5 พ.ย. 2021 เวลา 11:36 • ประวัติศาสตร์
โลกตะวันตก และความคิด ความเชื่อของเค้า
โลกตะวันตก Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident คือ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรปหรือประเทศใดๆ ที่รับวัฒนธรรมที่รับวัฒนธรรมต่างๆโดยตรงจากวัฒนธรรมของชาวยุโรป เช่น ยุโรปตะวันตก (ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เบลเยียม), ยุโรปกลาง (เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์), ยุโรปเหนือ (สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์), ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (บัลแกเรีย โครเอเชีย กรีซ โรมาเนีย) ยุโรปใต้ (หรือตะวันตกเฉียงใต้) (สเปน, อิตาลี, โปรตุเกส, มอลตา), ยุโรปตะวันออก (รัสเซีย ยูเครน เบลารุส มอลโดวา), ทวีปอเมริกา (อาร์เจนตินา บราซิล แคนาดา ชิลี คอสตาริกา คิวบา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา อุรุกวัย เวเนซุเอลา ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์), แอฟริกาใต้และโอเชียเนีย (ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ประเทศเหล่านี้รวมกันเป็นสังคมตะวันตก
ระบบคิด ความเชื่อของประเทศในโลกตะวันตก
ในอดีตมีแนวคิดการแบ่งชีกโลกตะวันตก จะหมายถึงประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป
ด้วยอิทธิพลของทำเลที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ศาสนา ความเชื่อ ฯลฯ สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์ระบบการคิด ความเชื่อของประเทศในโลกตะวันตก โดยมีประเด็นที่แสดงให้เห็นชัดเจนถึงระบบความคิดของประเทศในโลกตะวันตกก็คือ ประเทศในโลกตะวันตกนั้น มีการแบ่งแยกสิ่งของหรือเรื่องราวออกเป็นสองอย่างที่ค่อนข้างชัดเจน หรือกล่าวได้ว่า
โลกตะวันตกจะมีมุมมองแบบที่เรียกกันว่า แยกส่วน (Part)
เช่น ความถูกต้อง ความไม่ถูกต้อง (Right and Wrong)
ชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน (Private life and Work life) ฯลฯ
นอกจากนี้ระบบการคิดของประเทศโลกตะวันตกหลังการปฏิวัติทางภูมิปัญญาและ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม จะเน้นการมีความเป็นเหตุเป็นผล (Rational) และการพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเด็นเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าระบบการคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่ผิดปกติแต่อย่างใด หากได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงที่มา ต่างก็มีผลกระทบทั้งด้านดีและด้านไม่ดี
อ้างอิงจาก คุณ ไชยา ยิ้มวิไล (2550) กล่าวเพิ่มเติมถึงจุดเด่นหรือข้อดีของวัฒนธรรม
ตะวันตกใน 5 ประการที่เหมาะสมกับสังคมโลกในยุคสมัยปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่
1. การมีระบบเท่าเทียม (Equality) คือ การที่สภาพสังคมเน้นให้ความเท่าเทียม
กันระหว่างมนุษย์ ไม่ว่าจะมีฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ แตกต่างกันก็ตาม
2. ระบบเสมอภาคและเป็นธรรม (Equity) คือ การให้คุณค่าของการดำรงชีวิต
ของทุกคนในสังคมว่ามีสิทธิเท่าเทียมกันที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมจากรัฐและทุกส่วนในสังคม อันเป็นรากฐานของประชาธิปไตย (Democratic) และสิทธิมนุษยชน (Human rights)
3. ระเบียบวินัย (Discipline) คือ การที่สมาชิกทุกคนในสังคมจะได้รับการปลูกฝัง
ให้เคารพกับระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ กฎหมายอย่างเคร่งครัด และเมื่อทุกคนดำรงชีวิตในสังคมจะเข้าใจและตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนในการเป็นพลเมืองที่ดี (Good citizen) และมีการประพฤติปฏิบัติตนในสังคมได้ถูกต้อง เหมาะสม (ซึ่งโอกาสในการทำผิดต่อระเบียบหรือกฎหมายก็จะค่อนข้างน้อย)
4. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ด้วยสังคมทางตะวันตกนั้นจะมีการปลูกฝัง
ทางสังคมตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน องค์กรที่สังกัด เพื่อให้ทุกคนมีอิสระทางความคิด ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับความคิดของผู้อื่น โดยไม่ตำหนิความคิดของผู้อื่นที่อาจไม่เหมือนกับความคิดของตนเอง หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวได้ว่าสังคมตะวันตกจึงเป็นสังคมแบบ "มีความแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก"
5. ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม (Environmental Concern) ชาวตะวันตก
หลังมีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคมาอย่างยาวนาน และมีการสร้างความเจริญทางวัตถุเพื่อการดำรงชีวิตให้สะดวกสบาย ทันสมัย และได้รับผลกระทบของการพัฒนาที่นอกจากจะมีด้านดีแล้ว ยังมีด้านเสียหายต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ด้วยเช่นกัน จึงให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยชาวตะวันตกจะได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กให้รักษาสภาพแวดล้อม ในด้านธรรมชาติและความสะอาด ความเป็นระเบียบ ดังนั้นจึงพบว่าชาวตะวันตกส่วนใหญ่มักต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า แม่น้ำหรือการสร้างมลภาวะต่างๆ
Crรูปภาพ3 https://pin.it/2gQlj9S
Crเนื้อหาบางส่วน https://th.wikipedia.org/wiki/โลกตะวันตก
#อ่านดีกว่าไม่อ่าน
โฆษณา