18 พ.ย. 2021 เวลา 18:48 • การศึกษา
ภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้สำหรับคนไทย
การที่เราจะเรียนภาษาให้ง่ายขึ้นเราจะต้องรู้ที่มาของภาษา
ยกตัวอย่างเช่น ภาษาตระกูลโรแมนซ์ ประกอบด้วยภาษาอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โรมาเนีย และอื่นๆ
ซึ่งหลายๆคำในภาษาสเปน ก็มีคำและความหมายที่เหมือนๆกันกับภาษาอิตาลีด้วย แต่การเขียนอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย
รวมถึงแกรมมาร์ และลักษณะทางภาษาก็มีความคล้ายคลึงกัน
บางทีถ้าพูดภาษาใดภาษาหนึ่งได้ เราก็อาจจะได้เรียนรู้ภาษาอื่นๆในตระกูลเดียวกันไปบ้างแล้วโดยอัตโนมัติ
เอาล่ะ! เริ่มกันเลย
ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก จะมีลักษณะวัฒนธรรม สังคม และภาษาที่แตกต่างกันไป
ยกตัวอย่างเช่น ทวีปเอเชีย
ในแต่ละส่วนของทวีปก็จะมีการแบ่งภูมิภาคออกเป็น 6 ภูมิภาค คือ
  • เอเชียเหนือ
  • เอเชียกลาง
  • เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
  • เอเชียใต้
  • เอเชียตะวันออก
  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งประเทศไทยอยู่ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาพสังคมที่อยู่ใกล้เคียงกันก็จะมีอิทธิพลต่างๆทางสังคมที่ใกล้เคียงกันด้วย
เช่นลักษณะของคำ วรรณยุกต์ ระบบเสียงและอื่นๆ ถึงแม้อาจจะมีบางรายละเอียดย่อยที่แตกต่างกันไปบ้าง
อย่างที่เราทราบกันมา พ่อขุนรามคำแหง เป็นคนประดิษฐ์ภาษาไทย
โดยในภาษาไทยเนี่ย ก็ไม่ได้มีคำไทยแท้ทั้งหมด
มักจะมีการยืมคำมาจากหลายๆภาษา ที่ก็มีภูมิภาคใกล้ๆเคียงกัน
เช่น
ภาษาเขมร
-จรวด
-ถนน
-ถวาย
ภาษาจีน
-ขึ้นฉ่าย
-เก้าอี้
-เต้าหู้
ภาษาบาลีสันสกฤต
-มัจฉา
-ฤาษี
-ธานี
เป็นต้น
ดังนั้น การที่เราจะรู้ว่าภาษาอะไรที่ง่ายต่อการเรียนของคนไทยมากที่สุด
เราก็ต้องมาดูว่าภาษาใดมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยที่สุด
หากย้อนกลับไปดูที่ตระกูลของภาษาไทย
ภาษาไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาษา ขร้า-ไท , กะได หรือ ไทกะได
(ในที่นี้จะเรียกว่าไทกะได)
ไทกะได
เป็นภาษาย่อยของกลุ่มภาษาออสโตร-ไท
ซึ่งกลุ่มภาษานี้ ก็เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนอีกทีนึง
(ตระกูลออสโตรนีเซียน มีลักษณะเป็นกลุ่มภาษาใหญ่ คล้ายๆกับกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน)
ภาษาไทกะไดเคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มภาษาจีน-ทิเบต มีผู้ใช้ภาษาย่อยในตระกูลดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของจีน เวียดนาม ลาว ไทย ตอนเหนือของพม่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเกาะไหหลำ
จากรูป ภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้จะครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยแทบทั้งหมด
ในกลุ่มนี้จะมีภาษา
ไทเหนือ
- อยู่บริเวณประเทศลาว และจีน
ไทกลาง
- อยู่บริเวณประเทศจีน และเวียดนาม
ไทตะวันตกเฉียงใต้
- อยู่ทั้งบริเวณประเทศลาว อินเดีย เวียดนาม พม่า และไทย
กลุ่มพื้นที่ผู้ใช้ภาษาไทกะได
กลุ่มพื้นที่ผู้ใช้ภาษาไท
ภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้(ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย)
จะมีสาขาย่อยหลักๆดังนี้
1.ภาษายอง
เป็นภาษาที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง รัฐชาน ประเทศพม่า
ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษายอง อยู่ในบริเวณ เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน
1
2.ภาษาไทยถิ่นใต้(ตามโพร)
ปัจจุบันมีผู้ใช้ภาษานี้ อยู่ในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย, เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า, รัฐเกอดะฮ์ และรัฐกลันตัน ในประเทศมาเลเซีย
1
3.กลุ่มภาษาไทกลาง-ตะวันออก
• ภาษาเชียงแสน จะมีภาษาย่อยดังนี้
{ ภาษาไทยถิ่นเหนือ }
—ภาษาล้านนา, ภาษาไทยวน
อยู่บริเวณภาคเหนือ
{ ภาษาไทย }
—อยู่บริเวณภาคกลาง
1
• ภาษาลาวผู้ไท
{ ภาษาลาว }
—อยู่บริเวณประเทศลาว
{ ภาษาญ้อ }
{ ภาษาพวน }
{ ภาษาผู้ไท }
—เป็นภาษาถิ่นของภาคอีสานและลาว
อยู่บริเวณทางตอนเหนือของภาคอีสาน
เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย มหาสารคาม และในหลวงพระบาง เป็นต้น
1
• ภาษาไทตะวันตกเฉียงเหนือ(พายัพ)
{ ภาษาลื้อ }
—เป็นภาษาของชาวไทลื้อ อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศไทย ตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า และสิบสองปันนา ของจีน
{ ภาษาเขิน }
—พบผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในเชียงตุง รัฐชาน ประเทศพม่า
ในไทยพบในบริเวณ จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
ลักษณะภาษาคล้ายกับภาษาไทลื้อ,ไทใต้คง
เขียนด้วย อักษรธรรม(คล้ายอักษรธรรมล้านนา)
{ ภาษาไทใหญ่ }
—พบในบริเวณทางตอนเหนือของพม่าและไทย และบริเวณทางตอนใต้ของจีน
มีอักษรเป็นของตัวเอง ลักษณะการพูดส่วนใหญ่จะเป็นการพูดแบบภาษาไทยปนภาษาพม่า
{ ภาษาใต้คง }
หรือ ภาษาไทเหนือ
—พบในบริเวณจีน เวียดนาม ไทย และลาว
2
กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
จากข้อมูลข้างต้น
ในแต่ละภาษาก็มีรายละเอียดย่อยที่มีความใกล้เคียงกับภาษาไทยมากน้อยต่างกันไป
หากจะกล่าวถึงภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาไทยมากที่สุด(อยู่ในกลุ่มที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด)
ก็คงจะเป็น ภาษาล้านนา
แต่ถ้ามองในมุมภาษาต่างประเทศโดยภาพรวม
บางทีก็อาจจะสรุปได้ว่า เป็นภาษาลาว
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคลว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อข้อมูลดังกล่าว เพราะบางภาษาก็ดูเหมือนจะตายไปแล้ว บางภาษาก็มีความสำคัญมากน้อยหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป
โฆษณา