13 พ.ย. 2021 เวลา 12:00 • สิ่งแวดล้อม
ต้นตีนเป็ด ผิดอะไร ทำไมถึงอยากตัดทิ้ง❌
#saveต้นตีนเป็ด
วันนี้ สวนบ้านส้ม ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับต้นไม้ใหญ่ ที่ชื่อว่า "ต้นตีนเป็ด" หรือ 'พญาสัตบรรณ'
พญาสัตบรรณ แปลว่า มี 7 ใบ เป็นชื่อที่มาจากภาษาสันสกฤต ที่รวมเอาคำว่า สปต (แปลว่า 7) และ ปรณ (แปลว่า ใบหรือขนนก)
1
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris
ต้นพญาสัตบรรณ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ต้นตีนเป็ด เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร จะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
ดอกต้นตีนเป็ด
ดอกของต้นตีนเป็ด จะมีกลิ่นหอมฟุ้ง กลิ่นจะแรงในช่วงหัวค่ำ ออกดอกเป็นช่อปลายกิ่ง มีสีขาวอมเหลืองและเขียวนิดๆ กลีบดอกเป็นรูปวงรีมีขนภายใน
การรับรู้กลิ่นของดอกต้นตีนเป็ด ของแต่ละคนไม่เท่ากันบางคนรู้สึกหอมหวาน หอมอ่อน บางคนรู้สึกฉุน เหม็นจนถึงขั้นปวดหัว อยากจะอาเจียน 🤮
1
ทั้งนี้สาเหตุของอาการปวดหัว เวลาที่ได้กลิ่นดอกตีนเป็ด (แบบเข้มข้น) เกิดจากสารประกอบที่อยู่ในดอกของต้นตีนเป็ด ซึ่งเป็นสารกลุ่ม 'ลิลาโลออล' (linalool) ที่สามารถกระตุ้นระบบประสาทในสมอง ให้ทำงานหนักยิ่งขึ้น จนเกิดอาการดังกล่าว😬
คนที่แพ้ดอกตีนเป็ด มักจะแพ้กลิ่น 'ดอกราตรี' ด้วย
จากกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของเจ้าต้นตีนเป็ดนี่เอง ทำให้เกิดกระแส อยากตัดต้นตีนเป็ดทิ้ง ของผู้ที่ปลูกไว้ในบ้าน และผู้ที่ใช้สวนสาธารณะ หรือมีบ้านอยู่ใกล้จุดที่มีต้นตีนเป็ด เรียกร้องให้ตัดทิ้ง เพราะทนกลิ่นไม่ไหว 🤭🤧🤢
ก่อนที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ในการตัดต้นตีนเป็ดทิ้ง อยากให้ทุกคนลองพิจารณาประโยชน์ ของเขาก่อนดีมั้ยคะ
ถ้าเขาไม่มีดีอะไร เราจะปลูกเขาตั้งแต่แรกทำไมกัน
✅ ข้อดี ในด้านการเป็นสมุนไพรไทย เจ้าต้นตีนเป็ดไม่แพ้ใครเลย
1.เปลือกของลำต้นมีรสขม สามารถนำมาทำเป็นยาที่ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบรรเทาอาการโรคเบาหวาน และแก้หวัด แก้ไอ บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
2.เปลือกของลำต้น ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง ท้องเดินเรื้อรัง โรคลำไส้และลำไส้ติดเชื้อ
3.เปลือกของลำต้น ต้มน้ำอาบ ลดอาการผดผื่นคัน
4.ยางจากลำต้น ใช้หยอดหูแก้อาการปวดหู และใช้อุดฟันเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
5.ใบอ่อน นำมาต้มเพื่อดื่มรักษาโรคลักปิดลักเปิด
6.ใบและยาง ชาวอินเดียใช้รักษาแผล แผลเปื่อย แผลตุ่มหนอง และอาการปวดข้อ
7.ดอก ช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้โลหิตพิการ (ไม่ได้มีแค่ความฉุนน้าาา😬)
บางคนอาจจะแย้งว่า ไม่น่าจะได้ใช้ประโยชน์จากเจ้าต้นตีนเป็ด ในแง่สมุนไพรสักเท่าไหร่ ในยุคสมัยนี้ (ยุคที่ยาแผนปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย)
งั้นมาดูประโยชน์ อีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คน หลายๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เลือกเจ้าตันตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ มาปลูกกันอย่างมากมาย
ต้นใหญ่ให้ร่มเงา
✅ พญาสัตบรรณ หรือ ต้นตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้น เป็นไม้ใหญ่ โตเร็ว ลำต้นตรง มีลักษณะที่ดี มีคุณค่าทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง
✅ ในแง่การทำหน้าที่ตามธรรมชาติ ต้นตีนเป็ดไม่เคยบกพร่อง ทั้งการเป็นไม้เบิกร่อง โตนำต้นไม้อื่นเพื่อให้ร่มเงาไม้อื่นๆ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
✅ มีกิ่งก้าน สาขา ที่ให้ร่มเงา แก่บ้านเรือน สถานที่ต่างๆ ที่สำคัญ ‼️ ในแต่ละปี พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด ผลิตออกซิเจน และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปีละหลายร้อยตัน
1
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เรายังจะใจร้ายตัดเขาทิ้ง เพียงเพราะกลิ่นจากดอกของต้นตีนเป็ด ที่ออกดอกแค่ปีละครั้ง ครั้งหนึ่งมีระยะเวลาไม่นานนัก ราวๆ ครึ่งเดือนเท่านั้นเอง ❤
สำหรับผู้ที่แพ้กลิ่นดอกตีนเป็ด 😅 สวนบ้านส้ม มีวิธีแก้กลิ่นเหม็น มาบอกค่ะ
เทคนิคนี้ได้มาจาก ➡️ หน่วยวิจัยทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น ⬅️ ลองนำไปใช้กันดูนะคะ
1.ให้นำใบพลูที่ใช้กินกับหมาก 3 ใบ มาขยี้ให้แหลก จะมีกลิ่นหอมออกมา
ใบพลู Cr.puechkaset
2.นำยาหอมมาคลุกเคล้า (ยาหอม หรือเรียกว่า ยาผงแดง ซองละ 10 บาท ตามร้านขายยาจะมีขาย เช่น ยาผงแดงตราช่อแฮ่ ยาผงแดงตราหมาป่า ฯลฯ)
ยาผงแดง ตราหมาป่า
3.นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง ไว้สูดดมเวลาปวดหัว หรือวิงเวียน ตอนแพ้ดอกต้นตีนเป็ด
ทุกอย่างในโลกเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลกัน ความต่างของสรรพสิ่งทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ และสวยงามเหมือนทุกวันนี้
❤🌳 เมตตาเจ้าต้นตีนเป็ด อย่าตัดเขาทิ้งเลยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
🙏🏻ไทยรัฐออนไลน์
ขอบคุณกัลยาณมิตรที่ติดตามกัน แล้วพบกันในบทความถัดไปนะคะ
สวนบ้านส้ม
13 พ.ย. 2564
โฆษณา