27 พ.ย. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“เด็กบ้านรวย” กับ “เด็กเรียนเก่ง” ใครจะประสบความสำเร็จมากกว่ากัน
1
เคยไหมครับ? ที่เราพยายามทำอะไรสักอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังแพ้คนอื่นอยู่ดี ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จ จนรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่า “หรือเราจะไม่ได้เก่งจริงๆ? หรือเรายังพยายามไม่มากพอ?”
3
บางครั้งเรื่องนี้ อาจไม่ใช่แค่การคิดไปเอง แต่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมารองรับ
งานวิจัยดังกล่าวชื่อว่า “Born to Win, Schooled to Lose” (เกิดมาเพื่อเป็นผู้ชนะ ร่ำเรียนมาเพื่อเป็นผู้แพ้) ของสถาบัน Georgetown Center on Education and the Workforce (CEW) โดยเก็บข้อมูลจากประชากรอเมริกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อหาคำตอบของสมมติฐานที่ว่า “ความรวย” คือเครื่องชี้วัดความสำเร็จ ได้มากกว่า “การศึกษา” นั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่?
1
มีการทดสอบวัดความสามารถ ตั้งแต่ช่วงชั้นอนุบาลศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน โดยใช้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือบ่งชี้ แล้วจัดแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มๆ ด้วยเกณฑ์
- ประวัติการศึกษา
- รายได้ สถานะทางสังคม
- สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว
- ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง
- อาชีพของผู้ปกครอง
2
[“เด็กเก่ง แต่ยากจน” มักสู้ “เด็กอ่อน แต่บ้านรวย” ไม่ได้!]
5
จากการวิจัยนี้พบว่า คนที่มีฐานะทางครอบครัวยากจน แต่สามารถทำคะแนนสอบได้สูงสุดนั้น จะสามารถเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ได้เพียงแค่ 31% เท่านั้น และเมื่อสำเร็จการศึกษา ทำงานตอนอายุราว 25 ปี ก็จะได้ค่าแรงเฉลี่ยปีละ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 1.1 ล้านบาท) และคนกลุ่มนี้ราว 76% ก็สามารถเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจ - สังคมได้
3
ส่วนคนที่มีฐานะทางครอบครัวร่ำรวย แต่ทำคะแนนสอบได้ต่ำสุด กลับได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยมากถึง 71% เมื่อทำงานตอนอายุราว 25 ปี ก็จะได้ค่าแรงเฉลี่ยพอๆ กัน (ทั้งที่ความสามารถต่างกัน) และ 91% ของคนกลุ่มนี้ยังสามารถรักษาสถานะทางเศรษฐกิจ - สังคม เอาไว้ได้
2
การวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า เด็กที่มีความสามารถ แต่มาจากครอบครัวยากจน มักจะไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน โดยมีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยน้อยกว่า และทำงานได้รับค่าแรงน้อยกว่าที่ควร เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่เก่ง แต่มาจากครอบครัวฐานะร่ำรวย
7
[เด็กไม่ประสบความสำเร็จ เป็นความผิดของใคร?]
2
เมื่อมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา หรือไม่ประสบความสำเร็จ สังคมก็มักกล่าวโทษว่า เด็กคนนั้นมีความพยายามไม่มากพอ ซึ่งนั่นก็อาจจะจริงบางส่วน เพราะแต่ละคนมีอุปสรรคไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะลุกขึ้นสู้ หรือยอมแพ้
1
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยสู่ความสำเร็จมันซับซ้อนยิ่งกว่านั้น หลายคนมองข้ามพื้นฐานการเลี้ยงดู และฐานะทางครอบครัวของเด็ก
4
ครอบครัวที่มีฐานะดี สามารถใช้เวลากับลูกได้มากกว่าครอบครัวที่มีฐานะยากจน และเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้มากมาย หรืออย่างน้อยหากพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ ก็ยังสามารถจ่ายเงินลงทุน เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของลูกในด้านต่างๆ ได้ ซึ่งจากงานวิจัยชิ้นเดียวกัน พบว่าในปี 2016 ครอบครัวที่ร่ำรวยใช้จ่ายไปกับกิจกรรมของเด็ก มากกว่า 8,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 272,000 บาท)
2
ขณะที่ฝ่ายพ่อแม่ของเด็กยากจนนั้น หมดเวลาไปกับการหาเช้ากินค่ำ และแทบไม่มีทางเลือกใดๆ ในชีวิต โดยใช้จ่ายไปกับกิจกรรมของเด็ก เพียงแค่ 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 54,000 บาท)
ด้วยความเหลื่อมล้ำดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมรัฐบาลแต่ละประเทศควรมีนโยบายทางการศึกษาที่เท่าเทียม กระจายความเจริญไปยังโรงเรียนในพื้นที่นอกเมือง ให้เกิดการพัฒนาเทียบเคียงกับโรงเรียนใหญ่ในเมือง เพื่อให้เด็กๆ ที่ยากจนสามารถเข้าถึงโอกาสในชีวิต ได้เหมือนกับเด็กที่มาจากครอบครัวร่ำรวย
1
เพราะ “การศึกษา” คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับฐานะของมนุษย์นั่นเอง
2
#วางแผนการเงิน #ออมเงิน #การศึกษา #เรียนออนไลน์
#FinancialPlanning101 #aomMONEY
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี https://bit.ly/3aOjgMl
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
โฆษณา