10 พ.ย. 2021 เวลา 03:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เราควรแบ่งเงินไปซื้อ RMF/SSF เท่าไร เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด ?
มนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คน ที่จะต้องเสียภาษีอาจจะสงสัยว่า ในแต่ละเดือนเราควรเก็บเงินไว้สำหรับซื้อกองทุนอย่าง RMF/SSF เท่าไร
ถึงจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ?
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ในแต่ละปี เราจะได้สิทธิในการงดเว้นภาษี เป็นมูลค่ารวมกว่า 315,100 บาท
ซึ่งก็คิดมาจาก
- ค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- หักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท (เฉพาะปีภาษี 2564 อ้างอิง: https://bit.ly/3BOUmGU)
- เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้น
(อ้างอิง: https://www.rd.go.th/557.html)
ดังนั้น คนที่มีเงินได้ต่อปีมากกว่า 315,100 บาท เท่านั้นที่จะต้องเริ่มเสียภาษีในปี 2564 นี้
แล้ว สมมติว่า ในเดือนหนึ่งเรามีเงินได้ 30,000 บาท เราจะต้องออมในกองทุนรวม RMF/SSF เดือนละเท่าไร ?
กรณีนี้ เท่ากับว่าใน 1 ปี เราจะมีเงินได้รวม 360,000 บาท
เมื่อหักกับส่วนที่ได้รับการยกเว้น 315,100 บาท
แสดงว่าเงินที่จะต้องนำไปคิดภาษีในปีนี้อยู่ที่ 44,900 บาท
แต่เนื่องจากเรายังสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีก
อย่างเช่น การลงทุนในกองทุน RMF/SSF
ซึ่งตามเกณฑ์แล้ว หากเราอยากลงทุนใน RMF อย่างเดียว เราสามารถลงทุนได้ 30% ของเงินได้พึงประเมินของปีภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
ดังนั้นในกรณีนี้เราก็สามารถลงทุนใน RMF คิดเป็นมูลค่าสูงสุดอยู่ที่ 30% ของ 360,000 = 108,000 บาท
แต่เนื่องจากเงินได้พึงประเมินของเราที่สามารถนำไปลดหย่อนได้ เหลืออยู่ 44,900 บาท
มูลค่า RMF ที่ควรลงทุนจึงอยู่ที่ 44,900 บาท
โดยเราสามารถแบ่งลงทุนเดือนละ 3,742 บาทได้ หรือจะลงทุนทีเดียวก็ได้เช่นกัน
สรุปแล้ว จากเดิมก่อนที่จะซื้อ RMF เราจะต้องเสียภาษี เป็นจำนวนเงิน 2,245 บาท (ตัวเลขจากการคำนวณในโปรแกรมคำนวณภาษี www.ktam.co.th/tax)
แต่หลังจากที่ซื้อ RMF มูลค่า 44,900 บาท ทำให้ในปีนี้เราไม่ต้องเสียภาษีเลยนั่นเอง
สำหรับท่านใดที่สนใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี ทาง KTAM ขอแนะนำ
1. กองทุนเปิดกรุงไทย คอนเซอเวทีฟ 25/75 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT25/75RMF)
- เป็นกองทุนรวมผสม บริหารเชิงรุก (Active) ลงทุนในสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยลงทุนผสมระหว่างตราสารหนี้และหุ้นในประเทศเป็นหลัก
- ควบคุมความเสี่ยงโดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนของหุ้นประเทศไม่เกิน 25%
- 75% เป็นการลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตราสารหนี้ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- มุ่งสร้างโอกาสรับผลตอบแทนอย่างมีเสถียรภาพจากตราสารหนี้และผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น
รายละเอียดข้อมูลกองทุน KT25/75RMF เพิ่มเติม คลิก https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail.aspx?IdF=14
2. กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม (ชนิดเพื่อการออม) (KT70/30S-SSF)
- เป็นกองทุนรวมผสม เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนใน SET และ/หรือ MAI โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และลงทุนในตราสารทุนไม่เกิน 70% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก ตราสารภาครัฐ และตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี
- เน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพี้นฐานดี และโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี
รายละเอียดข้อมูลกองทุน KT70/30S-SSF เพิ่มเติม คลิก https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail.aspx?IdF=30
ซึ่งหากใครสนใจลงทุนใน กองทุน KT25/75RMF และ KT70/30S-SSF ยังมีสิ่งที่น่าสนใจห้ามพลาด นั่นคือ
1
1. สามารถชำระผ่านบัตรเครดิต KTC หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก ๆ 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท
2. สามารถลงทุนออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย ดาวน์โหลด ได้เลยที่
เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
กองทุน KT25/75RMF มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
SSF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาว และ RMF เพื่อการเกษียณอายุ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุน SSF/RMF และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน อนึ่ง ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนที่กรมสรรพากรกำหนด และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk), ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Risk), ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ (Liquidity Risk), ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) เป็นต้น
ศึกษารายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9
#กองทุนลดหย่อนภาษี2564 #กองทุนลดหย่อนภาษี #กองทุนรวมลดหย่อนภาษี #กองทุนรวม #กองทุนไหนดี #กองทุนSSFRMF #กองทุนRMF #กองทุนSSF #กองทุนKTAM #ซื้อกองทุนผ่านบัตรเครดิต #KTAMSMARTTRADE
โฆษณา