8 พ.ย. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
⁉️ ‘ถ้วยอนามัย’ ไม่อันตรายจริงหรือ⁉️
การยัดอะไรเข้าไปในนั้น ..ปลอดภัยจริงอะ?
🍁 ทุกวันนี้ เราใช้ ‘ผ้าอนามัย’ แบบแผ่นหรือสอด
แต่ปัญหาที่ตามมาคือ อับชื้น เป็นที่หมักหมม ของเชื้อโรค
และเกิดผื่น หรือช่องคลอดอักเสบติดเชื้อตามมาได้
🍁 ที่สำคัญ เป็น ขยะโลก ที่ย่อยสลายยากมาก
ใช้เวลา 500 ปี ในการย่อยสลาย!!
ต้องเผาทำลาย เกิดมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
นี่คือปัญหา ..จึงเกิด ‘ถ้วยอนามัย’ ขึ้นมา
1
ช่วงแรก มีคนพูดถึง ‘ถ้วยอนามัย’ กันมาก
เพราะเทรนของ eco-friendly และความแปลกใหม่
แต่ตอนนี้ก็เริ่มมีคำถามและข้อสงสัยว่า
⁉️ มันใช้งานได้สะดวกจริงหรือ และไม่อันตรายแน่มั้ย
⁉️แล้วคนที่ยังเวอจิ้น ใส่มันเข้าไปได้จริงหรือไม่
🌟 พ.แพร์ วันนี้ จะมาแชร์เรื่อง ‘ถ้วยอนามัย’ ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก www.freepik.com
🌟 ‘ถ้วยอนามัย’
⁉️ ‘ถ้วยอนามัย’ คืออะไร
คือ อุปกรณ์ที่ใช้รองรับเลือดประจำเดือน
- มีลักษณะรูปทรงเป็นเหมือนกรวย ขนาดเล็ก
- ยืดหยุ่นได้ พับได้ มีหลายขนาดให้เลือกใช้
- วัสดุที่ใช้ทำจาก ยางชนิดนิ่มพวก latex หรือ silicone
- ที่สำคัญคือ ใช้ซ้ำได้ อายุการใช้งานตามการดูแลรักษา อยู่ได้ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี
⁉️ ‘ถ้วยอนามัย’ เก็บเลือดได้มาน้อยแค่ไหน
- ถ้วย จะเก็บเลือดได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ
- มีความจุได้ได้ถึง 20 ซีซี
- สามารถใช้ได้นานถึง 12 ชั่วโมง (แล้วแต่ยี่ห้อและขนาด)
.
⁉️ ข้อดี ของ ‘ถ้วยอนามัย’
- ดีต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly) เพราะใช้ซ้ำได้
- จุเลือดได้เยอะกว่าผ้าอนามัย
- ใส่ตอนออกกำลังหนักๆได้ ใส่ว่ายน้ำได้
- ใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ทำให้มีเซ็กส์แล้วเลือดไม่เลอะเทอะ (แต่ต้องใส่ให้ดี ไม่งั้นอาจขวางการมีเซ็กส์และเลือดหกได้ถ้าถ้วยหลุด)
⁉️ ข้อเสีย ของ ‘ถ้วยอนามัย’
- การใส่/ถอด ยุ่งยาก เงอะงะ อาจต้องหาท่าที่เหมาะสมในการเอาออก หรือใส่ และต้องใช้เวลาในการปรับตัวในช่วงแรกที่ใช้งาน
- หาขนาดที่เหมาะพอดีๆ กับช่องคลอดยาก อาจจะต้องลองซื้อมาลองว่าเวิร์คมั้ย ถ้าไม่โอเค ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ (สิ้นเปลือง)
- ระคายเคืองช่องคลอด
- อาจแพ้ยางหรือซิลิโคนได้
- ติดเชื้อได้ หากทำความสะอาดไม่ถูกสุขลักษณะ
⁉️ ‘ถ้วยอนามัย’ เหมาะกับใคร
1. Eco-friendly
2. ผู้ที่แพ้ผ้าอนามัยแบบแผ่น
3. ผู้ที่ประจำเดือนมามาก หรือ ไม่ชอบเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
4. ผู้ที่ชอบความกระฉับกระเฉง ไม่ชอบความไม่สบายตัว หรือ ผู้ที่ต้องการว่ายน้ำ ออกกำลังกาย หรือต้องการความคล่องตัวเป็นพิเศษ
5. ผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าอนามัย
6. ต้องการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่เลอะเทอะ
2
🌟 การศึกษาทางการแพทย์ในการใช้ ‘ถ้วยอนามัย’
มีการรวบรวมข้อมูลถึงความปลอดภัย ของการใช้ ‘ถ้วยอนามัย’
ตีพิมพ์ใน Lancet ปี 2019 ศึกษาในคน 3319 คน
📍ประสบการณ์การใช้ ‘ถ้วยอนามัย’
- มี 2.8%ของผู้ใช้ ที่ใส่ไม่เข้า
- มี 20%ของผู้ใช้ ที่ใส่ยาก (ในรอบแรก 35%)
- มี 33%ของผู้ใช้ ที่รู้สึกใส่แล้วไม่สบายตัว
- มี 20กว่า% ที่เลิกใช้ (โดยอีก 73%ตัดสินใจใช้ต่อ)
2
📍โอกาสการรั่ว ของ ‘ถ้วยอนามัย’
- โอกาสรั่วน้อยมาก ถ้าใส่ถูกวิธี
การศึกษาพบว่า การรั่วไม่แตกต่างจากผ้าอนามัยแบบสอด
📍ผลข้างเคียงจากการใช้ ‘ถ้วยอนามัย’
- การเสียสมดุลของช่องคลอด พบน้อยมาก
- การเกิดบาดแผลในช่องคลอด พบ <1%
- ผื่นแพ้ พบ <1%
- ผลต่อระบบสืบพันธ์ ระบบขับถ่าย และทางเดินปัสสาวะ ก็พบน้อยมากเช่นกัน
🌟 คำถามที่พบบ่อย
⁉️ 1. ถ้วยอนามัย จะทำให้ช่องคลอด หลวมมากขึ้น?
❎ ไม่
เพราะ ช่องคลอดมีความสามารถในการยืด/ขยายได้อยู่แล้ว
1
⁉️ 2. คนไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ใช้ได้มั้ย? (เสียบริสุทธ์?)
✅ ใช้ได้ มีขนาดเล็กให้เลือกใช้
แต่อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควรสำหรับการใส่ครั้งแรก
* แต่จะบอกว่าคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยจริงๆ หรือไม่เคยสอดใส่นิ้วหรืออุปกรณ์/sex toy ใดๆ ตอนจะเริ่มใส่ อาจจะเจ็บและโอกาสใส่ไม่เข้าสูง (แม้จะใช้เจลหล่อลื่นช่วยแล้วก็ตาม)
❎ คำว่าเสียบริสุทธ์ ไม่มีอยู่จริง
++ติดตามเรื่อง เยื่อพรหมจรรย์ ได้ที่
แคร์เรื่องหญิง EP.28 https://youtu.be/YHYbc2HWBBg
⁉️ 3. เป็นไปได้มั้ยที่ถ้วยจะค้างอยู่ในท้องเอาออกไม่ได้?
❎ เป็นไปไม่ได้ ที่ถ้วยจะหลุดเข้าไปในมดลูกหรือช่องท้อง
แต่มีโอกาสที่คลำไม่เจอ เพราะอยู่ลึกหรือผิดตำแหน่ง
⁉️ 4. อึ/ฉี่ มีผลไปขัดขวางมั้ย?
❎ ไม่ได้เข้าไปขัดขวางการขับถ่ายใดๆ เพราะคนละช่องกัน!!
++ติดตามเรื่อง 2แคม กับ 3รู ได้ที่
แคร์เรื่องหญิง EP.38 https://youtu.be/uu3IeUMO6HE
🌟 พ.แพร์ สรุปให้ เรื่อง ‘ถ้วยอนามัย’
📍‘ถ้วยอนามัย’ ใช้ได้ ไม่อันตราย และยังช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
แต่แนะนำให้ศึกษาวิธีทำความสะอาด และถอดใส่ให้ดีก่อนใช้
++ติดตามเรื่อง ‘ถ้วยอนามัย’ ได้ที่
แคร์เรื่องหญิง EP.3 https://youtu.be/3vd8nqnVKO4
.
.
.
ฝากติดตามฟัง “Porpear” ได้ที่
#porpear #porpearpodcast #porpearchannel
#porpearพแพร์แคร์เรื่องหญิง #พแพร์แชร์ให้รู้
#เรื่องน่ารู้กับพแพร์ #ถ้วยอนามัย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา