6 พ.ย. 2021 เวลา 08:13 • ข่าว
ยาต้านไวรัสโควิดลำดับที่ 2 ของโลก มีประสิทธิผลสูงถึง 89% เป็นของ Pfizer
1
Pfizer บริษัทยายักษ์ใหญ่สัญชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเจ้าของวัคซีนป้องกันโควิดด้วยเทคโนโลยี mRNA
1) ได้เปิดเผยผลการศึกษายาต้านไวรัสตัวใหม่ชื่อว่า Paxlovid ( PZ-07321332) มีประสิทธิผลในการลดการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 89%
2) เป็นยาชนิดรับประทาน วันละ 2 ครั้ง จำนวน 5 วัน
3) จะยื่นขออนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (EUA) ต่ออย.สหรัฐฯ (USFDA)ในเดือนพฤศจิกายนนี้
4) นโยบายการค้าของ Pfizer จะขายยาในราคาไม่เท่ากัน ประเทศรายได้น้อยและประเทศรายได้ปานกลางจะมีราคายาถูกกว่าประเทศร่ำรวย
1
5) บริษัทได้ลงทุนวิจัยพัฒนายาไปกว่า 33,000 ล้านบาท
6) คาดว่าจะผลิตยาได้ในปีนี้ 1.8 แสนคอร์ส คอร์สละ 30 เม็ด และปีหน้าจะผลิตได้ 50 ล้านคอร์ส
รายละเอียดของยาที่น่าสนใจ
1) Paxlovid เป็นยาต้านไวรัส(Antiviral drug) ที่ก่อโรคโควิดคือไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 โดยตรงเป็นตัวที่ 2 ของโลก
โดยยาตัวแรกคือ ยาของบริษัท Merck (Molnupiravir) ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในประเทศอังกฤษเรียบร้อยแล้ว ในชื่อว่า Lagevrio และรอการอนุมัติจากอย.สหรัฐฯอยู่
2) กลไกการออกฤทธิ์ของยา
เริ่มพัฒนามาจากยาเดิม ที่บริษัท Pfizer วิจัยขึ้น เพื่อรักษาโคโรนาไวรัสลำดับที่ 5 ที่ก่อให้เกิดโรค SARS และมีการระบาดในปี 2002 โดยเป็นยาฉีด
การพัฒนาครั้งนี้ นำมาใช้เพื่อต่อต้านไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ซึ่งก่อโรคโควิด โดยเริ่มงานวิจัยมาตั้งแต่กรกฎาคม 2563
เป็นยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ที่ใช้ในการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนก่อโรคไม่ได้
ซึ่งยากลุ่มนี้ ได้ผลดีในการต้านไวรัสก่อโรคเอดส์หรือเอชไอวี(HIV)มาแล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
2.1 ไวรัสจะเข้าไปในเซลล์มนุษย์
2.2 สารพันธุกรรมของไวรัสคือ RNA จะแยกตัวออกมาจากไวรัส โดยยังอยู่ในเซลล์มนุษย์
2.3 RNA จะทำการสร้างโปรตีน Polypeptide
2.4 เอนไซม์ Protease จะมาตัด Polypeptide ให้เป็นท่อนเล็กๆเพื่อประกอบกันเป็นไวรัสตัวใหม่รุ่นลูก เป็นการเพิ่มจำนวนและก่อให้เกิดโรค
2.5 ยาต้านไวรัส Paxlovid เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว (Protease inhibitor) จึงทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้
3) ผลการศึกษา เป็นการศึกษาในเฟส 2/3 ซึ่งยังไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์
พบว่าได้ผลดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ รวมทั้งสายพันธุ์เดลต้าด้วย
โดยการให้ยารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด ร่วมกับยา Ritonavir ซึ่งจะออกฤทธิ์ชะลอการสลายตัวของยา Paxlovid ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้น
พบว่าถ้าให้ยาเร็วภายใน 3 วันแรกหลังติดเชื้อ
จะมีประสิทธิผลสูงถึง 89%
โดยกลุ่มที่ได้รับยา 389 คน
เข้าโรงพยาบาล 3 คน
ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับยา 385 คน
เข้าโรงพยาบาล 27 คน
และถ้าให้ยาภายใน 5 วันหลังจากติดเชื้อ
ประสิทธิภาพลงมาเล็กน้อยเป็น 85%
โดยกลุ่มที่ได้รับยา 607 คน
เข้าโรงพยาบาล 6 คน
ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับยา 612 คน
เข้าโรงพยาบาล 41 คน
ทั้งนี้กลุ่มที่ได้รับยา ไม่มีผู้เสียชีวิต
ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับยา เสียชีวิตไป 10 คน
ยาที่ใช้รักษาโควิดในปัจจุบัน เริ่มต้นมาจากเราใช้ยาเท่าที่มีอยู่เดิม เป็นยาที่รักษาไวรัสสายพันธุ์ใกล้เคียงกับโคโรนาลำดับที่ 7 ที่ก่อโรคโควิด ได้แก่
1
1) ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นยาชนิดรับประทาน
2) เรมเดสซิเวียร์ (Remdesivir) เป็นยาฉีด ของบริษัท Gilead Science Inc.
3) Monoclonal Antibody ของบริษัท Regeneron Phamaceutical Inc. และ Eli Lilly
4) สเตียรอยด์กลุ่มเด็กซ่าเมธาโซน
(Dexamethasone)
5) ฟ้าทะลายโจร
ส่วนยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อโคโรนาไวรัสสำหรับที่ 7 ที่ก่อโรคโควิดตัวแรกคือ Molnupiravir ของบริษัท Merck ซึ่งได้ประกาศนโยบายสำคัญเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วโลกคือ
จะไม่คิดค่าสิทธิบัตรยาที่ขายในประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางและยากจนครึ่งโลก 105 ประเทศ
1
ทำให้ลดราคายาจากเม็ดละ 580 บาท เหลือ 6.60 บาท
1
ส่วนในครั้งนี้ บริษัท Pfizer ประกาศว่าจะขายยาให้กลุ่มประเทศรายได้น้อย ต่ำกว่าในประเทศร่ำรวย
แต่ยังไม่ประกาศตัวเลขที่ชัดเจนว่าจะถูกกว่ากันมากน้อยเพียงใด
คงจะต้องติดตามความคืบหน้าของยาต้านไวรัสของบริษัท Pfizer ว่าจะได้รับการอนุมัติจาก
อย.สหรัฐฯเมื่อใด
และที่สำคัญคือจะมีราคาถูกแพงมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับยาของบริษัท Merck
Reference
โฆษณา