16 พ.ย. 2021 เวลา 02:21 • ข่าวรอบโลก
เปิด 14 ข้อต้องรู้ ประโยชน์ "กัญชา" รักษาโรค หลังจากที่ กระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อก ใบกัญชา กัญชง พ้นจากบัญชียาเสพติด
กัญชาทางการแพทย์
"กัญชา" มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis sativa เป็นพืชล้มลุก มีใบเป็นแฉก 5-8 แฉก ลำต้นสูง 3-5 เมตร กัญชามีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือ สาร THC (Tetrahydrocannabinol) มีฤทธิ์ทำให้ติดและเมา และ CBD (Cannabidiol) สารต้านฤทธิ์เมา ไม่มีผลต่อจิตประสาท ช่วยลดผลข้างเคียงจากจิตและประสาทจาก THC มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลองกัญชา มี 3 สายพันธุ์ย่อย ดังนี้
- C. sativa spp sativa แถบบริเวณเส้นศูนย์สูตร โคลัมเบีย, เม็กซิโก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทย
- C. sativa spp indica ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, โมร็อกโก และทิเบต
- C. sativa spp ruderralis อากาศหนาวเย็น ตอนกลางของรัสเซียสำหรับประโยชน์ของกัญชานั้น มีงานวิจัยหลายแห่งรายงานผลว่า สารสกัดจากกัญชามีสรรพคุณรักษาอาการของโรคต่างๆ ดังนี้
1. รักษาภาวะเบื่ออาหาร กัญชาใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร จะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง
2. การป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด
3. รักษาโรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
4. รักษาภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
5. บรรเทาหอบหืด ยาแก้หอบหืดทุกตัวมีข้อเสียคือมีข้อจำกัด ทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียง เนื่องจากกัญชาขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม6. การใช้กัญชาในการรักษาต้อหิน คือ การรักษาตาต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ คนตาบอดในสหรัฐ คนอเมริกาเกือบล้านที่ป่วยด้วยต้อหินที่รักษาได้ด้วยกัญชา กัญชาทำให้ความดัน ภายในลูกนัยน์ตาลดลงได้ดีหลายชั่วโมงในคนปกติและในคนที่ความดันลูกนัยน์ตาสูงจากต้อหิน การให้กัญชาทางปากหรือทางหลอดเลือดดำให้ผลเหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับชนิดอนุพันธ์กัญชามากกว่า จะเกิดจากฤทธิ์กล่อมประสาทของกัญชา กัญชาไม่ได้รักษาโรคขาด แต่ช่วยยับยั้งการบอดไม่ให้เป็นมากขึ้น เมื่อยาทั่วไปไม่อาจช่วยได้ และการผ่าตัดเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป
สายพันธุ์กัญชา
7. ลดอาการปวด สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ THC สามารถช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้สามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น และช่วยลดอาการปวดข้อ แต่สำหรับอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็งนั้นยังไม่มีข้อสรุปทางคลินิกที่ชัดเจน
8. รักษาโรคพาร์กินสัน แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
9. รักษาโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
10. รักษาโรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง) แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
11. นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ เปิดเผยถึงข้อมูลในตำราพระโอสถพระนารายณ์ และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พบตำรับยาไทยที่เข้ากัญชาอยู่หลายตำรับ
สารสกัดน้ำมันกัญชา
12. รักษาโรคริดสีดวงทวาร เมื่อทายาริดสีดวงและโรคผิวหนังเป็นประจำ พบว่าอาการอักเสบและอาการปวดลดลง หัวริดสีดวงที่โผล่ออกมานอกหรืออยู่รอบๆรูทวารฝ่อลง
สูตรยาสกัดจากกัญชา
13. รักษามะเร็ง สารสกัดจากกัญชาอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดและยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกมะเร็งบางอย่างในหนูทดลองได้ หลังจากนั้น เมื่อมีการวิจัยเพิ่มขึ้น พบว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้จริง โดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดของก้อนมะเร็ง (Angiogenesis) และลดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ (Metastasis) ในโรคมะเร็งหลายชนิด ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรแกรมการตายของเซลล์มะเร็ง (Program cell death) ผ่านกระบวนการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของการรักษาโรคมะเร็งด้วยสารสกัดกัญชา จึงต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดแต่ละประเด็นต่อไป
14. คลายความวิตกกังวล จากประวัติการใช้กัญชาเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายในอดีตทำให้มีความเป็นไปได้ที่สารกลุ่มแคนนาบินอลน่าจะมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามพบว่ากลไกการออกฤทธิ์นั้นซับซ้อนและยังไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน จากรายงานทางคลินิกพบว่าการใช้สาร Fatty acid amide hydrolase inhibitors (FAAH inhibitors) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Endocannabinoids มีความสามารถในการลดอาการวิตกกังวลได้ ปัจจุบันสารหลายชนิดในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบทางคลินิก
ขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข
กรมสุขภาพจิต
โฆษณา