Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
17 พ.ย. 2021 เวลา 02:24 • ประวัติศาสตร์
“หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London)”
ผมเคยเขียนเรื่องราวของ “หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London)” เป็นซีรีส์ แต่สำหรับบทความนี้ จะเป็นการสรุปถึงเรื่องราวของหอคอยแห่งนี้ให้จบในบทความเดียว
“หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London)” เป็นหนึ่งในเรือนจำที่โด่งดังและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถึงแม้ว่าแรกเริ่มเดิมที สถานที่แห่งนี้จะไม่ได้ถูกใช้เป็นเรือนจำก็ตาม
อันที่จริง หอคอยซึ่งประกอบด้วยอาคารต่างๆ ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 11 โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นป้อมปราการเพื่อปกป้องลอนดอน เมืองหลวงแห่งประเทศอังกฤษ
แต่ในเวลาต่อมา หอคอยแห่งลอนดอนก็ได้กลายเป็นสถานที่ๆ น่ากลัวและตราตรึงในประวัติศาสตร์โลก
สำหรับการก่อสร้าง “หอขาว (White Tower)” ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณหอคอยแห่งลอนดอน ได้เริ่มต้นขึ้นในปีค.ศ.1078 (พ.ศ.1621) และก่อสร้างเสร็จในปีค.ศ.1100 (พ.ศ.1643)
ผู้ที่ออกแบบหอขาวคือ “กันดัล์ฟแห่งโรเชสเตอร์ (Gundulf of Rochester)” ซึ่งเป็นบิชอปชาวนอร์มัน โดยหอขาวถูกสร้างมาจากหินปูนขาวซึ่งนำเข้ามาจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส
หอขาว (White Tower)
หอขาวนี้ถูกออกแบบให้เป็นเชิงเทิน หากแต่ก็ถูกใช้เป็นเรือนจำในภายหลัง โดยเมื่อ “พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Henry I of England)” ขึ้นครองราชย์ในปีค.ศ.1100 (พ.ศ.1643) สิ่งแรกๆ ที่พระองค์ทรงทำ คือมีรับสั่งให้จับกุม “รานัลฟ์ แฟลมบาร์ด (Rannulf Flambard)” บิชอปแห่งเดอร์แฮม
แฟลมบาร์ดถูกกล่าวหาว่ามีความผิดจากบาปทางศาสนา ด้วยการลักลอบซื้อขายตำแหน่งทางศาสนา และแฟลมบาร์ดก็กลายเป็นนักโทษรายแรกของหอคอยแห่งลอนดอน หากแต่เวลาต่อมา เขาก็สามารถหนีออกมาได้
จากนั้น กษัตริย์องค์ต่อๆ มาก็ได้ทำการต่อเติมสถานที่แห่งนี้ โดยมีการสร้าง “หอระฆัง (Bell Tower)” ในปีค.ศ.1190 (พ.ศ.1733) และสร้างเสร็จในปีค.ศ.1210 (พ.ศ.1753)
1
บนยอดของหอระฆังจะมีระฆัง ซึ่งใช้เพื่อเตือนภัยหากมีเหตุร้ายเกิดขึ้น
1
หอระฆัง (Bell Tower)
จากนั้น สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็ตามมาอีกมากมาย
ในศตวรรษที่ตามมา หอคอยและกำแพงหลายแห่งก็ถูกต่อเติมในหอคอยแห่งลอนดอน
ตั้งแต่ปีค.ศ.1485 (พ.ศ.2028) ได้มีการตั้งหน่วยรักษาความปลอกภัยในหอคอยแห่งลอนดอน มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า “ผู้พิทักษ์หอคอย (Beefeaters)”
ผู้พิทักษ์หอคอย (Beefeaters)
สำหรับบทบาทการเป็น “เรือนจำ” ของหอคอยแห่งลอนดอน ได้สร้างความสะพรึงกลัวให้กับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่พระราชวงศ์เอง
แต่ถึงแม้หอคอยแห่งลอนดอนจะมีชื่อเสียงเรื่องความน่ากลัวและโหดร้าย แต่ก็ไม่ใช่ว่านักโทษทุกคนจะต้องทุกข์ทรมาน
นักโทษชั้นสูงที่มีฐานะมั่งคั่งบางรายก็มีชีวิตในหอคอยอย่างหรูหรา บางรายถึงขั้นได้รับอนุญาตใ้ห้ออกไปล่าสัตว์ และนำคนรับใช้ของตนเข้ามารับใช้ได้ด้วย
และถึงแม้จะมีประวัติศาสตร์ถึงความน่ากลัวของสถานที่แห่งนี้ โดยเฉพาะเรื่องการ “ทรมาน” แต่จากบันทึกนั้น พบว่าผู้ที่ถูกทรมานในหอคอยแห่งลอนดอนนั้น มีอยู่เพียงไม่กี่ราย
การทรมานนักโทษนั้น เป็นการทำไปเพื่อบีบให้นักโทษทางการเมืองคายความลับออกมา โดยมักจะกระทำในสมัยศตวรรษที่ 16 และศตวรรษที่ 17
1
แต่ถึงการทรมานจะไม่ค่อยเกิดขึ้นซักเท่าไรในหอคอยแห่งลอนดอน แต่การ “ประหาร” นั้นเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
นักโทษจำนวนมากถูกประหารด้วยการตัดหัวหรือแขวนคอ โดยส่วนมากคือนักโทษทางการเมืองที่ขัดแย้งกับองค์กษัตริย์ รวมทั้งเหล่าบรรดามเหสีของ “พระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII)”
พระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henry VIII)
นอกจากนั้น “พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ (Edward VI)” ยังถูกปลงพระชนม์ในหอคอยแห่งลอนดอนในปีค.ศ.1471 (พ.ศ.2014)
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สายลับชาวเยอรมันหลายรายได้ถูกประหารที่หอคอยแห่งนี้ และหอคอยแห่งลอนดอนก็ยังถูกโจมตีในช่วงสงคราม โดยมีลูกระเบิดหล่นลงยังบริเวณของหอคอยแห่งลอนดอนเพียงลูกเดียว และระเบิดก็หล่นลงโดนคูเมือง
แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หอคอยแห่งลอนดอนก็ได้รับความเสียหายมากพอสมควร และก็ได้ใช้เป็นที่ประหารสายลับต่างชาติอีกด้วย
ในทุกวันนี้ หอคอยแห่งลอนดอนคือสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของลอนดอนตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 และเป็นสถานที่ๆ ชาวอังกฤษทุกคนรู้จักในฐานะของสถานที่ๆ โหดร้ายและเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันดำมืด
References:
https://www.history.com/topics/middle-ages/tower-of-london
https://evanevanstours.com/blog/tower-of-london-guide/
https://www.britainexpress.com/articles/London/tower-of-london.htm
https://www.livescience.com/42821-tower-of-london.html
17 บันทึก
21
1
11
17
21
1
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย