7 พ.ย. 2021 เวลา 02:24 • ธุรกิจ
ทำผิดลงโทษพักงานแล้ว เอาเหตุเดียวกันมาเลิกจ้างไม่ได้
[หนังสือเล่มดำ จะถึงบ่ายวันนี้นะครับ รอรับสายคนส่งของจากแฟลชฯ ด้วยครับ]
หลักกฎหมายทั่วไปมีว่า "บุคคลไม่อาจถูกลงโทษหลายครั้งสำหรับการกระทำความผิดครั้งเดียวได้” ไม่ว่าบุคคลนั้นจะได้กระทำความผิดในทางอาญา ทางปกครอง หรือทางวินัยในทางกฎหมายแรงงาน หรือแรงงานรัฐวิสาหกิจ"
หากลูกจ้างทำความผิดไม่ว่าจะทุจริต หรือทำความผิดอาญาแก่นายจ้าง หรือมาทำงานสายบ่อยมาก ลาบ่อยมาก หรือทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือกระทำผิดมาตรฐานสังคมอย่างรุนแรง หรือกระทำการอันเป็นความผิดอาญาที่มีความร้ายแรงอยู่ในตัว เช่นนี้เป็นความผิดที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้
แต่ถ้านายจ้างเลือกลงโทษที่เบากว่าเช่น พักงาน หรือออกหนังสือตักเตือน หรือแม้แต่การลงโทษที่ขัดต่อกฎหมายด้วยการหักค่าจ้าง หากลงโทษไปแล้วเท่ากับว่าเป็นการล้างความผิดไปแล้ว
ต่อมาจะนำเอาการกระทำเดิมที่ลงโทษไปแล้วมาลงโทษอีกไม่ได้
เคยมีคดีที่ลูกจ้างทำความผิด้วยการทะเลาะวิวาท แต่นายจ้างลงโทษด้วยการพักงาน ๑ เดือน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง ซึ่งถือว่าได้ลงโทษในการกระทำไปแล้ว นายจ้างจ้างไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาลงโทษซ้ำโดยการเลิกจ้างได้อีก
จึงทำให้การเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง และต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างด้วย
ข้อสังเกต
๑) การลงโทษด้วยการพักงานและไม่จ่ายค่าจ้างนั้นไม่มีกฎหมายกำหนดว่าต้องลงโทษพักงานนานกี่วัน แต่แนวปฎิบัติของกระทรวงแรงงาน คือ พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างไม่เกิน ๗ วัน ดังนั้น การพักงานกรณีนี้ ๑ เดือน แม้ดูเสมือนว่าคำสั่งจะเป็นเป็นธรรมต่อลูกจ้าง แต่เมื่อก็ต้องถือว่าได้มีการลงโทษไปแล้ว จึงลงโทษซ้ำไม่ได้
๒) ฝ่ายบุคคลหรือนายจ้าง ก่อนจะตัดสินใจลงโทษต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งก็อาจตัดสินใจยากระหว่างจะเก็บเอาไว้หรือเลิกจ้าง เมื่อตัดสินใจลงโทษเบาไปแล้วพฤติการณ์ความผิดนั้นก็ถือว่าได้ถูกชดใช้ด้วยโทษไปแล้ว
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 555/2562
ภาพจาก pngtree.com
เลือกติดตามกฎหมายแรงงานได้อีก 4 ช่องทาง
โฆษณา