30 พ.ย. 2021 เวลา 00:00
ไม่ได้หมดไฟ แค่หมดใจจะทำงานต่อ
Brownout ภาวะหมดไฟในการทำงาน(ระยะยาว)
'Brownout' อาการหมดไฟในการทำงานระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากอาการ 'Burnout' ที่เป็นการหมดแรงบันดาลใจจากการทำงานในระยะสั้น ซึ่ง Brownout นั้นจะมีอาการเบื่อหน่าย และอึดอัดกับกฎข้อบังคับบางอย่างขององค์กรเป็นอย่างมาก จนก่อให้เกิดเป็นภาวะถอยห่าง (Disengagement) ทำให้ผลสุดท้ายเราทนไม่ไหว ลาออกจากงานไปในที่สุด
โดยจากข้อมูลเว็บไซต์ Entrepreneur.com ได้ระบุว่ามีจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่มีอาการ Burnout ลาออกจากองค์กรเพียงแค่ 5% ตรงกันข้ามกับอาการ Brownout ที่มีผู้ลาออกจากองค์กรถึง 40%
ลองเช็คตัวเองกันดูซิว่ามีอาการเหล่านี้ไหม?
- สนใจแต่เรื่องงานมากเกินไปจนลืมใส่ใจกับตัวเอง (ไม่กินไม่นอนทำแต่งาน)
- รู้สึกวิตกกังวลและกดดันตัวเองตลอดเวลา
- เบื่อหน่ายกับการเข้าสังคมและการพูดคุยกับผู้คน แม้กระทั่งคนใกล้ตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน และคนรัก
- ร่างกายเสื่อมโทรมลงเพราะขาดการพักผ่อน
โดยสาเหตุของการเกิด Brownout นั้นมาจาก
1. กฎข้อบังคับขององค์กรที่จุกจิก
การกำหนดข้อบังคับขององค์กรที่มีอยู่มากเกินไป ทำให้พนักงานเกิดความความรู้สึกอึดอัด เมื่อจะทำงานอะไรก็รู้สึกไม่เป็นตัวเองเพราะระแวงว่าตนเองจะทำผิดกฎของบริษัทหรือไม่
2. เท่าเทียมกันแต่ไม่แฟร์
การปฎิบัติขององค์กรที่มีต่อพนักงานเท่าเทียมกันหมด แม้ว่าบางคนจะไม่ตั้งใจทำงาน ผลสุดท้ายก็จะได้เงินเดือนหรือเงินโบนัสเท่ากับคนที่ตั้งใจทำงาน ซึ่งไม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ที่ตั้งใจทำงานจนก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจต่อการปฎิบัติขององค์กร
3. ทิศทางขององค์กรไม่ชัดเจน
เกิดจากความไม่มั่นใจและความลังเลของผู้บริหารว่าจะวางแผนให้องค์กรของตนเองอยู่ในทิสทางใด ซึ่งทำให้พนักงานเกิดความไม่เชื่อใจและขาดแรงจูงใจในการทำงานต่อ
4. ถูกจำกัดหรือตีกรอบความสามารถ
จากข้อบังคับหรือตำแหน่งงานที่ต่ำกว่าทำให้ถูกจำกัดความสามารถที่ควรจะมีมากกว่านี้ให้ลดน้อยลง การแสดงความคิดเห็นหรือแชร์ไอเดียไม่ได้ถูกปลดปล่อยออกมา ต้องทนอยู่กับการทำงานที่วนลูปในแบบแผนเดิม ก่อให้เป็นสาเหตุของน่าเบื่อหน่ายระดับต้นๆ
.
ดังนั้นผลกระทบของอาการ Brownout ไม่ได้ส่งผลแค่ทำให้ลาออกจากงานเพราะความเบื่อหน่ายเท่านั้น หากปล่อยให้อยู่ในระยะยาวจนก่อให้เกิดภาวะถอยห่าง (Disengagement) ซ้ำๆ ก็ทำให้สุขภาพจิตของผู้ที่มีอาการ Brownout มีสิทธิ์ต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้
นอกจากนั้นสุขภาพร่างกายก็จะเกิดอาการหนื่อยล้าและเสื่อมโทรมลงจากการคิดวิตกกังวลมากเกินไปทำให้ร่างกายนั้นไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
.
ไหนใครมีอาการเหล่านี้บ้าง?
.
เรียบเรียงโดย S.anatsata
ที่มา forbes, entrepreneur, parkerbridge
.
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
.
.
“Knowledge is the only way to success”
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
ติดตามคอนเทนต์เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความสำเร็จจาก Future Trends ได้ที่
(อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนต์ใหม่ในทุก ๆ วัน)
#FutureTrends #KnowledgeforSuccess
โฆษณา