12 พ.ย. 2021 เวลา 11:33 • ประวัติศาสตร์
• ประวัติศาสตร์อิสลาม | ฉบับรวบรัด
ตอนที่ 1 เหล่าผู้สืบทอดศาสดา
1
• ซีรีย์ชุดนี้จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ตอนด้วยกัน โดยตอนแรกจะพูดถึงเรื่องราวรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดุน (Rashidun Caliphate) ตอนที่สองเป็นเรื่องราวของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (Umayyad Dynasty) และตอนที่สามเป็นเรื่องราวของราชวงศ์อับบาซิยะฮ์ (Abbasid Dynasty)
1
• ปีที่ใช้ในบทความ จะเป็นปีคริสต์ศักราช (ค.ศ.) เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ
1
ในปี 632 นบีมูฮัมหมัดผู้เป็นศาสดาของศาสนาอิสลามได้เสียชีวิตลง ส่งผลให้อาณาจักรของชาวมุสลิมที่ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอาระเบีย (มาจากยุคสมัยของนบีมูฮัมหมัด ที่ชาวมุสลิมได้ทำสงครามเพื่อเผยแพร่ศาสนา) เกิดความสั่นคลอน ก่อให้เกิดความสงสัยในหมู่ชาวมุสลิมว่า ใครกันที่จะเป็นผู้สืบทอดการเป็นผู้นำของชาวมุสลิมต่อจากท่านนบี
5
ด้วยเหตุนี้เหล่าสภาอาวุโสซึ่งเป็นกลุ่มสาวกระดับสูงที่ใกล้ชิดกับท่านนบี จึงมีมติเลือกให้ขุนศึกผู้หนึ่งนามว่า อบูบักร (Abu Bakr) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำชาวมุสลิมต่อจากท่านนบี โดยอบูบักรผู้นี้ ยังมีศักดิ์เป็นพ่อตาของนบีมูฮัมหมัด
3
โดยตำแหน่งผู้นำชาวมุสลิมที่อบูบักรเป็นนั้น เรียกว่ากาหลิบหรือเคาะลีฟะฮ์ (Caliph) ซึ่งมีความหมายตามภาษาอาหรับว่า ผู้สืบทอด (Successor) และถือเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรมุสลิมที่เรียกว่า รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดุน (Rashidun Caliphate | ชื่อของรัฐมีความหมายว่า รัฐของเคาะลีฟะฮ์ผู้ชอบธรรม) ที่มีศูนย์กลางอำนาจในช่วงแรกอยู่ที่นครเมดินา (Medina) ก่อนที่ภายหลังจะย้ายมาที่นครคูฟาฮ์ (Kufa)
4
ซึ่งผู้ที่เป็นกาหลิบ (หรือเคาะลีฟะฮ์) จะมีสถานะเป็นทั้งผู้นำในทางธรรม คือเป็นผู้นำของศาสนาอิสลาม และมีสถานะเป็นผู้นำในทางโลก คือมีความเป็นกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร
4
อบูบักรดำรงตำแหน่งเป็นกาหลิบตั้งแต่ปี 632 จนเสียชีวิตในปี 634 สภาอาวุโสก็ได้เลือกผู้ที่สืบทอดเป็นกาหลิบก็คือ อุมัร (Umar) ซึ่งมีศักดิ์เป็นพ่อตาของนบีมูฮัมมัดเช่นเดียวกับอบูบักร
5
ในยุคของอุมัร รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดุนได้ขยายอำนาจ โดยการเข้าครอบครองดินแดน ทั้งเปอร์เซีย อียิปต์ ซีเรีย รวมไปถึงแอฟริกาเหนือ
5
อุมัรดำรงตำแหน่งเป็นกาหลิบจนถึงปี 644 อุมัรก็ได้ถูกลอบสังหารโดยทาสชาวเปอร์เซีย เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ สภาอาวุโสจึงต้องเลือกผู้สืบทอดคนต่อไป โดยผู้ที่ได้รับเลือกก็คือ อุษมาน (Uthman) ผู้เป็นทั้งสหายและลูกเขยของนบีมูฮัมหมัด (อุษมานแต่งงานกับบุตรสาวสองคนของนบี)
3
ทว่าในยุคของอุษมาน ได้เกิดความแตกแยกในชาวมุสลิม จนถึงขั้นที่มีกบฎต่อต้านอุษมาน ผลสุดท้ายอุษมานก็ถูกกบฎลอบสังหารที่นครเมดินาในปี 656
2
หลังการเสียชีวิตของอุษมาน สภาอาวุโสก็ได้เลือกกาหลิบคนใหม่ก็คือ อาลี (Ali) โดยอาลีถือว่ามีศักดิ์ทางเครือญาติกับนบีมูฮัมหมัด โดยเป็นทั้งลูกพี่ลูกน้องและเป็นลูกเขย (อาลีแต่งงานกับฟาติมะฮ์ Fatimah บุตรสาวคนเล็กของนบี)
5
ความแตกแยกของชาวมุสลิมที่เริ่มมีมาตั้งแต่ยุคอุษมาน ก็ได้ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง (เรียกว่า ฟิตนะฮ์ Fitna) ระหว่างฝ่ายของอาลี กับฝ่ายของมุอาวิยะฮ์ (Muawiyah) ขุนศึกที่ครองอำนาจอยู่ในซีเรีย ผู้เป็นญาติของอุษมาน (มุอาวิยะห์เชื่อว่า อาลีมีส่วนต่อการเสียชีวิตของอุษมาน)
2
นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ศาสนาอิสลามยังได้มีการแบ่งแยกออกเป็น 2 นิกายหลัก คือนิกายสุหนี่ (Sunni) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยอมรับในกาหลิบสี่คนของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดุน (อบูบักร อุมัร อุษมาน อาลี)
1
กับอีกนิกายหนึ่งคือ นิกายชีอะห์ (Shia) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยอมรับเฉพาะกาหลิบอาลี เพราะถือว่าเป็นกาหลิบที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับนบีมูฮัมหมัดอย่างแท้จริง และมองว่าอบูบักรไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นกาหลิบมาตั้งแต่แรก (หลังจากนบีมูฮัมหมัดเสียชีวิต สภาอาวุโสได้เคยจะเลือกให้อาลีเป็นกาหลิบคนแรก แต่อาลีไม่อยากให้ชาวมุสลิมเกิดความแตกแยก จึงตัดสินใจให้อบูบักรเป็นกาหลิบแทน)
2
ท่ามกลางสงครามกลางเมือง ก็ได้มีชาวมุสลิมที่เป็นกลุ่มหัวรุนแรง ต้องการที่จะสังหารทั้งอาลีและมุอาวิยะห์ ผลสุดท้ายอาลีถูกลอบสังหารที่นครคูฟาฮ์ในปี 661 ส่วนมุอาวิยะห์สามารถรวบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ จนตั้งตนเป็นกาหลิบองค์ใหม่
3
การขึ้นสู่อำนาจของมุอาวิยะฮ์ นับว่าเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดุน และเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์อุมัยยะฮ์
2
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา