19 พ.ย. 2021 เวลา 03:33 • ธุรกิจ
-- 8 สิ่งที่นายจ้างห้ามทำ ถ้าไม่อยากถูกปรับหรือจำคุก --
กฎหมายแรงงานพื้นฐาน ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะร้านอาหารเล็กๆ ที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้กันเท่าไหร่
เพราะถ้าเราไม่ปฎิบัติตาม มันจะถือว่าเป็นการเอาเปรียบพนักงาน แล้วถ้าหากพนักงานไปฟ้องกรมแรงงาน ร้านเราก็อาจมีปัญหา ที่นอกจากจะโดนปรับและจำคุกแล้ว อาจร้ายแรงถึงขั้นต้องปิดร้านเลยก็ได้นะครับ เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามเลย
1.หักเงินเวลาพนักงานมาสาย
.
ถีงแม้กฎหมายจะกำหนดให้นายจ้างไม่สามารถหักเงินลูกจ้างในกรณีที่มาสายได้ เช่น มาสาย 5 นาทีหัก 100 บาท หรือมาสาย 3 วันหักค่าแรง 1 วันได้ แต่เราสามารถใช้วิธีจ่ายเงินแบบทำเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น เช่น หากลูกจ้างทำงานวันละ 8 ชม. แต่มาสาย 15 นาที นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวเพียง 7.45 ชม. ได้ โดยคำนวนค่าจ้างเป็นรายนาที
2
2.หักเงินค่าเสื้อผ้า เงินประกันความเสียหาย
.
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 76 ห้ามให้นายจ้างหักเงินลูกจ้างเว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้หรือเพื่อบำรุงสหภาพแรงงาน ซึ่งนายจ้างจะสามารถหักเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างได้ หากลูกจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาท โดยมีสิทธิ์หักค่าจ้างได้ไม่เกินร้อยละ 10 และจะหักรวมกันได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของเงินเดือนลูกจ้าง เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76
1
3.รับแรงงานต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน
.
มีนายจ้างจำนวนมากที่ละเลยในเรื่องใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว เป็นเพราะไม่อยากดำเนินการเอกสารหรือติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ยุ่งยาก อีกส่วนหนึ่งก็คิดว่าจะจ้างแรงงานเหล่านั้นในระยะสั้น ใบอนุญาตคงไม่จำเป็นเท่าไร แต่หากเกิดการตรวจสอบขึ้นมา รับรองว่าได้ไม่คุ้มเสีย เพราะเราจะมีความผิดเพิ่มขึ้นตามจำนวนลูกจ้างต่างด้าวที่มีอยู่ คือ ลูกจ้าง 1 คนต้องเสียค่าปรับ 10,000-100,000 บาท ถ้าพบว่าการทำผิดนั้นไม่ใช่ครั้งแรก ค่าปรับจะเพิ่มเป็น 50,000-200,000 บาท แถมมีโอกาสติดคุกด้วย
4.ไม่จ่ายค่าแรงเวลาพนักงานลาออกระหว่างเดือน
.
ถึงแม้ลูกจ้างจะลาออกกระทันหันหรือลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วันตามกฎของนายจ้าง แต่ลูกจ้างก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าจ้าง โดยคำนวนตามจำนวนวันที่ตัวเองทำงานมาแล้วจนถึงเวลาที่ออก เพียงแต่ลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย แต่ในกรณีที่ลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าแล้วเกิดความเสียหายกับนายจ้าง นายจ้างก็มีสิทธิจะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลในการตัดสิน
5.ให้ทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่จ่าย OT
.
.
กฎหมายกำหนดว่า นายจ้างต้องกำหนดเวลาทำงานให้แก่ลูกจ้างต้องไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง รวมทั้งสัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ถ้าหากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินเวลาที่กำหนดไว้ นายจ้างจะต้องจ่าย OT ให้ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติและไม่น้อยกว่า 3 ในวันหยุด
.
6.ให้ทำงานในวันหยุดโดยไม่จ่ายค่าแรงพิเศษ
.
นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงพิเศษให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน
1
7.ไม่จ่ายเงินชดเชยเวลาไล่พนักงานออก
.
ในกรณีที่นายจ้างไล่ลูกจ้างออกโดยไม่ได้ทำผิดกฎของร้านหรือกฎหมายแรงงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในกรณีที่ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน ตามมาตรา 128 แต่ก็มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย คือ ลูกจ้างลาออกเองหรือทำผิดดังนี้ ทุจริต-ทำผิดอาญาโดยเจตนา จงใจทำให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับตามกฎหมาย หยุดทำงาน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร และได้รับโทษจำคุกตามคำสั่งศาล
8.จ้างพนักงานพาร์ตไทม์ในอัตราต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ
.
สมมุติว่าเราเปิดร้านอาหารในกรุงเทพ แล้วต้องการจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ ซึ่งมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 325 บาท เมื่อเอา 8 ชั่วโมงมาหาร ก็จะตกอยู่ที่ 40.6 บาท นั่นหมายความว่า เราไม่สามารถจ้างพนักงานพาร์ตไทม์ในอัตราค่าจ้างต่ำกว่าชั่วโมงละ 40.6 บาทได้ เพราะจะถือว่าผิดกฎหมาย
2
.
เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ : Restaurant 101 บริหารจัดการร้านอย่างมืออาชีพ
สนใจสั่งซื้อหนังสือ ได้ที่ https://bit.ly/3t2MAWZ
.
ติดตาม Torpenguin - ผู้ชายขายบริการในช่องทางอื่นๆได้ที่
.
Facebook : Torpenguin - ผู้ชายขายบริการ
Youtube : Torpenguin
Blockdit : Torpenguin - ผู้ชายขายบริการ
Twitter : Torpenguin
Instragram : torpenguin
ติดต่องาน E-mail : torpenguin.channel@gmail.com
1
โฆษณา