลายเล่ม และมีคนมากมายบอกเราว่าให้ "อย่ากลัว" จนทำให้ความกลัวมีความหมายในเชิงลบ จนความกลัวกลายเป็นผู้ร้ายไปซะอย่างงั้น จริงๆแล้วความกลัวไม่ใช่ผู้ร้ายแต่อย่างใด ตรงกัยข้ามความกลัวคือพระเอกเสียด้วยซ้ำ เพราะความกลัวคือเครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดจนถึงปัจจุบัน เพราะความกลัวจะเตือนไม้ให้มนุษย์ทำอะไรที่เสี่ยงเกินไป และเตือนให้เราระวัง
ปัญหาที่แท้จริงของความกลัวที่เราเผชิญอยู่ทุกวัน คือ "เราไม่รู้จะประเมินมันยังไงต่างหาก" เพราะความกลัวเป็นความรู้สึก เป็นนามธรรม จึงยากที่จะวัดค่าและประเมินได้ แต่ถ้าวัดค่าความกลัวเป็นตัวเลขได้ การจัดการกับความกลัวก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
โซอิชิ ยาโนะ ( Soichi Yano ) ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาทางจิตใจ ได้แนะนำวิธีที่ช่วยผ่อนคลายเวลาที่รู้สึกกังวลใจ และความกลัวไว้ดังนี้
ตัวอย่างเช่น
เมื่อรู้สึกกังวลใจว่า “ เราไม่เคยทำงานแบบนี้มาก่อนเลย จะทำได้หรือเปล่านะ ?”
ให้ถามตัวเองว่า กี่คะแนน ?
ถ้าให้ความกังวลใจสูงสุดครั้งก่อน 10 คะแนน แล้วความกังวลใจครั้งนี้กี่คะแนน ?
สมมุติถ้าให้ความกังวลใจสูงสุดครั้งก่อน 10 คะแนน แต่ความกังวลใจ
ครั้งนี้ประมาน 8 คะแนน ถ้าแบบนี้เราก็ยังพอรับไหวใช่ไหมละ ?
ถ้าให้ความกังวลใจสูงสุดครั้งก่อน 8 คะแนน แต่ความกังวลใจครั้งนี้ก็น่าจะซัก 6 คะแนน อย่างนี้ก็ยังพอรับไหวไม่ใช่เหรอ ?
เมื่อถามตัวเองว่า “กี่คะแนน ?” ในเวลาที่กำลังกลัวหรือกังวลใจ เราก็จะสามารถประเมินความกลัวของตัวเองได้ และจะพอรู้ว่าเรื่องครั้งนี้พอรับไหวหรือไม่ไหว
เมื่อเราแปลงความรู้สึกไม่ชอบให้เป็นรูปค่าตัวเลข เราก็จะมอง
ความรู้สึกนั้นอย่างเป็นกลาง และไม่โดนความรู้สึกครอบงำนั่นเอง
ถ้าต่อจากนี้มีเรื่องอะไรกังวล ลองเอาสูตรของคุณ โซอิชิ ยาโนะ ไปลองใช้ เรื่องที่กำลังรับไหวแค่ไหวแค่ไหนก็ลองถามใจเธอดู
โฆษณา